Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70858
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารัต เกษตรทัต-
dc.contributor.advisorนรินทร์ วรวุฒิ-
dc.contributor.authorวรางคณา สุขป้อม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-23T02:06:29Z-
dc.date.available2020-11-23T02:06:29Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746395793-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70858-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ก่อนออกจากโรงพยาบาล รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อความรู้ของผู้ป่วย หรือประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะ ได้รับจากบริการนี้ เริ่มดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 ถึง เดือนมิถุนายน 2541 ที่แผนกอายุรกรรม และแผนกสูตินริเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยออกแบบเปรียบเทียบผลระหว่าง ผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับคำปรึกษา แนะนำการใช้ยาจำนวน 38 ราย กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับคำปรึกษาแนะนำการใช้ยาจำนวน 37 ราย การประเมินผลใช้วิธีสัมภาษณ์ เมื่อผู้ป่วยกลับเข้ามารับการตรวจรักษาต่อ ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลลักษณะทางประชากรชนิดของโรคมะเร็ง และแบบแผนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการ ดำเนินงานพบว่า หลังจากได้รับคำปรึกษาแนะนำการใช้ยา ความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดที่ได้รับในการรักษา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเฉพาะความรู้เรื่องอาการไม่พึ่งประสงค์หลักของยา (Major adverse reactions) และวิธีการดูแลตนเองเพื่อแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดจากยาเคมี บำบัดที่ได้รับในการรักษา พบปัญหาการไม่ใช้ยาตามสั่งน้อยลง การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาโดยเฉพาะยา เคมีบำบัด พบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา ปัจจัยใน เรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับความรุนแรงของโรค จำนวนครั้งของการได้รับยา และความคิดเห็นของผู้ป่วยต่อความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์จากยา ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับ ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำปรึกษาเรื่องยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพอใจ และเห็นว่าการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยาเป็นบริการที่มีประโยชน์ สมควรให้มีการดำเนินต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study the results of discharge medication counseling in oncology patients as well as to determine factors that affected the knowledge of patients and benefits that patients received from being counseled. The study was performed during January. 1998 to June, 1998 at Department of Internal Medicine and Department of Obstetrics and Gynecology, Chulalongkorn Hospital. It was designed to study between two patient groups , 38 patients who received medication counseling before discharged from the hospital compared with 37 patients in control group who did not receive counseling. Measurement of outcome was done by interviewing patients after follow-up. Demographic data, cancer types and chemotherapy treatment regimen were not statistically different between these two groups (p>0.05). It was found that the knowledge about chemotherapeutic agents in study group were increased significantly (p<0.05) when compared to control group , especially the knowledge about major adverse reactions as well as knowledge about patient’s self-care in managing or preventing these reactions. Medication non-compliance were decreased in study group whereas adverse reactions were not difference. The factors about sex, age, education, severity of the disease 1 number of course of chemotherapy and patient’s opinion on seventy of adverse reactions of the patient were not statistically associated with this pharmacist’s counseling program. Patients thought that this program was useful and should be performed continuously.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectมะเร็ง -- ผู้ป่วย-
dc.subjectการใช้ยา-
dc.subjectการให้คำปรึกษา-
dc.subjectการรักษาด้วยยา-
dc.titleการให้บริการแนะนำปรึกษาเรื่องยาแก่ผู้ป่วยมะเร็งก่อนออกจากโรงพยาบาล ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์-
dc.title.alternativeDischarge nedication counseling for oncology patients at Chulalongkorn Hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมโรงพยาบาลและคลินิก-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warangcana_su_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ949.75 kBAdobe PDFView/Open
Warangcana_su_ch1_p.pdfบทที่ 1836.41 kBAdobe PDFView/Open
Warangcana_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.36 MBAdobe PDFView/Open
Warangcana_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.08 MBAdobe PDFView/Open
Warangcana_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.77 MBAdobe PDFView/Open
Warangcana_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.14 MBAdobe PDFView/Open
Warangcana_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.