Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70847
Title: อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในการศึกษา กรณีศึกษาผู้จบปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และมหาวิทยาลัยภายในสหรัฐอเมริกา
Other Titles: Rates of return on education : a case study of MBA Graduates from Thai universities and universities in the United States
Authors: วราพรรณ มีเฟื่องศาสตร์
Advisors: พิษเณศ เจษฎาฉัตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ
ต้นทุน
อัตราผลตอบแทน
การศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
ทฤษฎีทุนมนุษย์
การลงทุนทางการศึกษา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลตอบแทน ต้นทุน อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคล และอัตราผลตอบแทนทางสังคมของการลงทุนทางการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจของผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยใน ประเทศและจากสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้จบการศึกษาในประเทศศึกษาเฉพาะผู้จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาศึกษาผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยทั้งที่ติดและไม่ติดอันดับ 1 ใน 20 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ที่ทำงานในธุรกิจการเงินและการธนาคาร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบจำแนกประเภท กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งหมด 392 คน ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลค่าใช้จ่ายของสถาบันการศึกษาในประเทศ ได้มาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากข้อมูลดังกล่าวจึงนำมาคำนวณหาผลตอบแทน ต้นทุน อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคล และอัตราผลตอบแทนทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนทางการศึกษาของผู้จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาสูงกว่าผู้จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศประมาณ 3-4 เท่า โดยผู้ที่จบจากสหรัฐอเมริกามีต้นทุนส่วนบุคคล และต้นทุนทางสังคม เฉลี่ยต่อคนต่อปีเท่ากับ 994,463 บาท และ 1,089,469 บาทตามลำดับ ส่วนผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศมีต้นทุนส่วนบุคคล และต้นทุนทางสังคมเฉลี่ยต่อคนต่อปีเท่ากับ 236,368 บาท และ 362,934 ตามลำดับ สำหรับรายได้เฉพาะที่เป็นผลมาจากการศึกษา ผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1 ใน 20 ของสหรัฐอเมริกามีรายได้ ต่อปีสูงสุด รองลงมาคือผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ติดอันตับ 1 ใน 20 ผู้ที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมื่อนำเอารายได้และต้นทุนมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนแล้วพบว่า อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลและอัตราผลตอบแทนทางสังคมของผู้จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศสูงกว่าผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ติดอันตับ 1 ใน 20 แต่ต่ำกว่าผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ติดอันดับ 1 ใน 20 กล่าวคือ อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลและอัตราผล ตอบแทนทางสังคมของผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศเท่ากับร้อยละ 34.8 และ 29.4 ในขณะที่อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลและอัตราผลตอบแทนทางสังคมของผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ติดอันดับ 1 ใน20 เท่ากับร้อยละ 13.9 และ 15.4 และของผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ติดอันดับ 1 ใน 20 เท่ากับ ร้อยละ 40.1 และ 24.6 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลกับอัตราผลตอบแทนทางสังคมแล้วพบว่า อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลของผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศและผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัย ในสหรัฐอเมริกาที่ติดอันดับ 1 ใน 20 สูงกว่าอัตราผลตอบแทนทางสังคม แต่อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลของผู้ที่ จบจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ติดอันดับ 1 ใน 20 มีค่าใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนทางสังคม
Other Abstract: The objectives of this study are to determine monetary benefits, costs, private and social rate of return of MBA graduates from Thai and U.S. universities. Thai universities are Chulalongkorn University and Thammasat University, while U.S. universities include both top 20 and non-top 20 universities. The sample size of 392 employees was taken from commercial banks and finance companies by the method of stratified random sampling. Institutional costs of Thai universities are obtained from Chulalongkorn University and Thammasat University. Then, monetary benefits, costs, private and social rate of return are estimated. The findings of this study show that the average private and social cost of MBA graduates from U.S. universities are 3-4 times higher than those of MBA graduates from Thai universities. Average private and social cost of U.S. university graduates are 994,463 and 1,089,469 Baht per year, while those of Thai university graduates are 236,368 and 362,934 Baht per year. Graduates from top 20 U.S. universities receive the highest income, followed by graduates from non-top 20 U.S. universities, Chulalongkorn University, and Thammasat University, respectively. However, the cost-benefit analysis shows that private and social rate of return of Thai university graduates (34.8% and 29.4%) are much higher than those of non-top 20 U.S. university graduates (13.9 % and 15.4%), but are lower than those of top 20 U.S. university graduates (40.1% and 24.6%). Private rate of return of Thai university graduates and top 20 U.S. university graduates are higher than their social rates of return, while private and social rate of return of non-top 20 U.S. university graduates are almost the same.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70847
ISBN: 9743320822
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varapan_me_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Varapan_me_ch1_p.pdfบทที่ 1908.87 kBAdobe PDFView/Open
Varapan_me_ch2_p.pdfบทที่ 21.21 MBAdobe PDFView/Open
Varapan_me_ch3_p.pdfบทที่ 31.29 MBAdobe PDFView/Open
Varapan_me_ch4_p.pdfบทที่ 42.77 MBAdobe PDFView/Open
Varapan_me_ch5_p.pdfบทที่ 5934.02 kBAdobe PDFView/Open
Varapan_me_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก918.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.