Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68201
Title: การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนคร
Other Titles: Fon Puthai in Renu Nakhon
Authors: พจน์มาลย์ สมรรคบุตร
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Surapone.V@chula.ac.th
Subjects: การรำ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
นาฏศิลป์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ผู้ไท -- ไทย -- นครพนม
Dance -- Thailand -- Northeastern
Phu Thai (Southeast Asian people) -- Thailand -- Nakhon Phanom
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการตลอดจนองค์ประกอบของฟ้อนผู้ไทยในเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยการศึกษาข้อมูลที่เป็นเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์ การสังเกตุ จากการฝึกซ้อม จากการแสดง จากภาพถ่าย จากวีดีทัศน์ ตลอดจากการฝึกหัดของผู้วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญใน อำเภอเรณูนคร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนครได้มีการพัฒนาการฟ้อนและกระบวนการฟ้อน มาจากกิริยาของมนุษย์ ของสัตว์ และการ เคลื่อนไหวของพืช การพัฒนาอาจแบ่งได้เป็น ๕ ขั้นตอน คือ ๑. การฟ้อนผู้ไทยในอดีตกาล ได้แก่ การฟ้อนในพิธีเหยา เพื่อรักษาโรคโดยผู้หญิง การฟ้อนเล่นกิน เหล้า การฟ้อนลงข่วง การฟ้อนเลาะตูบ โดยผู้ชาย ๒. ได้นำการฟ้อนในอดีตกาลมาปรับปรุงเป็นท่านิยม ๕ ท่า นำผู้หญิงมาฟ้อนคู่ผู้ชาย จัดแสดงหน้าพระที่นั่ง ในพ.ศ. ๒๔๙๘ ๓. เริ่มท่าฟ้อนเป็น ๙ ท่า จัดกระบวนทำฟ้อนเป็น ๓ ช่วง ๔. เพิ่มท่าฟ้อนเป็น ๑๒ ท่า และ ๕. เพิ่มท่าเป็น ๑๖ ท่า ผนวกด้วยท่ามวยยวน ท่าฟ้อนของผู้ชายเข้มแข็ง ทะมัดทะแมง ท่าฟ้อนของผู้หญิงนุ่มนวล ลักษณะเฉพาะของการฟ้อนผู้ไทยพบว่า มีการใช้ เท้า ขา ลำตัว มือ และแขน การใช้เท้ามี ๕ แบบ คือ การเปิดปลายเท้าตอนยืน การลงส้นเท้าตอนเดิน การแตะปลายเท้าเฉพาะผู้หญิง การเปิดส้นเท้าหลัง การวางเท้าเต็มฝ่าเท้า ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ การก้าวกระโดดสั้น ๆ ให้เท้าทั้งสองลอยอยู่ในอากาศ ก่อน เปลี่ยนน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปสู่อีกเท้าหนึ่ง การใช้ขามี ๕ แบบ คือ ยกขาไปด้านข้าง การยกขามาด้านหน้า การยกขาไปด้านหลัง การนั่งเหยียดขาข้างเดียวไปด้านหลัง การก้าวไขว้ขา การใช้ลำตัวมี ๓ แบบ คือ ลำตัวตรง ลำตัวโน้มมาหน้าทำมุม ๔๕ องศากับแนวตั้ง และลำตัวโน้มต่ำเกือบขนานกับพื้น การใช้มือมี ๔ แบบ คือ การจีบที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ไม่ติดกัน การตั้งวง การม้วนมือ และการกำมือหลวม การใช้แขนมี ๔ แบบ คือ การเหยียดแขนตึงหงายท้องแขน การงอแขนเป็นวงระดับไหล่ การหักศอกคว่ำขึ้นตั้งฉาก การงอแขนแบบหักข้อศอกหงายตั้งฉาก การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนครเป็นนาฏยศิลป์ที่ชาวผู้ไทยสืบทอดมาเป็นเวลานับศตวรรษ และมีพัฒนาการเป็นของตนเอง จึงควรศึกษา รักษาและสืบทอดให้ยั่งยืนสืบไป
Other Abstract: This thesis aims at studying the historical development and performing elements of Fon Puthai or Puthai dance of Renu nakhon district, Nakhon Panom Province. The study is based upon documentary, interviewing, observation of practices live performances and videotapes. The research also practiced the dance to gain in sight knowledge from dance experts at Renu Nakhon. The study finds that Fon Puthai in Renu Nakhon has five stage of development. First is the ancient dance including Fon Yao to cure the sick person performed by female, Fon Len Kin Lao to drink and dance, Fon Long Koung to woe the girl, Fon Loh Toop to Visit the huts in search for beautiful girls. Second is to adopt and adapt the ancient dance to present in front of the King and Queen in 1995. Female was introduced to dance in pair with male. There are five dance positions. Third is the increasing of dance position from five to nine. Forth is increasing to twelve. And fifth is that the positioning become sixteen with northern boxing gestures were added Male dance is vibrant and strong while female dance is soft and curving. Fon Puthai in Renu Nakhon has certain dance characteristics. A prominant movement is when the dancer makes a short step and let his or her two feet float on the air while changing the weight from one leg to another. Puthai dance of Renu Nakhon has been the art of Puthai tribe for century and has a long development. It should be more studied, preserved, and transmitted for the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68201
ISSN: 9746399071
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Photchaman_sa_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ830.42 kBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch1.pdfบทที่ 1316.05 kBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch2.pdfบทที่ 21.28 MBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch3.pdfบทที่ 32.5 MBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch4.pdfบทที่ 411.24 MBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch5.pdfบทที่ 52.82 MBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch6.pdfบทที่ 61.85 MBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_ch7.pdfบทที่ 7323.9 kBAdobe PDFView/Open
Photchaman_sa_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.