Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69375
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลพิชญ์ โภไคยอุดม-
dc.contributor.authorสุวิทย์ เลิศธนากุลวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2020-11-11T09:30:28Z-
dc.date.available2020-11-11T09:30:28Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69375-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย ได้แก่ ด้านการดำเนินงานในการจัดการแข่งขัน การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดการแข่งขัน และการจัดบุคลากรในการดำเนินงาน และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันมวยไทยของผู้ชมชาวไทย ตามตัวแปรลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ชมชาวไทย จำนวน 440 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ และเคยเข้าชมมวยไทยช่อง 7 สี มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.88 และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น α เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที  วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ใช้วิธี LSD ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000 – 20,000 บาท ซึ่งพบว่าผู้ชมชาวไทยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย พบว่า ผู้ชมชาวไทยที่มี เพศ อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันมวยไทยไม่แตกต่างกันและผู้ชมชาวไทยที่มีอายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันมวยไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ชมชาวไทยที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างจะมีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยแตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativePurpose: The purpose of this study was to study the level of satisfaction experienced by Thai spectators towards the components of Muay Thai competition management, which were operations of competition management, management of facilities, and professionalism of staff in the operating competition. The study compared the level of satisfaction of Thai spectators by gender, age, status, education level, career, and income. Methods: Quantitative research was conducted with questionnaires.  The sample included 440 Thai spectators who could all read and write in Thai. The reliability of questionnaires was 0.95 and the IOC was 0.88. The statistical variables for data analysis were frequency, percentage, average mean, standard deviation, hypothesis testing by t-test, one-way analysis of variance and comparison by LSD technique. Results: The study found that most of the Thai spectators were males between the ages of 30 and 39 years old who had a minimum of high-school level of education, were married, and who had an average monthly income between 10,000 and 20,000 Baht. The overall satisfaction of Thai spectators towards the components of Muay Thai competition management reached a high level of agreement. The difference of demographic characteristics of Thai spectators was found to be significantly different at .05 in aspect of age, status and education, but there was no significant difference within the categories of gender, career, and income. Conclusion: The satisfaction of Thai spectators towards the components of Muay Thai competition management had a noticeable high level of agreement. Moreover, the demographic categories of age, status, and education level demonstrated a difference in the components of Muay Thai competition management.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1120-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.titleความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย -
dc.title.alternativeThe satisfaction towards the components of Muay Thai competition management among Thai spectators-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorGulapish.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1120-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178416139.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.