Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6948
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรัตน์ บัวเลิศ-
dc.contributor.authorธิดารัตน์ พงษ์คุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2008-05-21T04:09:34Z-
dc.date.available2008-05-21T04:09:34Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745325414-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6948-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการศึกษาการพัฒนาแบบจำลองคุณภาพอากาศสำหรับสภาวะลมสงบในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ศึกษาสภาพการเกิดลมสงบในบริเวณพื้นที่ศึกษา ศึกษาลักษณะการกระจายตัวของอากาศในสภาวะลมสงบ และพัฒนาแบบจำลองคุณภาพอากาศสำหรับสภาวะลมสงบ โดยผลการศึกษาความเร็วลมเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2540-2546 พบว่าความถี่ของการเกิดลมสงบสูงถึงร้อยละ 42.86 สำหรับพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร (สถานีตรวจอากาศเฉลิมพระเกียรติกรุงเทพฯ) ที่มีความขรุขระของพื้นผิวสูง ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะโล่งกว้าง(สถานีอุตุนิยมวิทยาขนส่งดอนเมือง) พบสภาวะลมสงบเพียงร้อยละ 7.08 พบว่าลมสงบเกิดในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน นอกจากนี้ในสภาวะลมสงบนั้นก่อให้เกิดปัญหามากกว่าในสภาวะที่ความเร็วลมสูง เนื่องจากพบว่าเมื่อเกิดสภาวะลมสงบความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์จะมีค่าสูงกว่าในสภาวะที่ความเร็วลมสูง สำหรับการศึกษาลักษณะการกระจายตัวของอากาศในสภาวะลมสงบพบว่า เมื่อเกิดสภาวะลมสงบอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าบรรยากาศโดยรอบ จะมีการเคลื่อนที่แบบ Adiabatic cooling process ซึ่งพบว่าห้องที่มีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร และสูง 3 เมตร (75 ลูกบาศก์เมตร) ใช้เวลา 50 นาที ในการที่ควันกระจายไปทั่วห้อง และมีความเข้าข้นใกล้เคียงกันทั้งห้อง ซึ่งการกระจายตัวในลักษณะดังกล่าวสอดคล้องตามสมมติฐานของ Box model ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบของลมพบว่า สัดส่วนระหว่างการเคลื่อนที่ของลมในแนวระนาย (u, v) กับการเคลื่อนที่ของลมในแนวดิ่ง (w) ในสภาวะลมสงบ มีค่าเท่ากับ 1.105 และ 1.095 สำหรับในฤดูฝน และเท่ากับ 1.143 และ 1.147 ในฤดูแล้งฝน ส่วนที่ความเร็วลมมากกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที มีค่าเท่ากับ 1.142 และ 1.119 สำหรับในฤดูฝน และเท่ากับ 1.172 และ 1.154 ในฤดูแล้งฝนโดยสัดส่วนระหว่างการเคลื่อนที่ของลมในแนวระนาบกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวดิ่งแสดงให้เห็นว่าในสภาวะลมสงบการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวดิ่งพบมากกว่าในสภาวะที่ความเร็วลมมากกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวที่เป็นคอนกรีตนั้นจะมีการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวดิ่งสูงกว่าในบริเวณที่เป็นสนามหญ้า สำหรับการพัฒนาแบบจำลองคุณภาพอากาศสำหรับในสภาวะลมสงบพบว่า Box model ในสภาวะคงที่แบบสมบูรณ์ให้ผลใกล้เคียงกับค่าตรวจวัดจริงมากกว่าในสภาวะคงที่และสภาวะไม่คงที่ และพบว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลการตรวจวัดสูงเมื่อผู้รับอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดen
dc.description.abstractalternativeStudies characteristics of atmospheric dispersion of calm wind condition and development of an air quality model for calm wind condition. The results show that the calm wind condition was 42.86 percent in 1997-2003 for high surface roughnes area (Bangkok Metropolis station). For Don Muang station, flat terrain area show calm wind condition only 7.08 percent in 1997-2003. The majority of calm wind condition was occurred at night, and this condition caused of the poor dispersion conditions. Because under calm wind condition, carbon monoxide concentration was higher than the concentration under strong wind condition. Atmospheric dispersion characteristic of calm wind condition show a good agreement to Adiabatic cooling process when air temperature was higher than the surroundings temperature. Furthermore, smoke was diffused and gave the homogeneous concentrations at 50th minute for the room, size 5x5x3 m[superscript 3] (75 m). This dispersion's characteristic show a good agreement to the Box assumption. Wind component analysis show the proportion of horizontal air movement (u,v) and vertical air movement (w) of calm wind condition were 1.105 and 1.059 respectively for the rainy season and the dry season equal 1.143 and 1.147 respectively. For the ratio of horizontal and vertical air movement when wind speed higher than 0.5 ms in the rainy season were 1.142 and 1.119 respectively and 1.154 respectively for the dry season. The ratio under calm condition show that the vertical movement was dominated, especially over concrete surface. The development of calm wind model, the absoluted steady state condition of Box assumption show a good performance than steady state and unsteady state of Box assumption. Furthermore, the model application gave a good correlation to the measurement when the receptor was nearby source.en
dc.format.extent3066098 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.945-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคุณภาพอากาศ -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectคุณภาพอากาศ -- แบบจำลองen
dc.subjectแบบจำลองบรรยากาศen
dc.subjectลม -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.titleการพัฒนาแบบจำลองคุณภาพอากาศสำหรับสภาวะลมสงบในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment of an air quality model for calm wind condition in Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorbsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.945-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidarat.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.