Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68580
Title: การปรับปรุงความสัมพันธ์ในด้านลูกโซ่การป้อนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย : สู่ความเป็นผู้ผลิตระดับโลก
Other Titles: Improvement of supply-chain relationships in automotive industry in Thailand : towards world class manufacturing
Authors: สมหญิง งามพรประเสริฐ
Advisors: ชูเวช ชาญสง่าเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อุตสาหกรรมยานยนต์ -- ไทย
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- ไทย
Motor vehicle industry -- Thailand
Automobile supplies industry -- Thailand
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ผลิตวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนย่อยในประเทศไทย โดยได้สำรวจและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับตอบกลับจากผู้ประกอบยานยนต์จำนวน 7 โรงงาน ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 46 โรงงาน และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและเยี่ยมชมโรงงานผู้ประกอบยานยนต์ 2 ราย และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 4 ราย ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ที่จำกัดขอบเขตหรือมีการร่วมมือกันเพี่อบรรลุเป้าหมายบางประการโดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) เกณฑ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการประเมินผู้ผลิตชิ้นส่วนและผู้ผลิตวัตถุดิบ คือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ เช่น กำลังการผลิตและอุปกรณ์การผลิต และความว่องไวในการตอบสนองต่อคำร้องของลูกค้า 2) การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยังไม่บ่อยครั้งและมีรายละเอียดของข่าวสารไม่มากเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือพัฒนากระบวนการผลิตได้ 3) ขัดแย้งด้านราคาชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความไม่โปร่งใสของต้นทุนที่ลูกค้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนเสนอมา การขาดการทำกิจกรรมการ เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขาดการบริหารการผลิตและทรัพยากรต่างๅที่ดี 4) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยังไว้วางใจกันและกันค่อนข้างต่ำในด้านต้นทุนและกำไร ทำให้การทำกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนไม่ได้ผลเท่าที่ควร 5) ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างลูกค้ากับผู้ป้อนวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนคือระดับความสามารถในการผลิตของทั้งสองฝ่าย หากมีระดับ ความสามารถทางทางเทคนิคใกล้เคียงกันก็จะมีความร่วมมือทางเทคนิคมาก และ 6) จำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการเป็นตัวกำหนดปริมาณการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ป้อนวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนของผู้ประกอบการ เพื่อผลดีในระยะยาว ผู้ประกอบยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ผลิตวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนย่อยควร 1) ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เทคนิคการผลิตและการเพิ่มผลผลิต แนวคิดในการออกแบบปรับปรุงและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์และวัตถุดิบให้ดียิ่งขึ้น 2) รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนโดยมีสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ทุกบริษัทสามารถจัดหาความรู้ดังกล่าวได้ในงบประมาณที่จำกัด 3) อบรมบุคลากรที่มีหน้าที่ในการปรับปรุง พัฒนาและลดต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้มีศักยภาพมากขึ้นด้วยการฝึกอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านภาษา และ 4) จัดทำเกณฑ์ประกอบการประเมินผู้ผลิตวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนและแจ้งผลการประเมินให้ผู้ป้อนวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนของตนเป็นประจำเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองในที่สุด
Other Abstract: This research aims to study relationships between car assemblers and automotive part makers as well as between automotive part makers and raw material suppliers in Thailand. The study was conducted by analyzing information from questionnaires responded by seven car assemblers, 46 part makers and from plant visits and interviews with managers from six firms in industry (two car assemblers and four part makers). The results show that most of relationships in automotive industry are "Arms Length" or “Comaker". Several important points are า) the most important criteria in supplier assessment are reliability, .physical capabilities (tangibles) and responsiveness, 2) communication between car assemblers and their suppliers is not at a level to trigger technical collaborations in designing and developing products and processes between firms, 3) price conflict appears due to lack of cost transparency, productivity improvement activities, cost reduction activities and good management of manufacturing and resources, 4) unsuccessful productivity improvement activities and cost reduction activities are due to lack of trust about cost and profit, 5) the vital factor necessary for technical collaboration is technical capability of both sides, that is, the more technical capability, the more technical collaboration, and 6) capital investment determines the amount of knowledge transfer activities to raw material suppliers and sub-suppliers. For long term benefits, car assemblers, part makers and raw material suppliers should 1) use the internet as a medium to exchange information about production techniques, productivity improvement techniques, ideas in designing, improving and developing better parts and raw material, 2) cooperate on productivity improvement activities led by Society of Automotive Manufacturer Thailand so that every firm can procure knowledge at a limited budget, 3) develop the potential of those responsible for improving parts via training and seminars and 4) set up supplier assessment criteria and occasionally inform suppliers to encourage competition among the suppliers which will gradually lead to self-development by the part/raw material suppliers firms.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68580
ISBN: 9743326707
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somying_ng_front_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch1_p.pdf902.26 kBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch2_p.pdf994.77 kBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch3_p.pdf926 kBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch4_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch5_p.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch6_p.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_ch7_p.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Somying_ng_back_p.pdf7.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.