Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71203
Title: แบบจำลองการบริโภคเชื้อเพลิงและมลภาวะจากรถยนต์
Other Titles: Vehicle's fuel consumption and emission model
Authors: สมพร ตันติวงศ์ไพศาล
Advisors: คณิต วัฒนวิเชียร
ชินเทพ เพ็ญชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fmecby@eng.chula.ac.th
fmekwt@eng.chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ -- การใช้เชื้อเพลิง
รถยนต์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
Motor vehicles -- Pollution control devices
Automobiles -- Environmental aspects
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบบจำลองการบริโภคเชื้อเพลงและมลภาวะจากรถยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ ทำการทำนายผลการบริโภคเชื้อเพลิง และมลภาวะที่ได้จากรถยนต์ เมื่อรถยนต์ถูกขับขี่ตามรูปแบบการขับขี่ที่เลือก เพื่อความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ในการพิจารณาตัดสินใจ หรือในการพัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปใช้กันรถยนต์รุ่นใดๆ โดยไม่ต้องนำเครื่องยนต์ไปติดตั้งในรถยนต์นั้นและ/หรือนำรถยนต์นั้นไปทดสอบบนแชสซิสไดนาโมมิเตอร์ แนบจำลองได้นำสมการแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของรถยนต์และความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบของเครื่องยนต์กับความเร็วของรถยนต์และใส่เงื่อนไขการขับขี่รถยนต์ให้เหมือนการขับขี่รถยนต์จริง มาสร้างเป็นแบบจำลอง โดยใช้ภาษาฟอร์แทรน 77 ทำ งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่น 486-DX2 66 MHz.มี RAM 8 เมกกะไบต์ และใช้ทฤษฎีการถดถอยหลายเชิงแบบ เชิงเส้น (Multiple Linear Regression Method) เป็นทฤษฎีประมาณค่า แบบจำลองการบริโภคเชื้อเพลิงและมลภาวะจากรถยนต์ (Vehicle’s Fuel Consumption and Emissions Model, V.F.C.E. Model) มีข้อมูลป้อนเข้าประกอบด้วยข้อมูลจากการทดสอบเครื่องยนต์แบบคงตัว (steady State Performance and Emissions Map) โดยใช้เครื่องยนต์ของโตโยต้ารุ่น4A-FE, ข้อมูลจำเพาะทางพลศาสตร์ของรถยนต์ โดยใช้รถยนต์โตโยต้ารุ่น โคโรลล่า ปี 1995 และรูปแบบมาตรฐานการขับขี่ สำหรับงานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการขับขี่ตาม มอก.1280-2538 ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลคือ ความเร็วรอบเครื่องยนต์ (NE), ความดันสัมบูรณ์ท่อร่วมไอดี (MAP), อัตราการบริโภคเชื้อเหลิง (FC) และอัตราการเกิดมลภาวะต่าง ๆ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ,และไฮโดรคาร์บอน (HC) และปริมาณการบริโภคเชื้อเพลิง และปริมาณมลภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดการขับขี่ตามรูปแบบการขับขี่ โดยนำค่าความเร็วรอบและความดันสัมบูรณ์ท่อร่วมไอดีที่ประมวลผลจากแบบจำลองมาเปรียบเทียบกันข้อมูล (ความเร็วรอบและความดันสัมบูรณ์ท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์) ที่ได้จากการทดสอบรถยนต์จริงบนแท่นทดสอบแชสซิสไดนาโมมิเตอร์ ข้อมูลการวัดค่าความดันสัมบูรณ์ท่อร่วมไอดีและความเร็วรอบรองเครื่องยนต์จากการทดสอบรถยนต์จริงและข้อมูลจากการทดสอบเครื่องยนต์แบนคงตัว ได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้าแบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนรองแบบจำลอง อัน เนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนของการควบคุมความเร็วรถยนต์ตามแบบจำลอง จากการเปรียบเทียบผลที่ได้ พบว่าการทำนายค่าสะสมการบริโภคเชื้อเหลิงของรถยนต์มีค่าคลาดเคลื่อนกัน0.4เปอร์เซ็นต์,ค่าสะสมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าคลาดเคลื่อนกัน 0.8 เปอร์เซ็นต์และค่าสะสมปริมาณคาร์บอนมอนนอกไซด์มีค่าคลาดเคลื่อนกัน 1.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าสะสม ปริมาณไฮโดรคาร์บอนจากรถยนต์มีค่าคลาดเคลื่อนสูงถึง 8.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุของความคลาดเคลื่อนเกิดจาก ลักษณะ การขับขี่รถยนต์ของผู้ขับขี่ (Human Error) ลักษณะไม่คงตัวรองการทำงานของเครื่องยนต์ในรถยนต์ (Transient Conditions) ความคลาดเคลื่อนจากเทคนิคการประมาณค่าของการถดถอยหลายเชิงแบนเชิงเส้น การเลือกขนาดความกว้างของช่วงข้อมูลตาข่ายของเครื่องยนต์ที่ไม่เหมาะสม และสมมติฐานของที่ใช้ในแบบจำลองไม่เหมาะสมเพียงพอ
Other Abstract: The Vehicle’s Fuel Consumption and Emissions Model (V.F.C.E. Model) is developed to predicta vehicle fuel consumption and emissions, while it Ls driving along a selecting driving pattern on a chassis dynamometer. Modeling give an easier, faster and saver preliminary information of a suitable engine- vehicle matching for consideration. The Vehicle’s Fuel Consumption and Emission Model is written in FORTRAN 77 using automotive mechanics relations and a multiple linear regression method together with a set of driving assumption to estimate a set of result on a personal computer 486 DX2 66 MHz., 8 Mbytes RAM. The model’s input data consist of steady state performance and emission maps (TOYOTA 4A- FE), specific vehicle information (TOYOTA COROLLA 1995) and a driving pattern (T1S. 1280-2538). The output are flow rate at each time and accumulated fuel consumption and emissions ; carbondioxide, carbonmonoxide and hydrocarbon. The comparison has been considered between output data from modeling that uses the driving pattern as the input data and that uses the experimental data from vehicle testing, the engine spee d and manifold pressure, as the input data. The errors from simulation of fuel consumption is 0.4 percents and carbondioxide is 0.8 percents and carbonmonoxide is 1.2 percents and the model gives high error of hydrocarbon 8.4 percents. The causes of these errors come from human error in controlling vehicle speed along the driving pattern, transient engine characteristics, error from Multiple Linear Regression Techniques, the use of unsuitable interval of engine grid data, and the use of insufficient assumption conditions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71203
ISSN: 9746389424
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_ta_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ663.34 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_ch1.pdfบทที่ 1152.2 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_ch2.pdfบทที่ 2709.75 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_ch3.pdfบทที่ 3918.33 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_ch4.pdfบทที่ 4404.86 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_ch5.pdfบทที่ 51.37 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_ch6.pdfบทที่ 62.18 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ta_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก12.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.