Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68377
Title: หลักการฟังคู่กรณีทุกฝ่ายในกฎหมายอังกฤษและกฎหมายไทย
Other Titles: Audi alteram partem in English law and Thai law
Authors: ชัยยุทธนา วงศ์วานิช
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายปกครอง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมาย -- อังกฤษ
กฎหมาย -- ไทย
ประชาพิจารณ์
การฟังคู่กรณีทุกฝ่าย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลักการฟังคู่กรณีทุกฝ่ายถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการป้องกันตนเองตามหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ ซึ่งมีกำเนิดและพัฒนาการมาในระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ของอังกฤษ โดยเป็นหลักวิธีพิจารณาที่เกิดจากคำพิพากษาของศาล ซึ่งในช่วงแรกเป็นหลักการที่มีผลบังคับต่อคำวินิจฉัยขององค์กรตุลาการเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้ถูกนำมาบังคับใช้กับองค์กรอื่น ๆ ที่มีอำนาจวินิจฉัยอันกระทบต่อสิทธิของประชาชน เช่น องค์กรที่ใช้อำนาจกึ่งตุลาการด้วย ในฐานะที่เป็นหลักกฎหมายทั่วไป สำหรับคำวินิจฉัยที่ขัดต่อ หลักการฟังคู่กรณีทุกฝ่ายย่อมมีผลเป็นโมฆะ ซึ่งไม่อาจเยียวยาได้ หรือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งสามารถเยียวยาได้ทั้งในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและในชั้นศาล โดยพิจารณาถึงระดับความร้ายแรงของการละเมิด สำหรับในส่วนของกฎหมายไทยนั้นแม้จะได้มีการรับรองหลักการฟังคู่กรณีทุกฝ่ายไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 รวมทั้งในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนและข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ และพระราชบัญญัติวิชาชีพทั้งหลายก็ตาม แต่ในส่วนของผลและการเยียวยากรณีมีการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองโดยขัดต่อหลักการนี้ ซึ่งถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไปหลักการหนึ่งกลับยังมิได้มีการกำหนดให้ชัดเจน จึงสมควรศึกษาวิจัยเพื่อให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับผลของการฝ่าฝืนและการเยียวยา โดยต้องพิจารณาถึงระดับความร้ายแรงของการละเมิดหลักการนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการบังคับใช้หลักการฟังคู่กรณีทุกฝ่ายและเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่กรณีผู้ถูกกระทบสิทธิเอง
Other Abstract: The audi altcram partem principle is the fundamental right of the party to the case under the principle of natural justice originated and developed in the English common law system. The principle derived from the judgements of the courts at which the earlier stage applying only to a judicial body but later as a general principle of law to some other institutions of which the decisions affects the rights of the people such as a quasi-judicial body. Under this principle, the decision made without hearing of every party is void which is unremcdied or unlawful and it is remedied both by the administrative official and by the court which depend on the seriousness of the infringement. In Thai law, although the principle of audi alteram partem is recognised by the Constitution and such relevant pieces of legislation as the Administrative Procedure Act 1996 and the law on civil services and other types of officials or the law on professions, it is still unclear about the effects and the remedies in the case where the administrative act is made in contrary to the audi alteram partem principle as the general principle of law. Accordingly, the research on such problems should be carried out to introduce the rules in those regards in which the degree of the seriousness of the infringement must be taken into consideration in order to conform the real philosophy of the principle and to protect the aggrieved party as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68377
ISBN: 9743323201
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyuthana_wo_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ918.27 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyuthana_wo_ch1_p.pdfบทที่ 1751.76 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyuthana_wo_ch2_p.pdfบทที่ 22.22 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyuthana_wo_ch3_p.pdfบทที่ 33.17 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyuthana_wo_ch4_p.pdfบทที่ 41.17 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyuthana_wo_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก692.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.