Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68384
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรจรึย์ ณ ตะกั่วทุ่ง | - |
dc.contributor.author | ทัศพร วทานิยานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-07T04:37:35Z | - |
dc.date.available | 2020-10-07T04:37:35Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.issn | 9743339841 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68384 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตกับผลการเรียนเฉลี่ยและคะแนนวิชาภาษาอังกฤษมาตรฐานพื้นฐาน และ (3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลการเรียนเฉลี่ยและคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐานพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2542 จํานวน 993 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่พบมากที่สุดคือ นักเรียนใช้ อินเทอร์เน็ต 1 เดือน ถึง 1 ปี ใช้มากในวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ สัปดาห์ละ 1-5 ชั่วโมง เวลาที่ใช้มากที่สุด คือ เวลา 20.00 ถึงเวลา 22.59 น. โดย ใช้ตามลําพังที่บ้านตนเอง บริการที่เลือกใช้มากที่สุดคือ บริการสืบค้นข้อมูล (WWW) เพื่อหาข้อมูลความรู้ทั่วไป เพื่อความบันเทิง เนื้อหาใน เว็บไซต์ที่เลือกมากที่สุดคือ เพลง ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งจดหมายให้เพื่อน ใช้บริการสนทนาเพื่อคุยกับเพื่อน และให้บริการถ่าย โอนแฟ้มเพลงมากที่สุด 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนกับผลการเรียนเฉลี่ย พบพฤติกรรมที่มีความ สัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 05 จํานวน 12 พฤติกรรม 3 อันดับแรก ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านตนเอง การใช้ www ศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียน และการติดต่อกับเพื่อนต่างประเทศ/ในประเทศทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และพบพฤติกรรมที่มี ความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จํานวน 28 พฤติกรรม 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนใช้ อินเทอร์เน็ตที่บ้านเพื่อน การใช้อินเทอร์เน็ตกับเพื่อน และการเลือกเนื้อหาเว็บไซต์กีฬา 3. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนกับคะแนนวิชาภาษาอังกฤษมาตรฐาน พื้นฐาน พบพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จํานวน 21 พฤติกรรม 3 อันดับแรก ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านตนเอง การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ WWW พัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาอังกฤษ และพบ พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จํานวน 18 พฤติกรรม 3 อันดับแรกได้แก่ นักเรียนใช้อินเทอร์เน็ต กับเพื่อน การใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านเพื่อน และการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มข่าว 4. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบพฤติกรรมที่ร่วมกันทํานายผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จํานวน 13 ตัว เป็นพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางบวก 5 ตัว และเป็นพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางลบ 8 ตัว ชุดของพฤติกรรม ทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลการเรียนเฉลี่ยได้ร้อยละ 21.60 และพบพฤติกรรมที่ร่วมกันทํานายคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ มาตรฐานพื้นฐานจํานวน 10 ตัว เป็นพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางบวก 5 ตัว และเป็นพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางลบ 5 ตัว ชุดของ พฤติกรรมทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษมาตรฐานพื้นฐานได้ร้อยละ 19.80 5. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น พบพฤติกรรมที่ร่วมกันทํานายผลการเรียนเฉลี่ยของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 16 ตัว ชุดของพฤติกรรมทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลการเรียนเฉลี่ยได้ ร้อยละ 21.70 และพบพฤติกรรมที่ร่วมกันทํานายคะแนนวิชาภาษาอังกฤษมาตรฐานพื้นฐาน จํานวน 17 ตัว ชุดของพฤติกรรม ทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษมาตรฐานพื้นฐานได้ร้อยละ 20.40 | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to study Internet using behaviors of upper secondary school students in Bangkok Metropolis, (2) to study relationships between Internet using behaviors and grade point average (GPA) and English language skills and (3) to identity predictor behaviors in (GPA) and English language skills of the students. The subjects were 993 upper secondary school students in Bangkok Metropolis The findings revealed that: 1. The Internet using behaviors mostly found were: using Internet between 1 month-1 year, on Monday Friday: 1-5 hours per week between 20.00-22.59 p.m.; using alone at home; using WWW for seeking general knowledge, using online chat for talking with friends, using e-mail for sending letters to friends, selecting web sites of songs, and using FTP for download song files 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between GPA and 12 Internet using behaviors. The first three behaviors were: using Internet at home, using www for their studies and using e-mail with friends abroad. There were statistically significant negative relationships at .05 level between learning achievement and 28 Internet using behaviors. The first three behaviors were: using Internet at friends' homes, using Internet with friends, and browsing sport web sites, 3. There were statistically significant positive relationships at .05 level between English language skills and 21 Internet using behaviors. The first three behaviors were: using Internet at home, using e-mail, and using www for improving English language. There were statistically significant negative relationships at .05 level between English language skills and 18 Internet using behaviors. The first three behaviors were: using Internet with friends, using Internet at friends' homes, and using newsgroups. 4. In multiple regression analysis (Enter method) at .05 level, the 13 predictor variables together were able to account for 21.60 % of the variance in GPA, and the 10 predictor variables together were able to account for 19.80 % of the variance in English language skills. 5. In stepwise multiple regression analysis at .05 level, the 16 predictor variables together were able to account for 21.70 % of the variance in GPA, and the 17 predictor variables together were able to account for 20.40 % of the variance in English language skills. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.397 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อินเทอร์เน็ต | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | อินเทอร์เน็ตในการศึกษา | en_US |
dc.subject | Internet | - |
dc.subject | Academic achievement | - |
dc.subject | Internet in education | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Relationships between using Internet behaviors and learning achievement of upper secondary school students, Bangkok Metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.397 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tussaporn_va_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 966.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tussaporn_va_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tussaporn_va_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tussaporn_va_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 775.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tussaporn_va_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tussaporn_va_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tussaporn_va_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.