Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71558
Title: | การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติในประเทศไทย |
Other Titles: | Development of the model for the International University of Buddhist Monks in Thailand |
Authors: | อำนาจ บัวศิริ |
Advisors: | พรชุลี อาชวอำรุง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | มหาวิทยาลัยสงฆ์ การศึกษาทางพุทธศาสนา การศึกษานานาชาติ สันติภาพ |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย โดยใช้กระบวนการวิจัยอนาคตปริทัศน์เป็นการวิจัยพื้นฐานเชิงธรรมชาติมีการสืบค้นเอกสารทุกประเภทรายงาน สังเกต สัมภาษณ์ จัดประชุมสัมมนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนตรวจสอบความเป็นไปได้โดยอิงผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย มีองค์ประกอบ ดังนี้1. ภาวะการนำ มหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติมีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุด มีกรรมการเป็นพระสงฆ์มากกว่ากรรมการคฤหัสถ์ มีสภาคณาจารย์ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิประโยชน์ของคณาจารย์ที่มาจากหลายชาติ มีสภาวิชาการสนับสนุนงานวิชาการของมหาวิทยาลัย มีอธิการบดีเป็นภิกษุ บริหารงาน ให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย2. หลักการ มหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติมีปรัชญาที่สะท้อนความเป็นนานาชาติ คือ “ปัญญา เป็นแสงสว่างแห่งโลก” มีวัตถุประสงค์และภารกิจเพื่อการศึกษาคนคว้าวิจัย เผยแพร่วิชาการพระพุทธศาลนาของโลก สร้างศาสนทายาททางพระพุทธศาสนา สอนแลกเปลี่ยนและบริการวิชาการแก่สังคม และนานาประเทศ อนุรักษ์ สืบทอดและเสริมสร้างศิลปกรรม อารยธรรมโลก สนับสนุนการสร้างสันติภาพ ให้เกิดขึ้นในโลกมีกฎหมายจัดทั้งสถาบันเป็นของตนเองมีกองทุนมูลนิธิเป็นเจ้าของกิจการมหาวิทยาลัย 3. โปรแกรม เริ่มเปิดหลักสูตรขั้นต้นระดับปริญญาตริ มีวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นวิชาแกน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างองค์ความรู้และศึกษาวิชาการด้านอื่นๆ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองฝึกชีวิตความเป็นนักบวช และสร้างอุดมการณ์ ช่วยเหลือสังคม มีหน่วยบริการนักศึกษาต่างชาติ 4. ทรัพยากร มีอาจารย์ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ที่มาจากหลายประเทศมาปฏิบัติงานร่วมกัน อาจารย์ มีพื้นความรู้ มีความเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาเป็นอย่างดี มีประสบการณ์ระดับนานาชาติ รับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นบางส่วนและจากมูลนิธิเป็นหลัก 5. โครงสร้างภายใน มีการจัดองค์กรบริหารภายใน โดยมีกรรมการคณะต่าง ๆ แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบดำเนินกิจการมหาวิทยาลัยมีกฎระเบียบข้อบังคับภายในเป็นของตนเองการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติไปดำเนินการพบว่า มีความเป็นไปได้ และสามารถปรับปรุงพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์ปัจจุบันให้มีความเป็นนานาชาติได้ พร้อมด้วย์การอภิปรายและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม |
Other Abstract: | The purpose of this study is to propose a model for an International Buddhist Monk University in Thailand by using Future Scanning Research Method. It is also basic naturalistic inquiry, encompassing documentary search, observation, seminars, interviews, forums, data analysis, synthesis! of results and feasibility studies as attested by the connoisseurship model. The results revealed k model of IBMU with the following characteristics. 1. LEADERSHIP : The IBMU is to have a Board of Trustees as the highest executive entity, served by both monk and lay members; a faculty senate to protect the rights and benefits of faculty members from various nations; an Academic Council to support academic endeavors of the university; a monk rector to administer the institution according to university policies. 2. DOCTRINE : The IBMU is to uphold a philosophy reflecting internationalization "Wisdom is the Global Light”. Its purpose and mission are to conduct inquiries, disseminate Buddhism on a global scale, train Buddhist legacies, teach and exchange academic ideas for society and the world, maintain, [transmit and cultivate world civilization and support world peace efforts. The university is to posses its own founding legislation and ownership is to be in form of a foundation. 3. PROGRAM : Initially only undergraduate programs would be offered, with Buddhist studies as the core curriculum, which is to be applied as the basis for the expansion of knowledge in other subject matter. English is the medium of instruction, with self-directed learning methodology inherent in monkshood. Social altruism is to be the motto and a special international student service center is to be established. 4. RESOURCES : Faculty are to be both monks and laypeople from various countries working in union, with the requirements of basic knowledge and beliefs in the religion, coupled with international experiences. Budgets are to be derived from both government and the foundation. 5. INTERNAL STRUCTURE : The internal governance is to compose of various faculty boards, talking charge of various university operations with its own internal rules and regulations. The feasibility study was positive in putting the model to reality by internationalization through improvement and development of the existing monk universities. Discussions were delineated and recommendations were duly offered. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71558 |
ISBN: | 9746337556 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amnaj_bu_front_p.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnaj_bu_ch1_p.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnaj_bu_ch2_p.pdf | 8.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnaj_bu_ch3_p.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnaj_bu_ch4_p.pdf | 9.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnaj_bu_ch5_p.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnaj_bu_back_p.pdf | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.