Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7153
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมือง-
dc.contributor.authorพรเทพ มนตร์วัชรินทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไืทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2008-06-02T02:19:00Z-
dc.date.available2008-06-02T02:19:00Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745312649-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7153-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความต้องการด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ตลอดจนนำเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและความต้องการด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากผู้สูงอายุที่ได้รับการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และหาค่าความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ส่วนการนำเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตที่ผู้สูงอายุรับรู้ว่าอยู่ในระดับดีมี 1 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม ระดับปานกลาง 4 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สุขภาพอนามัย และสังคม ส่วนคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับพอใช้ 2. ผู้สูงอายุมีความต้องการด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คุณธรรม สติปัญญา และสังคม ในระดับปานกลาง ขณะที่ความต้องการด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับน้อย 3. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังต่างกันด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพักอาศัย เขตที่อยู่อาศัยภาวะพึ่งพา โรคประจำตัว หลักประกันสุขภาพ และการเป็นสมาชิกชมรมผู้อายุ 4. ผลการเปรียบเทียบความต้องการด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังต่างกันด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพักอาศัย เขตที่อยู่อาศัย ภาวะพึ่งพา และการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 5. ผู้สูงอายุที่ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตว่าควรจัดกิจกรรมด้านข่าวสารข้อมูลมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ กิจกรรมด้านการฝึกทักษะ และกิจกรรมด้านความรู้พื้นฐาน ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการข่าวสารข้อมูลเพื่อทันโลก ทันเหตุการณ์และนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพชีวิตด้านสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สติปัญญา คุณธรรม และสังคมen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to survey and compare quality of life and educational needs for enhancing quality of life as well as to propose educational guidelines for enhancing quality of life of the elderly in Bangkok Metropolis. A survey using questionnaire was employed to 450 elderly selected as samples. SPSS program was utilized to analyze the collected data using percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA and scheffe, test. A focus group discussion was also organized to collect data concerning educational guidelines. The research findings were as follows: 1. The elderly perceived that moral was the only dimension of quality of life that was at good level. Four dimensions of quality of life; namely, intelligence, physical environment, health, and social, were at moderate level. As for economic, it was perceived as fair. 2. Education that the elderly indicated they moderately needed were those which would enhance their health, physical environment, moral, intelligence, and social while they rarely needed education on economic. 3. There were statistically significant differences at 0.05 level between quality of lives of the elderly with different sexes, ages, educational levels, marital status, income, household ownership, resident areas, dependencies, personal health, having health insurance, and being member of the elderly clubs. 4. Comparison of needs for education to enhance quality of life showed statistically significant differences at 0.05 level between the elderly with different sexes, ages, marital status, income, household ownership, resident areas, dependencies, and being member of the elderly clubs. 5. The elderly participating in a focus group discussion suggested that they preferred to have information as educational activities rather than skill training and academic knowledge. Most of them gave reason that information concerning health, physical environment, intelligence, economic, moral, and social dimensions of quality of life would be useful for their daily lives.en
dc.format.extent1999365 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.880-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคุณภาพชีวิตen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การศึกษาen
dc.titleการสำรวจคุณภาพชีวิต และความต้องการด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA survey of quality of life and educational needs for enhancing quality of life of the elderly in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchanita.r@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.880-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
porntep.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.