Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68588
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ คิริรัตน์พิริยะ-
dc.contributor.authorวรรณวิมล เศาณานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-15T07:54:59Z-
dc.date.available2020-10-15T07:54:59Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743331662-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68588-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractการนำกากตะกอนน้ำเสียชุมชนมาใช้ทางการเกษตร เป็นการจัดการกากตะกอนที่เน้นการนำเอาประโยชน์จากองค์ ประกอบของกากตะกอนในส่วนที่เป็นธาตุอาหาร (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม) และความเป็นอินทรีย์สารของกากตะกอนแต่องค์ประกอบของกากตะกอนยังมีส่วนที่เป็นข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ ได้แก่ จุลินทรีย์ก่อโรค และโลหะหนักที่บ่นเปื้อนในกากตะกอน ซาลโมเนลลาเป็นจุลินทรีย์พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เช่น ในดิน น้ำ ของเสียจากมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะในกากตะกอนจะพบซาลโมเนลลาปนเปื้อนมาก การปนเปื้อนของซาลโมเนลลาในกากตะกอนน่าจะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการใช้ประโยชน์จากกากตะกอนน้ำเสียชุมชนได้ ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การติดตามการปนเปื้อนของซาลโมเนลลาในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย การลดปริมาณซาลโมเนลลาในกากตะกอนด้วยแสงแดด และติดตามการปนเปื้อนจากซาลโมเนลลาในดินเมื่อเติมกากตะกอนในพื้นที่การเกษตร ใช้ชุดดินสระบุรีและชุดดินกำแพงแสน ทำการศึกษาในเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวางแผนการทดรองแบบ 3x6 Factorial in Randomized Complete Block Design ทำ 3 ซ้ำ มี 6 ตำรับทดลองของอัฅราการเติมกากตะกอน และ 3 ระยะเวลาในการเติมที่งทดลองครั้งที่สอง ส่าหรับการตรวจสอบซาลโมเนลลาในครั้งนี้ใช้วิธี Modified Semi-solid Rappapcrt Vasiliadis (MSRV) ผลการติดตามซาลโมเนลลาในน้ำและกากตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียชุมชน พบว่ากระบวนการบำบัดน้ำเสียไม่สามารถกำจัดการปนเปื้อนของซาลโมเนลลาในน้ำทิ้ง กล่าวคือทุกขั้นตอนของกระบวนการบำบัดน้ำเสียชุมชน แม้กระทั่งน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดยังตรวจพบการปนเปื้อนจากซาลโมเนลลา ซีโรวาร์ที่ตรวจพบในน้ำได้แก่ S. Agcna S. Anatum S. Enteritidis S. Orion S. Panama และ S. Rissen ส่วนซีโรวาร์ที่ตรวจพบในกากตะกอน ได้แก่ S. Agona S. Anatum และ S. Rissen ทั้งนี้ซีโรวาร์ที่ตรวจพบได้บ่อยในน้ำและกากตะกอน ได้แก่ S. Agona และ S. Rissen ปริมาณซาลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในกากตะกอนเริ่มต้นที่ 170 MPN/100 ml. การผึ่งแดดกากตะกอนติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน ได้ลดปริมาณชาลโมเนลลาให้เหลือน้อยกว่า 2 MPN/100 ml. ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่จะก่อให้เกิดอันตราย (105 เชลล์/น้ำหนักแห้ง 1 กิโลกรัม) เมื่อใช้กระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อตรวจสอบยืนยันผลจากการใช้แสงแดด พบว่าตรวจไม่พบการปนเปื้อนจากซาลโมเนลลาในดินที่เติมกากตะกอนซึ่งผ่านการผึ่งแดดแล้ว เมื่อนำกากตะกอนที่ผ่านการผึ่งแดด 8 วัน ไปใช้ประโยชน์ในการปลูกผักคะน้า (Brassica oleracea L. Var. alboglabra Bailey) แม้จะตรวจพบการปนเปื้อนจากซาลโมเนลลาในบางช่วงของการเพาะปลูก แต่การปนเปื้อนนั้นพบได้ทั้งดินที่ ฃเติมกากตะกอนและไม่เติมกากตะกอน นอกจากนั้นยังตรวจพบชาลโมเนลลาปนเปื้อนในดินก่อนที่จะนำมาทำการทดลองอีกด้วย ซึ่งแสดงว่าการเติมกากตะกอนไม่เพิ่มความเสี่ยงจากซาลโมเนลลา และผักคะน้าก็ยังเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากการเติมปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.5 ) แม้ว่าจะทิ้งช่วงในเติมกากตะกอนครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกนาน 50 วัน ซึ่งแสดงไห้เห็นว่าการปนเปื้อนของซาลโมเนลลาไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า ดังนั้นจึงสามารถประยุกต์ใช้แสงแดดช่วยลดปริมาณซาลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในกากตะกอน ก่อนที่จะนำไปใช้ในการ เกษตร เพื่อลดความเสี่ยงจากซาลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในกากตะกอน และสามารถนำกากตะกอนน้ำเสียชุมชนจากโรงบำบัดน้ำเสียเคหะชุมชนห้วยขวางในอัตรา 20 เมตริกตัน/เฮกแตร์ไปใช้แทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectซาลโมเนลลา-
dc.subjectกากตะกอนน้ำเสีย-
dc.subjectน้ำเสียชุมชน-
dc.subjectSalmonella-
dc.subjectSewage sludge-
dc.titleการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากเชื้อซาลโมเนลลา เมื่อนำกากตะกอนน้ำเสียชุมชนมาใช้ทางการเกษตร-
dc.title.alternativeRisk analysis of salmonella after applying domestic sewage sludge for agricultural use-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanwimol_sa_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_ch1_p.pdf704.15 kBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_ch2_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_ch3_p.pdf950.12 kBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_ch4_p.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_ch5_p.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_ch6_p.pdf687.99 kBAdobe PDFView/Open
Wanwimol_sa_back_p.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.