Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68433
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ชาติประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | จินตนา ตันสุวรรณนนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T06:34:02Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T06:34:02Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9746396021 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68433 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้นักหนังสือพิมพ์ขาดความรับผิดชอบทางจริยธรรมในมุมมองของนักหนังสือพิมพ์ รวมถึงศึกษาทัศนคติและความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ที่มีต่อจรรยาบรรณวิชาชีพหนังสือพิมพ์ งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งก็คือ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์จำนวน 60 คน จากหนังสือพิมพ์ 5 ชื่อฉบับ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เจาะลึกบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าวของการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการขาดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภายนอก ปัจจัยที่นักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เห็นว่ามีผลต่อการขาดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยในด้านความคลุมเครือของปัญหาทางจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ รองลงมา คือ ปัจจัยอันเกิดจากธรรมชาติในการดำเนินงานของหนังสือพิมพ์ (ข้อจำกัดทางด้านเวลา) และ ปัจจัยในด้านมาตรการและกลไกในการตรวจสอบควบคุมกันเองในแวดวงวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัจจัยในด้านผู้อ่าน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ จะเห็นได้ว่าปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยจากภายนอก ในส่วนของทัศนคติและความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ที่มีต่อจรรยาบรรณวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พบว่า นักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อจรรยาบรรณวิชาชีพหนังสือพิมพ์ในทางบวก โดยเห็นว่าจรรยาบรรณมีประโยชน์ช่วยในการเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดปัญหาทางจริยธรรมขึ้น และจรรยาบรรณยังสามารถควบคุมความประพฤติให้นักหนังสือพิมพ์มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักหนังสือพิมพ์ที่มีสถานภาพ ภูมิหลังทางการศึกษาและระดับความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อจรรยาบรรณวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอที่รับผิดชอบงานหลักสูตรท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษานิเทศก์ไม่ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากมีความรู้และความเข้าใจไม่เพียงพอที่จะทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษานิเทศก์ทำการส่งเสริมสนับสนุนโดยการให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องการจัดทำเอกสารหลักสูตรสำหรับโรงเรียนที่ทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และเรื่องการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียนที่ยังไม่ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ปัญหาในการส่งเสริมสนับสนุนคือ ศึกษานิเทศก์มีงานโครงการต่าง ๆ และงานที่นอกเหนือจากงานในหน้าที่มาก ทำให้ไม่มีเวลาทำการส่งเสริมสนับสนุน ด้านการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษานิเทศให้คำแนะนำแก่ ครูผู้สอนเรื่องการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน ด้านการนิเทศการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ไม่ได้จัดประชุม อบรม สัมมนาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่ใช้วิธีการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครูผู้สอน ในเรื่องการจัดทำแผนการสอน และเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และยังให้การบริการเอกสารความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยการแจกให้ทุกโรงเรียน สำหรับปัญหาด้านการนิเทศการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน คือ งบประมาณไม่เพียงพอ ด้านการติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ไม่ได้ทำการติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน เนื่องจากพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ด้านการสรุปรายงานผล และเผยแพร่ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษานิเทศก์ไม่ได้ทำการสรุปรายงานผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากไม่ได้ทำการติดตามและประเมินผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สำหรับการเผยแพร่ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษานิเทศก์ใช้วิธีการนำผลงานเข้าร่วมแสดงในงานนิทรรศการที่จัดเนื่องในโอกาสต่าง ๆ และการแจ้งในที่ประชุมผู้บริหารโรงเรียน | - |
dc.description.abstractalternative | This study focuses on factors affecting ethical irresponsibility of journalists in the views of journalists. It also at studying journalists’ attitudes and opinions towards ethics of journalism profession. The study was designed to collect data by surveying the opinions of 60 reporters of 5 newspaper. Moreover, data were collected by depth – interview from editors of the 5 newspapers. Tables of frequencies, percentage, means, standard deviation and one – way anova were used to analyse the data. The findings indicate that two major groups of factors leading to ethical irresponsibility of journalists are individual related factors and external factors. The factor that most of the journalists considered as the most influential is the obscurity of ethical problems followed by pressure imposed by deadline and ineffective self – control measures. Feedback from readers is also one of the important factors. All of these factors are external factors. In addition, this study showed that most of the journalists had positive attitudes towards ethical guideline. They agreed that ethics of the journalism profession is useful. When ethical problems arise, they can refer to their ethical guidelines. Besides, they can make journalists more responsible for society. Besides, this study found that journalists with different statuses, educational background and level of knowledge about journalistic ethics did not differ significantly in their attitudes towards ethics of the journalism profession. | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the research was to study on the state and problems of the performance concerning local curriculum development of supervisors under the jurisdiction of the office of the national primary education commission, educational region five. The population consisted of provincial primary educational supervisors and district primary educational supervisors who worked in local curriculum. The instruments used were structured interview from and document analysis form. The data were analyzed by content analysis, frequency and percentage. Research findings were as follows: On local curriculum development, the supervisors didn’t develop in local curriculum because of lack of knowledge on local curriculum development. Support and promotion concerned subsidiary units, the supervisors supported and promoted by giving advice to make curriculum materials for school where developed in local curriculum and the operation of local curriculum development in school where didn’t develop in local curriculum. The problem found was the supervisors had a lot of projects to do, the supervisors didn’t have constraint to work on the assigned task. The cooperation with concerned subsidiary units, the supervisors cooperated to the teachers by giving advice concerning the operation of local curriculum development in school. Supervision the using of local curriculum in school, the supervisors didn’t manage meetings, training courses and seminars concerning the using of local curriculum because of lack of budget. The Supervisors performed by giving advice about lesson plan construction and teaching-learning activity arrangement. And the supervisors were local curriculum development textbook service to every school. The problem found was lack of budget. Following-up and evaluation the using of local curriculum in school. Supervisors didn’t follow-up and evaluate the using of local curriculum of school because lacked of evidence in local curriculum development of school. Conclusion, reporting and dissemination of the local curriculum development, the supervisors didn’t conclude and report on the local curriculum development because the supervisors didn’t follow-up and evaluate the local curriculum development. About dissemination of the local curriculum development, the supervisors presented production in the exhibitions that was arranged in various opportunities and reported information in the principals’ meeting. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | จริยธรรม | en_US |
dc.subject | จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.subject | นักหนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.subject | เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.subject | ความรับผิดชอบ | en_US |
dc.subject | Journalistic ethics | en_US |
dc.subject | Journalists | en_US |
dc.subject | Freedom of the press | en_US |
dc.subject | Responsibility | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการขาดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ในมุมมองของนักหนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.title.alternative | The views of journalists on factors affecting journalists' ethical irresponsibility | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การหนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Duangkamol.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chintana_ta_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 957.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chintana_ta_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.