Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69511
Title: การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย
Other Titles: Interpretation of anaphoric reflexive pronouns in Thai
Authors: กษิดิ์เดช ทรัพย์วัฒนไพศาล
Advisors: ธีราภรณ์ รติธรรมกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Theeraporn.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา 1) การตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย อันได้แก่ สรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว ตัวเอง และสรรพนามสะท้อนรูปประสม ตัวเขาเอง ตามข้อค้นพบของ Hoonchamlong (1991) ที่เสนอไว้ว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยวใช้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันเท่านั้น ขณะที่สรรพนามสะท้อนรูปประสมสามารถใช้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานหรือกรรมที่ปรากฏภายในหรือภายนอกอนุพากย์เดียวกันก็ได้ และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว ตัวเอง และสรรพนามสะท้อนรูปประสม ตัวเขาเอง อันได้แก่ ปัจจัยความเป็นประธาน และปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตาม ผู้วิจัยใช้วิธีการทดสอบการตีความภายหลังด้วยแบบสอบถาม เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการตีความสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทยว่าเป็นไปตามข้อเสนอของ Hoonchamlong (1991) หรือไม่ ผลจากแบบสอบถามพบว่าปัจจัยความเป็นประธานของรูปที่ถูกแทนส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนทั้งรูปเดี่ยวและรูปประสมให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานมากกว่ารูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นกรรม และปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตามก็ส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนทั้งรูปเดี่ยวและรูปประสมให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่ารูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานภายนอกอนุพากย์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยใช้การทดลองทางภาษาศาสตร์จิตวิทยาแบบกำหนดเวลาอ่านด้วยตัวเอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประมวลผลในระยะเวลาจริงของสรรพนามสะท้อนรูปอ้างตามในภาษาไทย การทดลองที่ 1 ศึกษาปัจจัยความเป็นประธาน ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยความเป็นประธานเอื้อต่อการประมวลผลประโยคที่ ตัวเอง และ ตัวเขาเอง อ้างถึงประธานได้เร็วกว่ากรรม การทดลองที่ 2 ศึกษาปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตาม ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยระยะห่างจากรูปอ้างตามเอื้อต่อการประมวลผลประโยคที่ ตัวเอง และ ตัวเขาเอง อ้างถึงประธานภายในอนุพากย์เดียวกันได้เร็วกว่าประธานภายนอกอนุพากย์ อย่างไรก็ดี ปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการตีความสรรพนามสะท้อนรูปประสมมากกว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้ไม่เป็นไปตามข้อเสนอของ Hoonchamlong (1991) กล่าวคือทั้งสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยวและรูปประสมนั้นต่างมีแนวโน้มที่จะอ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธานมากกว่ากรรม หรือรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่าประธานภายนอกอนุพากย์ นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการทำความเข้าใจประโยคนั้น สรรพนามสะท้อนรูปประสมมีความไวต่อการตีความให้อ้างถึงรูปที่ถูกแทนที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือรูปที่ถูกแทนที่เป็นประธานภายในอนุพากย์เดียวกันมากกว่าสรรพนามสะท้อนรูปเดี่ยว
Other Abstract: This research aims to study 1) interpretations of anaphoric reflexive pronouns in Thai (i.e., the bare reflexive tua eeng ‘self’ and the compound reflexive tua khaw eeng ‘himself/herself’) based on Hoonchamlong (1991)’s proposal, which states that the bare reflexive must be subject-oriented and locally-bound, whereas the compound reflexive can be either subject- or object-oriented, and either locally or long-distance bound, and 2) factors which affect the construals of the two types of anaphoric reflexives, namely subject orientation and locality of an antecedent. Offline-interpretation data were collected using questionnaires in order to investigate how anaphoric reflexives in Thai were interpreted with respect to Hoonchamlong (1991). Results showed that both bare and compound reflexives were subject-oriented rather than object-oriented and were locally bound rather than long-distance bound. Furthermore, the researcher reported two self-paced reading experiments that tapped into online processing of anaphoric reflexives in Thai. Experiment 1 examined the effect of subject orientation of an antecedent on the reflexive interpretations. It was found that the reading time was significantly faster when reflexive anaphors referred to subject antecedents than when they did objects. Experiment 2 investigated the factor of locality of an antecedent. It was observed that the reading time was significantly faster when reflexive anaphors referred to local antecedents than when they did long-distant counterparts. These two factors, however, were likely to show stronger effects on tua khaw eeng than on tua eeng. In conclusion, these findings are not consistent with Hoonchamlong (1991)’s proposal. That is, both bare and compound anaphoric reflexives in Thai are more likely to refer to subject antecedents than object ones and to local antecedents than long-distant ones. In addition, at a point in time, the compound reflexive tua khaw eeng is more sensitive to subject-oriented as well as locally bound antecedents than the bare reflexive tua eeng.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69511
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1058
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1058
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5980107922.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.