Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68528
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ | - |
dc.contributor.author | เอิบลาภ ศรีภิรมย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-12T03:12:14Z | - |
dc.date.available | 2020-10-12T03:12:14Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743348956 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68528 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการขยายตัวของเมืองพัทยา ที่มีความสัมพันธ์ต่อปัญหาน้ำเสียและการจัดการปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ 2)เพื่อประเมินวิธีการ วิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยที่มีผลในการจัดการ และควบคุมการแพร่กระจายของน้ำเสียในพื้นที่ 3)เพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการ เพื่อการจัดการน้ำเสียในเขตเมืองพัทยาด้วยวิธีการทางผังเมือง โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การวิเคราะห์จะเน้นข้อมูลปฐมภูมิโดยการสำรวจภาคสนาม และการออกแบบสอบถามความคิดเห็นของชุมชนเมืองพัทยา บริเวณชุมชนนาเกลือ ชุมชนพัทยาและจอมเทียน ด้วยวิธการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 293 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า การขยายตัวทางด้านการท่องเที่ยวส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้ใช้น้ำ และกิจกรรมขึ้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียในพื้นที่ โดยเฉพาะกิจกรรมท่องเที่ยว โดยพบว่าแหล่งกำเนิดน้ำเสียของเมืองพัทยามาจากกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งมีความหนาแน่นสูงมากบริเวณหาดพัทยาใต้ โดยพบว่า โรงแรมเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ เนื่องจากมีอัตราการผลิตน้ำเสียจากอาคารในปริมาณและค่าความสกปรกในรูปบีโอดีสูงที่สุด (1,061 ลิตรต่อวันต่อห้อง และ123 กรัมต่อวันต่อห้อง) นอกจากนี้การเติบโตของ นักท่องเที่ยว ซึ่งมีอัตราการผลิตน้ำเสียมากกว่าประชากรถึง 3 เท่า ยังเป็นสาเหตุหลักของปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ โดยจากการคาดการณ์จำนวนประชากรผู้ใช้น้ำในอนาคต พบว่า เมืองพัทยายังคงมีแนวโน้มของน้ำเสียที่มาจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก จากการศึกษาพบว่าปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือ ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และสุขภาพอนามัยของชุมชนที่ต้องใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ จากการศึกษาด้านการจัดการน้ำเสียของเมืองพัทยาพบว่า ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่สามารถรองรับน้ำเสียได้เพียง 33,000 ลบ.ม. ต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 58% ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดเท่านั้น โดยระบบบำบัดน้ำเสียบริเวณหาดพัทยา ซึ่งเป็นย่านการท่องเที่ยวหนาแน่นสูง มีขีดความสามารถในการรองรับน้ำเสียได้เพียง 13,000 ลบ.ม. ต่อวัน เท่านั้น สำหรับบริเวณนาเกลือซึ่งเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่ จึงทำให้คุณภาพน้ำบริเวณนี้มีความเสื่อมโทรมมากที่สุด จากการสำรวจความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่มีความเห็นว่าควรมีการตรวจสอบและดูแลประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งควรมีการเพิ่มระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ เพื่อให้บริการชุมชนอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าการจัดการน้ำเสียของเมืองพัทยามีความล่าช้า และขาดการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงาน รวมทั้งขาดความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมให้เป็นไปตามข้องบังคับ โดยมีการเลือกปฏิบัติและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเข้มงวดกวดขัน จึงส่งผลให้มีการปล่อยน้ำเสียโดยไม่มีการบำบัด และมีการระบายน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานลงสู่แหล่งน้ำนอกจากนี้การขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณของเมืองพัทยา ความไม่สอดคล้องกันระหว่างมาตรการ ทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นหนักในด้านการควบคุมปัญหาน้ำเสียให้ลดน้อยลง และมาตรการทางผังเมืองขึ้งเน้นหนักในการส่งเสริมการเติบโตของเมืองพัทยา รวมทั้งการขาดจิตสำนึกของชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำมากกว่าผลประโยชน์ไนทางเศรษฐกิจ มีผลทำให้การจัดการน้ำเสียไม่บรรลุเป้าหมายและเป็นปัญหาต่อเนื่องในพื้นที่ ดังนั้น การจัดการปัญหาน้ำเสียของเมืองพัทยา จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์กรท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนปรันปรุงแนวทางในการบังคับใช้ข้อบังคับที่มีอยู่ ให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาเมืองในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are as follows :(1) to study an expansion of Pattaya city เก relation to water pollution and wastewater management; (2) to assess problem analysis and factors effecting wastewater management and control of water pollution; and (3) to suggest an approach to wastewater management through city planning and study of relationship among relevant factors. The analysis of study is based on data obtained from primary sources such as field survey and questionnaires responded by residents of Na Klua, Pattaya and Jomtien communities; the results of which were arranged through samplings of 293 samples. The results of the study show that an expansion of tourism has resulted in an increase in water consumption and activities causing water pollution. Wastewater generated from tourists is of particular concern due to its high ratio to the total wastewater in the city. In the future, the ratio of wastewater generated by tourists tends to increase. Besides, the expansion of tourist activities also affects water pollution in the areas where those activities are concentrated especially along the beaches. Hotel business is considered the main tourist activity causing water pollution in the area since it releases the highest percentage of wastewater incurred from the buildings compared to population (1,061 litres per room per day) and the highest BOD dirtiness (123 grammes per room per day). ln addition, the growth of tourists who generate wastewater 3 times as much of normal population is also a major cause of wastewater problem in the areas. According to the estimation of future water users, Pattaya tends to face with wastewater cause by tourism. The results has shown that the wastewater problem has affected tourism economy most, other areas which are severely affected by wastewater problems are natural environment and sanitation of communities relying on water source. The study of wastewater management of Pattaya City has indicated that the existing wastewater management system can absorbed only 33,000 cm. per day which is equal to 58% of the total wastewater occurred. The wastewater management of the areas along Pattaya beach, which are highly tourist concentration has the capacity to take in only 13,000 cm. per day. As for Na Klua which is heavily populated, there is a lack of central wastewater management system. Therefore, the quality of water in the said area is the poorest The public opinion in those communities as shown in a survey has called for a regular check and standard control of existing wastewater management system and has also requested an increase in the wastewater management system to adequately serve the communities. Moreover, there is a need to tackle the problems of red tape, lacking of monitoring mechanism and inadequate law enforcement The discrimination in law enforcement has resulted in the dumping of wastewater to public sources without going through any wastewater management or appropriate management procedure. The scarcity of personnel and financial resources of the city, and incongruity between environmental standard, with an emphasis given to the control of wastewater, and city planning, with an emphasis on the promotion of the growth of the city, and the lack of public conscious in preserving water resource have impeded the goal of wastewater management, In summary, wastewater management of Pattaya city needs to be improved, the efficiency of the local administrative authorities needs to be strengthened and the current laws and regulations need to adjust in compatible with future city development planning. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | น้ำเสีย | - |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อม | - |
dc.subject | การท่องเที่ยว -- แง่สิ่งแวดล้อม | - |
dc.subject | เมือง -- การเจริญเติบโต | - |
dc.subject | พัทยา (ชลบุรี) | - |
dc.title | การจัดการน้ำเสียของเมืองท่องเที่ยว : กรณีศึกษาเมืองพัทยา | - |
dc.title.alternative | Wastewater management of tourist town : a case study of Pattaya city | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Eurblarp_sr_front_p.pdf | 994.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Eurblarp_sr_ch1_p.pdf | 860.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Eurblarp_sr_ch2_p.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Eurblarp_sr_ch3_p.pdf | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Eurblarp_sr_ch4_p.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Eurblarp_sr_ch5_p.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Eurblarp_sr_back_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.