Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71030
Title: การย่อยสลายทางชีวภาพของพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน โดยแบคทีเรียที่ออกซิไดส์อะซีแนพธิลีน
Other Titles: Biodegradation of polycyclic aromatic hydrocarbons by acenaphthylene-oxidizing bacteria
Authors: ศรัลยา แพงไตร
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: การย่อยสลายทางชีวภาพ
โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
อะซีแนพธิลีน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบคทีเรียสายพันธุ CU-A1 ซึ่งสามารถย่อยสลายอะซีแนพธิลีน แยกได้จากตัวอย่างดินที่ ปนเปื้อนนํ้ามันเครื่อง ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อนำมาจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานตามลักษณะฟีโนไทป์ ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับเบสของ 16 เอสไรโบโซมัลดีเอ็นเอ พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ CU-A1 เป็นแบคทีเรียในสกุล Rhizobium ซึ่งเป็นการพบครั้งแรกสำหรับเชื้อแบคทีเรีย Rhizobium ที่สามารถย่อยสลายอะซีแนพธิลีนได้และให้ชื่อเป็น Rhizobium sp. สายพันธุ CU-A1 แบคทีเรียสายพันธุนี้สามารถย่อยสลายอะซีแนพธิลีนในอาหารเหลว CFMM จากปริมาณเริ่มต้น 600 มก.ต่อลิตร จนไม่สามารถตรวจวัดได้โดยวิธีไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟีหลังการเลี้ยงเชื้อ 3 วัน และเมื่อแปรผันความเข้มข้นของอะซีแนพธิลีนที่ 300, 600 และ 900 มก.ต่อลิตร พบว่าเชื้อสามารถเจริญได้ โดยมีการเพิ่มจำนวนและย่อยสลายอะซีแนพธิลีนจนไม่สามารถตรวจหาได้ภายในเวลา 2 วัน, 3 วัน และ 4 วัน ตามลำดับ การศึกษาผลของสารลดแรงตึงผิวทวีน 80 ต่อรูปแบบการเจริญของเชื้อ พบว่าทวีน 80 ที่ความเข้มข้น 0.05 % สามารถเพิ่มอัตราการเจริญและการย่อยสลายอะซีแนพธิลีนได้เร็วขึ้นกว่าไม่มีการเติมสารนี้ เมื่อเติมทวีน 80 เชื้อสามารถย่อยสลายอะซีแนพธิลีนจาก 600 มก. ต่อลิตร จนไม่ลามารถตรวจวัดได้ในวันที่ 2 ของการเลี้ยงเชื้อ ขณะที่เมื่อไม่มีการเติมทวีน 80 อะซีแนพธิลีนถูกย่อยสลาย1ไปเพียง 30 % นอกจากนี้ Rhizobium sp. สายพันธุ CU-A1 สามารถย่อยสลายสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น คือ แนพธาลีนได้และสามารถย่อยสลาย ฟีแนนทรีน ฟลูออรีน และอะชีแนพธีน ได้เมื่อมีอะซีแนพธิลีนรวมอยู่ในอาหารเหลว โดยย่อยสลายฟีเแนนทรีน ฟลูออรีน และอะซีแนพธีน จนไม่สามารถตรวจวัดได้ภายในเวลา 7 วันของการเลี้ยงเชื้อ จากการตรวจสอบด้วยวิธีธินแลย์โครมาโตกราฟี พบว่ามีสารมัธยันต์เกิดขึ้นหลายชนิดระหว่างการย่อยสลายอะซีแนพธิลีนโดยเชื้อนี้ และเมื่อนำมาทำให้บริสุทธิ์บางส่วนโดยซิลิกาเจลคอลัมน์โครมาโตกราฟี ได้สารมัธยันต์ในส่วนที่ชะด้วย 0 % เอทธิลอะซีเตตในเฮกเซน
Other Abstract: A bacterial strain capable of oxidizing acenaphthylene was isolated from petroleum-contaminated soil sample collected from Bangkok. Conventional enrichment culture technique was employed for the isolation by the use of acenaphthylene as sole source of carbon and energy. Phenotypic characterization along with 16S ribosomal DNA sequence analysis indicated that the potent acenaphthylene degrader belongs to genus Rhizobium. This was the first finding that Rhizobium sp. can degrade the PAH, acenaphthylene. Therefore it was designated as Rhizobium sp. strain CU-A1. The organism used up the supplemented acenaphthylene (600 mg/l of CFMM) on the third day of cultivation as determined by high performance liquid chromatography. Cultivation of the organism in culture medium supplemented with 300, 600 and 900 mg/l acenaphthylene, the organism could utilize acenaphthylene down to undetectable amount within 2, 3, and 4 days, respectively. The degradation of acenaphthylene by Rhizobium sp. strain CU-A1 was enhanced by the non-ionic surfactant tween 80. After 2 days of cultivation, 100 % of the initial amount of acenaphthylene (600 mg/l) was degraded เท the presence of tween 80 (0.05 %) as opposed to 30 % without this synthetic surfactant. เท addition to acenaphthylene, the organism could also use naphthalene as both carbon and energy sources, whereas phenanthrene, fluorene and acenaphthene were only cometabolized. During cometabolism, the strain used up phenanthrene, fluorene and acenaphthene (100 mg/l) on the seventh day of cultivation. As the growth progress เท the presence of acenaphthylene, several metabolites could be detected via thin layer chromatography and were further purified by using silica gel column chromatography.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71030
ISBN: 9743466479
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranya_ph_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ848.22 kBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_ch1_p.pdfบทที่ 1672.14 kBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_ch2_p.pdfบทที่ 21.42 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_ch3_p.pdfบทที่ 3906.21 kBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_ch4_p.pdfบทที่ 41.76 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_ch5_p.pdfบทที่ 5778.98 kBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_ch6_p.pdfบทที่ 6608.31 kBAdobe PDFView/Open
Saranya_ph_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก959.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.