Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70003
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ น่วมนุ่ม-
dc.contributor.authorปวิตร เขตต์ชลประทาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:34:23Z-
dc.date.available2020-11-11T13:34:23Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70003-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางสถิติและการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 โรงเรียน จำนวน 525 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบความรู้ทางสถิติ และแบบวัดการคิดเชิงสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการสร้างสมการทำนายด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ทางสถิติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การคิดเชิงสถิติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05   3) การคิดเชิงสถิติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ทางสถิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถสร้างสมการทำนายการคิดเชิงสถิติ จากความรู้ทางสถิติ (X) โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 31.9 และได้สมการถดถอยในการทำนายการคิดเชิงสถิติ (Y) คือ Y = 6.457 + 0.773X-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to study of the statistical knowledge of twelfth grade students; 2) to study of the statistical thinking of twelfth grade students; and 3) to study relationship between statistical knowledge and statistical thinking of twelfth grade students. The sample of this study was a group of 525 twelfth grade students in 15 schools under the office of the secondary educational service area in Bangkok. The research instruments were statistical knowledge test and statistical thinking test. The data were analyzed by arithmetic mean, percentage of arithmetic mean, standard deviation, t-test, correlation, and simple regression analysis. The research findings were summarized as follows: 1) statistical knowledge of twelfth grade students was lower than the minimum criteria of 50 percent at .05 level of significance; 2) statistical thinking of twelfth grade students was lower than the minimum criteria of 50 percent  at .05 level of significance; and 3) there was significant positive correlation between statistical knowledge and statistical thinking that statistical knowledge (X) could predict statistical thinking at 31.9% while the regression equation of Statistical Thinking was as follow: Y = 6.457 + 0.773X.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.731-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการศึกษาความรู้ทางสถิติ และการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeStudy on statistical knowledge and statistical thinking of twelfth grade students in schools under the office of the secondary educational service area in Bangkok-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการรู้เรื่องสถิติ-
dc.subject.keywordความรู้ทางคณิตศาสตร์-
dc.subject.keywordการคิดเชิงสถิติ-
dc.subject.keywordความรู้ทางสถิติ-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.731-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083331027.pdf7.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.