Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68222
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ | - |
dc.contributor.author | พัชรวรรณ รัตนพันธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-28T03:32:31Z | - |
dc.date.available | 2020-09-28T03:32:31Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741301162 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68222 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาบทบาทของการเซ่นไหว้ และความเชื่อทางศาสนา ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเซ่นไหว้ ศึกษาระบบสัญลักษณ์ในการเซ่นไหว้ และเข้าใจระบบคิดของผู้ไหว้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบมานุษยวิทยา ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม และอย่างมีส่วนร่วม และทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อที่จะนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาเขียนวิเคราะห์ โดยแบ่งกรณีศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ พระและบุคคลที่มีความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเซ่นไหว้ ศาสนา และความเชื่อเป็นอย่างดี กลุ่มที่สองคือ ผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมเครื่องเซ่นไหว้ที่วัดมังกรกมลาวาส (เฉพาะกรณีที่มีเครื่องเซ่นไหว้มากกว่าการนำธูปเทียนมา) เพศหญิง 5 คน เพศชาย 5 คน อายุ 35 ปีขึ้นไป และได้ประกอบพิธีกรรมเครื่องเซ่นไหว้ที่วัดมังกรกมลาวาสอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ในการศึกษาเรื่องพิธีกรรมเครื่องเซ่นไหว้และความเชื่อทางศาสนา มี ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน โดยผู้คนที่นำเครื่องเซ่นไหว่ไปที่วัดมังกรกมลาวาสนั้นต่างมีความศรัทธาและความคาดหวัง บางคนมีความคาดหวังในความสบายใจในการนำสิ่งของต่าง ๆ มาทำพิธีเซ่นไหว้ โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนำของไปเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ เป็น มงคลแก่ตนเองและครอบครัว สามารถปกป้องผองภัยให้พ้นภยันตรายได้ มีความสุขทางด้านจิตใจ ยิ่งเมื่อประสบกับความสำเร็จ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นผลให้ความเชื่อมั่นในความคาดหวังมีเพิ่มมากขึ้นกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่นำเครื่องเซ่นไหว้มาไหว้ตอบแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ๆ ให้ดลบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ขอ หรือพันจากความทุกข์ในเรื่องต่าง ๆ และในที่สุดเมื่อสมหวังในสิ่งที่ได้บนบานไว้นั้น จึงนำของมาเซ่นไหว้ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นการตอบแทน ผลการศึกษายังพบอีกว่า พิธีกรรมเครื่องเซ่นไหว้ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดจากความเชื่อและจากประสบการณ์ของมนุษย์ที่สร้างสมมายาวนาน หากความเชื่อถือมีความมั่นคงมากขึ้น และประสบการณ์ตรงได้เห็นเป็นประจักษ์ว่า สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจได้ ผู้คนก็จะทำพิธีกรรมเครื่องเซ่นไหว้ต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | The Objectives of this thesis are to study the roles of offering rituals and religious belief, the detail and the symbolic system of the offerings, and the cognition of the offeres. This study applied anthropological techniques of research. Participant and non – participant observation and in - depth interviews were performed with 2 groups of subjects. The first group consisted of monks and laymen who were experts in the offering rituals. The second group was the regular offerers who came to make merit with more than just candles, joss sticks, and flowers at Wat Mangkornkamalawas at least 5 years long. This second group was 10 male and female offers who were over 35 years old. The study found that both offering rituals and religious beliefs were important to human way of life. People brought the offerings to Wat Mangkornkamalawas with faith and expectation in their mind. Some believed that with their offerings, they would receive happiness and success in return. The other came to make offerings to sacred deities after their desired objectives were fulfilled or their suffering were relieved. The study also revealed that the practice in offering rituals to sacred deities stemmed from the belief and accummulated experiences long time in the past. The offering rituals would be performed as long as the offerers were convinced of the mental - gratifying function of it. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ศรัทธา (พุทธศาสนา) | - |
dc.subject | ความเชื่อ | - |
dc.subject | วัดมังกรกมลาวาส | - |
dc.subject | พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม | - |
dc.subject | เครื่องเซ่นไหว้ | - |
dc.title | พิธีกรรมเครื่องเซ่นไหว้และความเชื่อทางศาสนา : ศึกษากรณีวัดมังกรกมลาวาส ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร | - |
dc.title.alternative | Offering rituals and religious belief : a case study of Wat Mangkornkamalawas, Bangkok Metropolis | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | มานุษยวิทยา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pacharawan_ra_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 806.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pacharawan_ra_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pacharawan_ra_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pacharawan_ra_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pacharawan_ra_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pacharawan_ra_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pacharawan_ra_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.