Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71117
Title: สภาพปัจจุบันและการคาดหวังด้านที่อยู่อาศัย ของพนักงานต้อนรับสายการบินไทย
Other Titles: Current housing situation and expectation of Thai Cabin Crew
Authors: พีระพงษ์ มูรพันธ์
Advisors: สุปรีชา หิรัญโร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Supreecha.H@chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย
การประเมินความต้องการจำเป็น
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
Dwellings ; Housing
Needs assessment
Flight attendants
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงสภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน โดยการศึกษาถึงบุคลิกภาพประสบการณ์ การเรียนรู้ การใช้จ่าย พฤติกรรมดำเนินชีวิต และความคาดหวังในด้านที่อยู่อาศัยของพนักงาน ต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินไทย โดยจัดแบ่งประชากรออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อทำความเข้าใจกับลักษณะเฉพาะกลุ่ม คือ กลุ่มช่วงอายุ 20-29 ปี กลุ่มช่วงอายุ 30-39 ปี และกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปจนถึงเกษียณอายุ ว่ามีสภาพ ความเป็นอยู่และการคาดหวังด้านที่อยู่อาศัยอย่างไร ผลการวิจัย พบว่า เพศชายช่วงอายุ 20-29 ปี ประสบการณ์ทำงานและอิทธิพลของกลุ่มอาชีพมีอิทธิพล ต่อการดำเนินชีวิต การปรึกษาหารือกับบิดา-มารดาในเรื่องที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ อันเนื่องมาจากอยู่ในสถานภาพโสดเป็นส่วนใหญ่ มีการคิดตระเตรียมความพรัอมเรื่องที่อยู่อาศัยในอนาคต บ้านเดี่ยวเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นทั้งเป้าหมายของชีวิตซึ่งเหมาะสมกับการทำงานทั้งปัจจุบันและในอนาคต คอนโดมิเนียมจะเป็นที่อยู่อาศัยที่มีความ เหมาะสมรองลงมา การวางแผนด้านการเงินจะใช้จ่ายในรูปเงินสดและบัตรเครดิต มีความตั้งใจที่จะรับผิดชอบด้าน การเงินเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยด้วยตนเอง พนักงานหญิงช่วงอายุ 20-29 ปี ประสบการณ์ทำงานมีอิทธิพลต่อการดำเนิน ชีวิต คนในกลุ่มอาชีพเดียวกันมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตบ้าง บุคคลในครอบครัวมีบทบาททั้งให้คำปรึกษา จัดหางบประมาณ ประสานงานในเรื่องที่อยู่อาศัยตามลักษณะของเพศหญิง การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยเพื่อ การมีชีวิตสมรส บ้านเดี่ยวเป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับการทำงานและการคาดหวังในอนาคต มีปัญหาการจราจร เช่นเดียวกับเพศชาย พนักงานชายและพนักงานหญิงช่วงอายุ 30-39 ปี พนักงานชายให้ความสำคัญกับรสนิยมจากประสบการณ์การทำงานสูงขึ้น สำหรับพนักงานหญิงลดความสำคัญลง บุคคลในครอบครัวมีบทบาททั้งให้คำปรึกษา จัดหางบประมาณ ประสานงานในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากเป็นวัยซึ่งสัมผัสกับสภาพความเป็นจริงของชีวิตบ้านเดี่ยวเป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับการทำงานและเป็นเป้าหมายหลักฐานของชีวิตปัจจุบันและอนาคต การใช้จ่าย โดยเงินสดและบัตรเครดิต มีการช่วยกันระหว่างคู่ชีวิตในด้านการเงินสำหรับที่อยู่อาศัย พนักงานชายและพนักงานหญิงช่วงอายุ40ปีขึ้นไป มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องของรสนิยม การนำเอาประสบการณ์จากการทำงาน มาใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนอิทธิพลของกลุ่มอาชีพ พนักงานชายจะมีสูงมากขึ้น ในขณะที่พนักงานหญิงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก แต่ให้ความสนใจกับปัจจัยส่วนบุคคลมากขึ้น ที่อยู่อาศัยมีความสำคัญต่อ ครอบครัวมาก บ้านเดี่ยวยังคงเป็นความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตของประชากรช่วงอายุนี้ทั้งชาย-หญิงการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันใช้ในรูปเงินสดและบัตรเครดิต ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาในการทำงานในทุก ช่วงวัยทั้งชายและหญิง
Other Abstract: This research is conducted to understand the Thai cabin crews about how their current living conditions are and what they expect about housing in the future. In order to understand such questions, the research studies various factors from former and current living conditions personalities and work expectations about housing. To be able to understand these factors clearly, the population of Thai cabin crews and divided into three groups which are group of age between 20- 29 years, 30-39 years, and 40 years up to the retirement age. This classification by age is made to understand each particular group's characteristics in more depth so that the ultimate goals, are reasonably explained. The result from the study reveals that, the living styles of males and females aged between 20-29 years are influenced by colleagues and work experiences. Moreover they often consult with their parents about housing as most of them are single and preparing to buy themselves residence unit (ร). single house is mostly targeted in both recent and future as it is appropriated to their works following by condominium. Their financial or spending habits are in forms of each and credit cards payments. They agree traffic congestion is their serious problems in their life. Males and females aged between 30-39 years, nevertheless, give the important role to the (living) taste gained from higher work experiences. Family members play the major role of consulting, financing, and coordinating with serious responsibilities as single house is chosen as similar to those mentioned groups. The rest factors are the same. For the group aged 40 years and above, there is a big difference between males and females which is, both (living) taste gained from high work experiences and colleagues do influence males but not females. Apart from this difference, single house is most wanted in both current and future spending habits and their thought of traffic congestion are the same as mentioned in the groups above.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71117
ISSN: 9746373668
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerapong_mo_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ470.99 kBAdobe PDFView/Open
Peerapong_mo_ch1.pdfบทที่ 1260.81 kBAdobe PDFView/Open
Peerapong_mo_ch2.pdfบทที่ 21.13 MBAdobe PDFView/Open
Peerapong_mo_ch3.pdfบทที่ 3253.62 kBAdobe PDFView/Open
Peerapong_mo_ch4.pdfบทที่ 42.83 MBAdobe PDFView/Open
Peerapong_mo_ch5.pdfบทที่ 5504.04 kBAdobe PDFView/Open
Peerapong_mo_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก869.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.