Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68925
Title: การกำจัดสารหนูในน้ำสังเคราะห์ด้วยตัวกลางทรายเคลือบเหล็กออกไซด์และตัวกลางทรายเคลือบแมงกานีสออกไซด์
Other Titles: Arsenic removal from synthetic water by iron oxide-coated sand and manganese oxide-coated sand
Authors: ธรรม รู้ประกอบกิจ
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Subjects: สารหนู
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกำจัดสารหนู
เหล็กออกไซด์
การแลกเปลี่ยนไอออน
แมงกานีสออกไซด์
Arsenic
Water -- Purification -- Arsenic removal
Iron oxides
Ion exchange
Manganese oxides
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการทดลองขั้นห้องปฏิบัติการ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดอาร์เซนิค (+5) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดอาร์เซนิค(+5) โดยใช้ตัวกลางทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ และทรายเคลือบแมงกานีสออกไซด์ การทดลองใช้คอลัมน์ที่บรรจุตัวกลางสูง 35 ซม.แบ่งการวิจัยเป็น 3ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกศึกษา ประสิทธิภาพในการกำจัดที่อัตราการไหลต่าง ๆ โดยแปรเปลี่ยนค่าอัตราการไหลอยู่ระหว่าง 3-30 BV/hr. สำหรับตัวกลางทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ และแปรเปลี่ยนค่าอัตราการไหลอยู่ระหว่าง 1.2-6 BV/hr. สำหรับตัวกลางทรายเคลือบแมงกานีสออกไซด์ ขั้นตอนที่สองศึกษาผลของพีเอซที่มีต่อประสิทธิภาพในการกำจัดอาร์เซนิค โดยทดลองกับน้ำ สังเคราะห์ที่พีเอชเท่ากับ 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 ขั้นตอนที่สามศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดอาร์เซนิคในวัฏจักร 10 รอบการทำงาน จากผลการทดลองพบว่าในขั้นตอนแรกทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนได้ดีที่สุดที่อัตราการไหล 20 BV/hr โดยให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัด 220 BVและปริมาณอาร์เซนิคที่แลกเปลี่ยนได้เท่ากับ 129.2 มก./ล.เรซิน สำหรับทรายเคลือบแมงกานีสออกไซด์ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนได้ดีที่สุดที่อัตราการไหล 3 BV/hr. โดยให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัด 160 BV และปริมาณอาร์เซนิคที่แลกเปลี่ยนได้เท่ากับ 121.7มก./ล.เรซิน ขั้นตอนที่สองพบว่าทรายเคลือบเหล็กออกไซด์มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนได้ดีที่สุดที่พีเอช 7 ปริมาณอาร์เซนิคที่แลกเปลี่ยนได้เท่ากับ 132.2 มก./ล.เรซิน ส่วนกรณีทรายเคลือบแมงกานีสออกไซด์ มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนได้ดีที่สุดที่พีเอช 3 โดยที่พีเอช 7 ปริมาณอาร์เซนิคไอออนที่แลกเปลี่ยนมีค่าใกล้เคียงเท่ากับ 142.5 มก./ล.เรซิน และ 138.3 มก./ล.เรซินตามลำดับ ส่วนผลการทดลองการฟื้นอำนาจตัวกลางทั้งสองชนิดด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.2 นอร์มัล ใน 10 รอบการทำงาน พบว่าทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัดเฉลี่ย 154.3 BV ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัดลดลงเฉลี่ย 3.08% ปริมาณอาร์เซนิคที่แลกเปลี่ยนได้เฉลี่ย 127.52 มก./ล.เรซิน ส่วนทรายเคลือบแมงกานีสออกไซด์ ให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัดเฉลี่ย 90 BV ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัดลดลงเฉลี่ย 2.14% ปริมาณอาร์เซนิคที่แลกเปลี่ยนได้เฉลี่ย 120.54 มก./ล.เรซิน
Other Abstract: The aim of this research was to study the suitable condition for arsenic (+5) removal and to compare the efficiency of arsenic removal by iron and manganese oxide coated-sand by lab scale test. The column was filled with 35 cm height coated sand the experiment was [dived] into 3 [steps], the first step was study on the efficiency at different flow rate by varying flow rate between 3-30 and 1.2-6 BV/hr. for iron oxide coated-sand and manganese oxide coated-sand respectively. The second step studied on the effect pH of on arsenic removal efficiency by vary pH of synthetic water from 3 to 8. The last step studied on removal efficiency of arsenic in 10 working cycle. The results show that the best ion exchange efficiency using iron oxide coated-sand was shown at flow rate 20 B.V/hr. which correspond to the treated water volume 220 BV and the quantify of [exchangeable] arsenic equal to 129.2 mg/l. resin. For manganese oxide-coated sand had the best ion exchange efficiency at flow rate 3 BV/hr. which correspond to the treated water volume 160 BV and the quantity of [exchangeable] arsenic equal to 121.7 mg/l, resin. The result of the second step reveals that the best efficiency for arsenic exchange of iron oxide-coated sand was at pH 7 The quantity of [exchangeable] arsenic equal to 132.2 mg/l. resin. In case of manganese oxide-coated sand, the best efficiency for arsenic exchange was at pH 3 and at pH 7, the quantity of [exchangeable] arsenic was [closely] pH 3, which was equal to 138.3 mg/l. resin and 142.5 mg/l, resin respectively. The result of regeneration of two media with 0.2 N. sodium hydroxide in 10 working cycle found that the average treated water volume was 154.3 BV the quantity of treated water was average decreasing 3.08% and the average quantity of [exchangeable] [arsenic] equal to 127.52 mg/l, resin for iron oxide-coated sand. In the case of manganese oxide-coated sand, the average treated water volume was 90 BV. the quantity of treated water was average decreasing 2.14% and the average quantity of [exchangeable] arsenic equal to 120.54 mg/l, resin
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68925
ISBN: 9743315977
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tam_ru_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_ch1_p.pdfบทที่ 1648.97 kBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_ch2_p.pdfบทที่ 2617.01 kBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_ch3_p.pdfบทที่ 33.48 MBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_ch4_p.pdfบทที่ 41.28 MBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_ch5_p.pdfบทที่ 53.51 MBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_ch6_p.pdfบทที่ 6659.19 kBAdobe PDFView/Open
Tam_ru_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.