Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภาพรรรณ โคตรจรัส | - |
dc.contributor.author | วีรนุช วงศ์คงเดช, 2518- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2006-05-27T03:11:26Z | - |
dc.date.available | 2006-05-27T03:11:26Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745314307 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบของการอบรมเลี้ยงดู เจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ และการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 5 ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่เด่นชัดตามแนวคิดของ Diana Baumrind จำนวน 739 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสำรวจรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบวัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง และแบบวัดเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ Dunnett’s T3 และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโดยทั่วไปมีการเรียนรู้แบบกำกับตนเองค่อนข้างสูง และมีเจตคติค่อนข้างบวกต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ 2. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางของการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ จำแนกตามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู เพศระดับชั้นเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีนัยสำคัญ ดังนี้ 2.1 นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ มีการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง และมีเจตคติทางบวกต่อการแสวงหาความช่วยเหลือสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูอีก 3 รูปแบบ นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และแบบตามใจ มีการเรียนรู้แบบกำกับตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง ส่วนนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจมีเจตคติทางบวกต่อการแสวงหาความช่วยเหลือสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และแบบทอดทิ้ง 2.2 นักเรียนหญิงมีการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง และมีเจตคติทางบวกต่อการแสวงหาความช่วยเหลือสูงกว่านักเรียนชาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีการเรียนรู้แบบกำกับตนเองสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.3 นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีการเรียนรู้แบบกำกับตนเองสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง และต่ำ และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางมีการเรียนรู้แบบกำกับตนเองสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 2.4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5 และนักเรียนทั้ง 3 ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือไม่แตกต่างกัน 3. การเรียนรู้แบบกำกับตนเอง เจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการเลี้ยงดูอีก 3 รูปแบบ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to investigate the parenting styles, attitudes toward help-seeking and self-regulated learning of secondary school students. Participants were 739 students in Matthayomsuksa 2 and 5 from Bangkok Metropolis, with clearty identifiable parenting styles according to Baumrind’s classificantion. The instruments used were The Parenting Styles Rating Scale, The Self-Regulated Learning Strategies (SRLS), and Student Attitudes Toward Help-Seeking Scale. Data was analyzed using three-way ANOVA design followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnett’s T3 test and the Pearson correlation coefficient. The major findings were as follow: 1. The secondary school students reported relatively high level of self regulated learning and had rather positive attitude toward help-seeking. 2. The three-way ANOVA yielded significant effects for students’ parenting styles, gender, grade levels and academic achievement on their self-regulated learning and attitudes toward help-seeking. 2.1 Students from authoritative families reported more self-regulated learning and more positive attitude toward help-seeking than those with other parenting styles. Students from authoritarian and permissive families both reported more self-regulated learning than those from neglectful families. Students from permissive families reported more positive attitude toward help-seeking than those from authoritarian and neglectful families. 2.2 Female students reported more self-regulated learning and more positive attitude toward help-seeking than male students. Students in Mathayomsuksa 5 reported more self-regulated learning than those in Mathayomsuksa 2. 2.3 Students with high academic achievement reported more self-regulated learning than those with moderate and low academic achievement and students with moderate academic achievement reported more self-regulated learning than those with low academic achievement. 2.4 No significant effects for students’ academic achievement and grade levels on their attitudes toward help-seeking were found. 3. Self-regulated learning, attitudes toward help-seeking and academic achievement had positive correlations with authoritative parenting style and had negative correlations with the other three parenting styles. | en |
dc.format.extent | 1360050 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | en |
dc.subject | เด็ก--การเลี้ยงดู | en |
dc.subject | การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง | en |
dc.title | เจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ และการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน | en |
dc.title.alternative | Attitudes toward help-seeking and self-regulated learning of secondary school students with different parenting styles | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการปรึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ksupapan@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weeranuch.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.