Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70142
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย
Other Titles: Feasibility study on solar PV rooftop based on supporting policy for residential sector
Authors: อิทธิเดช ภู่นันทพงษ์
Advisors: ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Titisak.B@Chula.ac.th
Subjects: เซลล์แสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์
มูลค่า (เศรษฐศาสตร์)
Solar cells
Solar energy
Value
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 2.31 kWp, 3.96 kWp และ 9.90 kWp ในบริเวณพื้นที่จังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนระบบผลิตไฟฟ้ายังคงมีราคาสูงและขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของโครงการมีผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน โดยโครงการที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งน้อยจะมีต้นทุน (บาท/kWp) สูงกว่าโครงการที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ตามหลักการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และจากผลการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนพบว่า โครงการจะมีความคุ้มค่าสำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านหรืออาคารเป็นหลัก ส่วนการติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านและมีพลังงานไฟฟ้าส่วนเหลือจำหน่ายเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้า มีความคุ้มค่าสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่หรือโครงการที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ และการลงทุนติดตั้งเพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ยังไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง แต่อัตรารับซื้อไฟฟ้ามีราคาต่ำ จึงสรุปได้ว่า ต้นทุนการลงทุน อัตราค่าไฟฟ้า อัตรารับซื้อไฟฟ้า สัดส่วนการผลิตและการใช้ไฟฟ้า และปัจจัยสภาพแวดล้อม มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของโครงการและการตัดสินใจเลือกลงทุน
Other Abstract: The objective of this research was to conduct the feasibility study of a roof mounted photovoltaic system in accordance with the electricity purchase policy for the residential sector with the installed capacity of 2.31 kWp, 3.96 kWp and 9.90 kWp in the area of Lop Buri Province. The results showed that the electricity generating system costs were still high, and the installation capacity of the project affected the cost of investment. Projects with a small installed capacity would have the higher cost (Baht / kWp) than projects with larger installed capacity in accordance with economy of scale. From the evaluation of the worthiness of the investment, it was found that the project would be worthwhile for a residential house that was mainly installed for use in the house or building, while the installation for use in the house and the remaining electric power would be distributed to the electricity authority system would be cost effective for large projects or projects with low investment costs. However, the installation of solar pv panels to distribute electricity to the electricity authority system only was not worth the investment due to the high cost of investment but the purchase rate was low. Therefore, it can be concluded that, the cost of investment, electricity rate, electricity purchase rate, the proportion of production and electricity usage and environmental factors affect the project's return and investment decisions.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70142
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.95
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.95
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187571120.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.