Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68167
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการทำให้ตนเองเสียเปรียบกับการดำรงแรงจูงใจภายในในการทำกิจกรรม |
Other Titles: | Relationship between behavioral self-handicaps and maintaining intrinsic motivation in activity engagement |
Authors: | เปรมวดี กาญจนวีระ |
Advisors: | ชัยพร วิชชาวุธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chaiyaporn.W@Chula.ac.th |
Subjects: | เกมทางการศึกษา แรงจูงใจภายใน Intrinsic motivation Educational games |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าการทำให้ตนเองเสียเปรียบ สามารถป้องกันการลดแรงจูงใจภายใน ในการทำกิจกรรมได้หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ มาตรวัดลักษณะนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบ แบบสอบถาม การตั้งเป้า แบบวัดความชอบในการทำกิจกรรม แบบวัดความสนุกสนานในการทำกิจกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมพินบอล และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกซ้อมความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงและผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำ ใช้เวลาฝึกซ้อมความ สัมพันธ์ ระหว่างตากับมือ ใช้เวลาเล่น พินบอลในช่วงเวลาอิสระ มีความชอบในการเล่น พินบอลมีความสนุกสนานในการเล่น พินบอล ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงตั้งเป้าต่ำกว่าผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำอย่างมีนัยสำคัญ (p < .05) 2. ในเงื่อนไขมีการแข่งขัน ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงและผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำใช้เวลา ฝึกซ้อมความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ใช้เวลาเล่น พินบอลในช่วงเวลาอิสระ มีความชอบในการเล่น พินบอล มีความสนุก สนานในการเล่น พินบอล ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงตั้งเป้าต่ำกว่าผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) 3. ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงที่แพ้ในเงื่อนไขมีการแข่งขัน-ไม่แข่งขันใช้เวลาเล่น พินบอลในช่วงเวลาอิสระไม่แตกต่างจากผู้ที่ชนะในเงื่อนไขมีการแข่งขัน-ไม่แข่งขัน และผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำที่แพ้ในเงื่อนไขมีการแข่งขัน-ไม่แข่งขันใช้เวลาเล่น พินบอลในช่วงเวลาอิสระไม่แตกต่างจากผู้ที่ชนะในเงื่อนไขมีการแข่งขัน-ไม่แข่งขัน 4. ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงที่แพ้ในเงื่อนไขมีการแข่งขัน ใช้เวลาเล่น พินบอลในช่วงเวลาอิสระไม่แตกต่างจากผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำที่แพ้ในเงื่อนไขมีการแข่งขัน 5. ผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบสูง เมื่อใช้เวลาฝึกซ้อมความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือน้อย มีความสนุกสนานในการเล่น พินบอลไม่แตกต่างจากเมื่อใช้เวลาฝึกซ้อมความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือมาก และผู้มีนิสัยทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำ เมื่อใช้เวลาฝึกซ้อมความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือน้อย มีความสนุกสนานในการเล่น พินบอลไม่แตกต่างจาก เมื่อใช้เวลาฝึกซ้อมความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือมาก |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the effects of behavioral self-handicaps on maintaining intrinsic motivation in activity engagement. The instruments used in the research were self-handicapping scale, questionnaires to measure goal-setting, task involvement and enjoyment, a pinball computer game and a computer program to practice eye-hand coordination tasks. Findings are as follows: 1. High self-handicappers and low self-handicappers did not differ in performing the eye-hand coordination tasks, the time spent with the pinball game during free-time period, rating of task involvement, and rating of enjoyment. However, high self-handicappers had lower goal-setting than low self-handicappers (p < .05). 2. The competing high and low self-handicappers did not differ in performing the eye-hand coordination tasks, the time spent with the pinball game during free-time period, rating of tasks involvement, and rating of enjoyment. However, high self- handicappers had lower goal-setting than low self-handicappers (p < .01). 3. The time that both high and low self-handicappers used to play the pinball game during free-time period did not differ whether the feedback before the free-time period had been win or lose and whether they had been competing or not competing. 4. In the compete and lose condition, there was no difference in the time spent playing the pinball game during free-time period by either the high or low self-handicappers who had lost. 5. Both high and low self-handicappers did not differ in their enjoyment-rating, whether they had spent more time or less time practicing the eye-hand coordination tasks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68167 |
ISSN: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Premwadee_ka_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 434.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
Premwadee_ka_ch1.pdf | บทที่ 1 | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Premwadee_ka_ch2.pdf | บทที่ 2 | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Premwadee_ka_ch3.pdf | บทที่ 3 | 737.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Premwadee_ka_ch4.pdf | บทที่ 4 | 450.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Premwadee_ka_ch5.pdf | บทที่ 5 | 326.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Premwadee_ka_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.