Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68459
Title: การเปิดรับข่าวสารด้านพลังงาน การรับรู้ประโยชน์และการยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและเขตจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Energy information exposure, perceived utility and adoption of solar energy in the future among Bangkok Metropolis and Chiangmai residents
Authors: จารียา อรรถอนุชิต
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: yubol.b@chula.ac.th
Subjects: การรับรู้
พฤติกรรมข่าวสาร
พลังงานแสงอาทิตย์
Perception
Information behavior
Solar energy
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง การเปิดรับข่าวสารด้านพลังงาน การรับรู้ประโยชน์ และการยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานทั่วไปในระดับปานกลาง แต่เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับต่ำ มีการรับรู้ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ระดับปานกลาง และมีการยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตในระดับสูง และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1.ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ เขตที่อยู่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการ เปิดรับข่าวสารด้านพลังงานแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่มีการศึกษาต่างกัน เปิดรับข่าวสารด้านพลังงานไม่ต่างกัน 2.ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการรับรู้ ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่มีเขตที่อยู่ เพศ และอายุต่างกัน มีการรับรู้ประโยชน์ไม่ต่างกัน 3.ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการ ยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่มีเขตที่อยู่และเพศต่างกัน มีการยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตไม่ต่างกัน 4.การเปิดรับข่าวสารด้านพลังงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ประโยชน์ของพลังงาน แสงอาทิตย์ 5.การเปิดรับข่าวสารด้านพลังงานจากสื่อนิตยสารและเอกสารเผยแพร่ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต 6.การรับรู้ประโยชน์ของพลังานแสงอาทิตย์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับการใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต
Other Abstract: The purpose of this survey research is to examine the relationship among demographic characteristics, energy information exposure, perceived utility and adoption of solar energy in the future among Bangkok and Chiang Mai residents. Questionnaire was used to collect data. Frequency, percentage, mean, t-test, one-way ANOVA and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient were used to analyze data through SPSS for Windows. The results of this research indicated that the energy information in energy situation was received at moderate level whereas the information in solar energy was received at low level. Moreover, respondents perceived utility of solar energy at medium level and the intention to adopt solar energy in the future was high. Upon the testing of hypotheses, it could be concluded as follows: 1.The energy information exposure among Bangkok and Chiang Mai residents was found to be significantly varied by areas, genders, age, occupations and income. 2.The perceived utility of solar energy among Bangkok and Chiang Mai residents was found to be significantly varied by education, occupations and income. 3.The adoption of solar energy in the future was found to be significantly varied by age, education, occupations and income. 4.No correlation was found between energy information exposure and perceived utility of solar energy. 5.The energy information exposure on magazine, pamplets, newsletters are positively and significantly correlated with the adoption of solar energy. 6.The perceived utility of solar energy was positively and significantly correlated in positive with the adoption of solar energy.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68459
ISBN: 9743315934
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jareeya_ar_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Jareeya_ar_ch1_p.pdfบทที่ 1848.33 kBAdobe PDFView/Open
Jareeya_ar_ch2_p.pdfบทที่ 21.96 MBAdobe PDFView/Open
Jareeya_ar_ch3_p.pdfบทที่ 31.02 MBAdobe PDFView/Open
Jareeya_ar_ch4_p.pdfบทที่ 43.22 MBAdobe PDFView/Open
Jareeya_ar_ch5_p.pdfบทที่ 52.69 MBAdobe PDFView/Open
Jareeya_ar_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.