Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริจันทร์ ทองประเสริฐ-
dc.contributor.authorสุชาติ แซ่แต้-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-23T01:49:30Z-
dc.date.available2008-05-23T01:49:30Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741737068-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6999-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นความต้องการทางอุตสาหกรรมและมีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของกล่องกระดาษลูกฟูกเพื่อปรับปรุงแรงเสียดทานของกล่องกระดาษลูกฟูกให้ดีขึ้นและลดการสูญเสียแรงเสียดทานให้น้อยที่สุด โดยใช้แนวทางของการออกแบบทดลองอันเนื่องมาจากมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแรงเสียดทานหลายปัจจัย จากประสบการณ์จึงได้เลือกปัญหาดังกล่าวมาทำการวิจัยในครั้งนี้ ดังนั้นจึงได้มีการนำหลักการทางสถิติและการออกแบบการทดลองมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงเสียดทาน (Friction) ของกล่องกระดาษลูกฟูก ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและเงื่อนไขที่เหมาะสมของปัจจัยดังกล่าวในการผลิตที่จะทำให้ค่าแรงเสียดทานดีขึ้นซึ่งเกิดขึ้นก่อนการปรับปรุงมีปริมาณของเสียเกิดขึ้น 889x10[superscript 3] DPPM (Defect Part per Million) และมีความสามารถของกระบวนการการผลิต (Cpk) เป็น (-0.51) ขั้นตอนการวิจัยจะดำเนินตามขั้นตอนการออกแบบการทดลอง ทั้ง 7 ขั้นตอน โดยเริ่มจากการนิยามปัญหาการนิยามปัญหาด้วยผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram) การเลือกปัจจัย ระดับและการเลือกตัวแปรตอบสนองคือแรงเสียดทาน การเลือกการออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ การสรุปผลและการทดสอบเพื่อยืนยันผลประกอบด้วย การทดสอบเพื่อยืนยันผลการทดลองและการควบคุมกระบวนการผลิตจริง ผลลัพธ์ของการทดลอง คือ สามารถกำหนดค่าของระดับของแต่ละปัจจัยที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลต่อค่าแรงเสียดทาน (Friction) ของกล่องกระดาษลูกฟูกในกระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบ 2[superscript k-p] Fraction Factorial design Resolution IV ในขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการผลิตแล้วนำไปวิเคราะห์หาระดับที่เหมาะสมของการปรับค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่อทำให้ได้ค่าแรงเสียดทาน (Friction) ของกล่องกระดาษลูกฟูกไม่ต่อกว่าข้อกำหนดของลูกค้า คือ 26 องศา โดยการกำหนดระยะกดของ Print Roll Gap เท่ากับ 7 มม. ค่าน้ำยาวานิช (Anti Slip) ประเภท B ความหนืดของหมึกพิมพ์ (Ink Viscosity) เท่ากับ 12.5 วินาที และระยะกดของ Feed Belt Gap เท่ากับ 8.5 มม. แล้วทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลก่อนนำไปใช้ในการผลิตจริง จากนั้นทำการควบคุมปัจจัยที่สำคัญทั้งสี่ด้วยกระบวนการเชิงสถิติ ผลหลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต มีปริมาณของเสียเกิดขึ้น เพียง 11.2 DPPM และ ความสามารถของกระบวนการ (Cpk) มีค่าเท่ากับ 1.34en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research to improve the manufacturing process of corrugating cartons by increasing the friction force of the corrugating cartons and minimizing the loss of friction force. Applied statistical principles and the theory of Design of Experiment (DOE) are used investigating the factors influencing the friction of corrugating cartons according to product specification limit and identifying the appropriate operative conditions for defects reduction. Before improvement the defect is about 889 x 10 DPPM[superscript 3] (Defect Part per Million) and Process Capability (Cpk) of (-0.51). The research was conducted according to the seven steps of Design of Experiment methodology. The process began with problem identification by cause and effect diagram, choice of factor levels and range, response variable identification (friction force), experimental design, experiment execution, data analysis using statistics, Conclusion and confirmation. The result of the experiment is the degree of relation of each significant factor on the friction of corrugating cartons in the manufacturing process. The algorithm used is derived from the Design of Experiment with 2[superscript k-p] Fraction Factorial design Resolution IV. Finally, the appropriate levels of factors were determined, leading to their appropriate level of adjustment. The experiment also achieved the required friction stated by the customer using Print Roll Gap of 7 mm., Type B Anti Slip substance, Printing ink with viscosity of 12.5 seconds and Feed Belt Gap of 8.5 mm. Lastly, confirmation was performed before the actual implementation. During the manufacturing process, the four factors were controlled using Statistical Process Control (SPC). The result of this process improvement significantly showed level of defected product of only 11.20 DPPM and the Process Capability (Cpk) of 1.34.en
dc.format.extent4307437 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1502-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแรงเสียดทานen
dc.subjectกล่องกระดาษen
dc.titleการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทานของกล่องกระดาษลูกฟูกen
dc.title.alternativeManufacturing process improvement by analysis factors that influencing on the carton's frictionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichan.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.1502-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.