Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68139
Title: การลดต้นทุนในการผลิตอ่างล้างจานสเตนเลส เพื่อสร้างระบบต้นทุนมาตรฐาน
Other Titles: Cost reduction stainless steel sink production for setting up the standard cost system
Authors: ธนาคม ทิศาปราโมทย์กุล
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: ต้นทุนการผลิต
การควบคุมต้นทุนการผลิต
การควบคุมความสูญเปล่า
Cost
Cost control
Loss control
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมการผลิตอ่างล้างจานสเตนเลส เป็นอุตสาหกรรมซึ่งมีผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากทำให้สภาวะการแข่งขันดำเนินธุรกิจสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องควบคุมตันทุนการผลิตในโรงงานให้ตํ่าสุด โดยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เท่าเทิยมหรือดีกว่าคู่แข่งขันรายอื่นๆ จากการวิเคราะห์ปัญหาของโรงงานตัวอย่างพบว่า ขาดการคำนวณต้นทุนพี่ถูกต้องและเกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิตเนื่องจาก วิธิการทำงานและการตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ ตลอดจนไม่สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาทำการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งเน้นการคิดคำนวณต้นทุนที่ถูกต้อง และการลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตโดย การวิเคราะห์แยกตามทรัพยากรการผลิต และกำจัดสาเหตุเหล่านั้นโดยใช้ ประสิทธิภาพในการทำงานเมื่อเทียบกับการขาดงาน เวลาที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร ค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร ประสิทธิภาพการทำงานเมื่อเทียบกันเวลามาตรฐาน น้ำหนักวัตถุดิบที่สูญเสียในการผลิต ค่าความเสียหายที่เกิดจากความสูญเสียในการผลิตเป็นค่าที่ใช้ในการประเมินผลโดยมีแนวทางการแก้ไข ดังนี้ สร้างแรงจูงใจ และจัดการฝึกอบรมการทำงานใหัแก่พนักงาน วางแผนการบำรุงรักษา ปรับปรุงกระบวน การผลิต และกำหนดมาตรฐานการผลิต,การติดตั้ง,การตรวจสอบ จากการดำเนินงานตามขั้นตอนการวิจัย เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงพบว่า ต้นทุนการผลิตลดลงเฉลี่ยรุ่นละ 10 % ประสิทธิภาพในมาการทำงาน ก่อนปรับปรุงคือ 92.97 % หลังปรับปรุง 95.8 % ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพในการมาทำงาน เพิ่มขึ้น 2.83 % เวลาที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักรก่อนการปรับปรุง 541 ชม. หลังการปรับปรุง 214 ชม. เวลาที่ใช้ในการซ่อมแซมลดลง 60.44% และค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร ก่อนการปรับปรุง 8.45 ชม. หลังการปรับปรุง 5.22 ชม. ค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการซ่อมแซมลดลง 38.22% ประสิทธิภาพการทำงานจากเดิม 81% เพิ่มขึ้นเป็น 97% คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น16.00% น้ำหนักวัตถุดิบที่สูญเสียในการผลิต ลดลงเฉพาะ ผลิตภัณฑ์รุ่น k45,k845,k1050,k105,k1055 รุ่นละ0.2,0.2,0.3,0.6,0.6 kg ตามลำตับ หรือลดลงรุ่นละ 23.52%, 22.22 %, 20.83 %, 42.85%, 48% ตามลำตับและ ค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 3 เดีอนลดลงจาก 184795 บาทเหลือ 108025 บาท คิดเป็นอัตราลดลง 41.54%
Other Abstract: Stainless sink manufacturing is a highly competitive industry because there are both domestic and foreign producers. Production cost is considered one of the most significant factors of the industry. Producers have to control the production cost and always upgrade the quality of the sink in order to remain competitive in the market The case study shows that the sample factory lacks an accurate method of cost calculation. The production process also incurs unnecessary losses which are caused by inefficient work process and quality control. Resources are not implemented to their maximum capacity The objective of this thesis is to show hew to accurately calculate the production cost and reduce unnecessary losses in the production process. This can be done by analyzing each production resource and solving problems by using the following elements; work efficiency when compared to hours of missing work, time used for machinery repair 1 average time used for machinery repair, work efficiency when compared to standard time 1 weight of raw material loss during the production process. Loss incurred in production are used to evaluate the production efficiency. Measures to be implemented to increase efficiency include motivation creation among the workforce, set up of maintenance plans, production process improvement, setup of the standards of production, installation and quality control. The analysis of before and after the improvement shows that production cost of each model reduces by 10%Work efficiency compared to the leave of workers before the improvement is 92.97/.but increases to 95.8% showing a rise of 2.83% Time used for machine maintenance after the improvement is only 214 hours, comparing to 541 hours before the improvement This is a decrease of 60.44% Average time for machine repair decreases by 38.22% .which can be seen from 8.45 hours before the improvement and 5.22 hours after the improvement Work effiency improves by 16%,from 81% to 97% Raw material wastage in the production process also reduces in the model K45,k845,k1050,k105,k1055,by 0.2Kg. 0.2,0.3,0.s and 0.6 Kg respectively. This equals to 23.52%,22.22%,20.83% and 42.85% and 48% decreases in each respective model. Wastage from the production process in 3 months falls from 184,795 baths to 108,025 baht which is 41.54% decreases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68139
ISSN: 9743335439
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanakom_ti_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch1_p.pdfบทที่ 1835.89 kBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch2_p.pdfบทที่ 21.81 MBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch3_p.pdfบทที่ 32.59 MBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch4_p.pdfบทที่ 41.27 MBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch5_p.pdfบทที่ 52.51 MBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch6_p.pdfบทที่ 6906.09 kBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch7_p.pdfบทที่ 72.25 MBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_ch8_p.pdfบทที่ 8944.75 kBAdobe PDFView/Open
Thanakom_ti_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก6.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.