Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68941
Title: กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบเซลลูล่าร์ 900 และดิจิตอล จีเอสเอ็ม ระหว่างปี พ.ศ.2537-2540
Other Titles: The marketing communication strategy of cellular 900 and digital GSM mobile phone network operator (1994-1997)
Authors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โทรศัพท์เคลื่อนที่
การสื่อสารทางการตลาด
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
Cell phones
Communication in marketing
Strategic planning
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพัฒนาการของโครงสร้างการตลาดธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และวิธีการนำการสื่อสารมาใช้ในงานด้านการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูล่า900 และดิจิตอล จีเอสเอ็ม ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ถือกำเนิดขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน และปัญหาการดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐ จึงมีการเปิดให้สัมปทานเอกชน เข้ามาดำเนินงาน ทั้งนี้ โครงสร้างหลัก ของตลาดประกอบด้วย ผู้ให้บริการระบบ ตัวแทนจำหน่าย และผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญอีก 2 ประการที่อยู่ แวดล้อมโครงสร้างดังกล่าว คือ หน่วยงานภาครัฐ และพรรคการเมือง โครงสร้างการตลาดในข้างต้น จะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่าง ในสินค้าและบริการ เหนือคู่แข่งขัน โดยอาศัยเครื่องมือที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ การสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารที่มีการวางแผนงานและ กำหนดวิธีการสื่อสารเชิงกลยุทธ์แบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communications) ดังจะเห็นได้จากกรณีศึกษาแผนการ สื่อสารการตลาดดิจิตอล จีเอสเอ็ม 2 วัตต์ และแผนการสื่อสารการตลาดระบบป้องกันการจูนสมบูรณ์แบบ SIS ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
Other Abstract: The objective of this research is to study the project to develop mobile phone service market and the way Cellular 900 and Digital GSM use communication as a tool in their marketing strategy. Key findings of this research indicate that mobile phone business arose from the shortage of standard (landline) phone and the problem of government agencies management. Therefore, a concession was given to private companies. The main structure of the market consists of network operators, distributors and consumers. Moreover, two important parties are involved in this structure i.e. government agencies and political parties. Market structure will define marketing strategy, which will differentiate products and service to be superior to its competitors. The most important tool for this task is communication, especially the Integrated Marketing Communications (IMC). The example would be the case studies of successful IMC are “Digital GSM 2 W Watts” and “Subscriber Identification Security (SIS) Fraud Protection”.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68941
ISBN: 9743317406
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tatri_ta_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.05 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch1_p.pdfบทที่ 12.33 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch2_p.pdfบทที่ 2982.16 kBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch3_p.pdfบทที่ 31.1 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch4_p.pdfบทที่ 42.17 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch5_p.pdfบทที่ 53.58 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch6_p.pdfบทที่ 64.1 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_ch7_p.pdfบทที่ 71.11 MBAdobe PDFView/Open
Tatri_ta_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.