Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68726
Title: | การเปรียบเทียบความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่สมรสที่มีการจับคู่ของบทบาททางเพศต่างกัน |
Other Titles: | A comparison of marital satisfaction of couples having different kinds of sex role combination |
Authors: | ฉันทจิต จริยจรูญโรจน์ |
Advisors: | ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การสมรส ความพอใจ บทบาทตามเพศ Marriage Satisfaction Sex role |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่สมรสที่มี การจับคู่ของบทบาททางเพศต่างกัน ตามทฤษฎีสกีมาทางเพศ (Bern, 1984) และทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Scanzoni, 1970) การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคู่สามีภรรยามีอายุการสมรส 7- 20 ปี จำนวน 300 คู่ โดยใช้มาตรวัดบทบาททางเพศ (Bern, 1974) และมาตรวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรส สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้คือ การทดสอบสัดส่วนด้วยไคสแควร์ (Chi-Square Test of Homogeneity of Proportions) จากการสำรวจเรื่องบทบาททางเพศของคู่สมรสในสังคมไทยพบว่ามีรูปแบบการจับคู่ของคู่สมรสที่พบมาก 5 รูปแบบ ดังนี้คือ 1. คู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนีทั้งคู่ (A-A) 2. คู่สมรสที่สามีมีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนี ภรรยามีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน (A-U) 3. คู่สมรสที่สามีมีบทบาททางเพศลักษณะความเป็นชาย ภรรยามีบทบาททางเพศลักษณะความ เป็นหญิง (M-F) 4. คู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจนทั้งคู่ (U-U) 5. คู่สมรสที่มีสามีมีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน ภรรยามีบทบาททางเพศลักษณะความเป็นหญิง (U-F) ผลการวิจัยพบว่า จากการจับคู่ทั้ง 5 แบบดังกล่าวนั้น การจับคู่ของคู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนีทั้งคู่ (A-A) มีจำนวนคู่สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูงกว่าการจับคู่ของคู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่การจับคู่อีก 4 แบบที่เหลือมีจำนวนคู่สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The purpose of this thesis was to study a comparison of marital satisfaction of couples having different kinds of sex role combination according to Gender Schema Theory (Bern, 1 984) and Social Exchange Theory (Scanzoni, 1 970). Subjects were 300 couples who have been married for 7 -20 years. The Sex Role Scale and the Marital Satisfaction Scale were utilized. Chi-Square Test of Homogeneity of Proportions was conducted for statistical analysis. Results show that: In Thai society, the types of sex role combination frequently found are: 1. Both husband and wife have the androgyny type of sex role. (A-A) 2. Husband has the androgyny type of sex role, wife has the undifferentiated type of sex role. (A-U) 3. Husband has the masculine type of sex role, wife has the feminine type of sex role. (M-F) 4. Both husband and wife have the undifferentiated type of sex role. (U-U) 5. Husband has the undifferentiated type of sex role, wife has the feminine type of sex role. (U-F) Of all these five types, the androgyny-androgyny (A-A) combination group demonstrates significantly higher number of couples with marital satisfaction than the others (p < .05). There are no differences on the number of couples with marital satisfaction among the remaining groups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68726 |
ISBN: | 9746396609 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chantajit_ja_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 870.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chantajit_ja_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chantajit_ja_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chantajit_ja_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 718.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chantajit_ja_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 905.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chantajit_ja_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 718.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chantajit_ja_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.