Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68657
Title: "อยาก" การศึกษาเชิงประวัติ
Other Titles: /jaak/: a diachronic study
Authors: ปิ่นกาญจน์ วัชรปาณ
Advisors: เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Tepee.J@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- คำกริยา -- ประวัติ
การเปลี่ยนแปลงทางภาษา
Thai language -- Verb -- History
Linguistic change
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและความหมายของคำว่า "อยาก" ในเชิงประวัติ โดยใช้ข้อมูลเอกสารที่พิมพ์และเผยแพร่แล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน มีสมมติฐาน คือ "อยาก" มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างและความหมายจากการแสดงความหมายหลักในประโยค เป็นการแสดงอรรถานุเคราะห์ ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐาน กล่าวคือ “อยาก” มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและ ความหมายโดยในข้อมูลสมัยสุโขทัย “อยาก” เป็นคำกริยา มีหน้าที่แสดงความหมายหลักในประโยคว่า “หิว กระหาย” และ “ไม่มีจะกิน” ในคำว่า “อดอยาก” ต่อมาในข้อมูลสมัยรัชกาลที่ ๓ “อยาก” เริ่มปรากฎใน ปริบทที่กว้างขึ้น โดยปรากฏร่วมกับคำกริยารูปธรรมคำว่า “อยาก” จึงมีหน้าที่ขยายคำกริยาหลักในประโยค และมีความหมายแสดงอรรถานุเคราะห์ว่า “ต้องการ” เพิ่มขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นอกจาก “อยาก” จะ ปรากฏร่วมกับกริยารูปธรรมหลายตัวในกริยาวลีแล้ว ยังพบ “อยาก” ปรากฏร่วมกับกริยานามธรรม และ พบว่า “อยาก” และ “อดอยาก” ปรากฏร่วมกับคำว่า “ความ” ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำนาม จากคำกริยา กลายเป็นคำนามว่า “ความอยาก” และ “ความอดอยาก” ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔-รัชกาลที่ ๗ พบการปรากฏ ของ “อยาก” ที่มีความหมายว่า “ต้องการ” และ “ความอยาก” ที่มีความหมายว่า “ความต้องการ” ในข้อมูล เพิ่มจากช่วงสมัยสุโขทัย - รัชกาลที่ ๓ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่กลับพบว่า “อยาก” ที่เป็นคำกริยา มี ความหมายว่า “หิว กระหาย” พบในจำนวนที่น้อยลง และไม่พบการปรากฏเลยในข้อมูลสมัยปัจจุบัน ดังนั้น ในข้อมูลสมัยปัจจุบันจึงพบเฉพาะ “อยาก” เป็นคำขยายกริยา มีความหมายแสดงอรรถานุเคราะห์ว่า “ต้องการ” และ “ความอยาก” เป็นคำนาม มีความหมายว่า “ความต้องการ”
Other Abstract: The purpose of this thesis was to study the change of /jàak/ in function and meaning from the Sukhothai period to the present. The data elicited is based on published document. The study agreed with the hypothesis, /jàak/ was changed in function and meaning, it was found in Sukhothai period that /jàak/ functioned as a main verb meaning "hungry" or "thirsty" and /?òt - jàak/ meaning "to starve.'" In the King Rama Ill, /jàak/ was found in widen content which appeared with concrete verbs. Then / jàak/ had more function to be a modality verb meaning "to want." In the King Rama IV, /jàak/ appeared with more than one concrete verbs and it started to appear with abstract verbs. Moreover, /jàakl/ and /?òt - jàak/ appeared with the word "kwa:m" and norminalized to have function as a noun. /jàak/ and /kwa:m -jàak/ meaning "to want" and "wanting" were found more significantly in the period of King Rama IV to King Rama VII than in the period of Sukhothai to King Rama Il. In the opposite, it was found less in / jàak/ functioned as a verb meaning "hungry" or "thirsty" and this function disappeared in recently document., Now there are only two functions of /jàak/: a modality verb and a noun meaning "to want" and "wanting."
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68657
ISBN: 9745312258
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinkarn_va_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ890.01 kBAdobe PDFView/Open
Pinkarn_va_ch1_p.pdfบทที่ 1885.37 kBAdobe PDFView/Open
Pinkarn_va_ch2_p.pdfบทที่ 21.35 MBAdobe PDFView/Open
Pinkarn_va_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Pinkarn_va_ch4_p.pdfบทที่ 41.77 MBAdobe PDFView/Open
Pinkarn_va_ch5_p.pdfบทที่ 5757.98 kBAdobe PDFView/Open
Pinkarn_va_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก861.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.