Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71561
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของครูสตรี ระดับประถมศึกษาของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors influencing the democratic attitude of Bangkok Metropolitan female primary school teachers
Authors: อุราพร บุณยรักษ์
Advisors: สัญญา สัญญาวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ครู -- กิจกรรมทางการเมือง
ครู -- ไทย
ครูประถมศึกษา
วัฒนธรรมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
สตรี -- ไทย
ประชาธิปไตย
ครู -- ทัศนคติ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาของการวิจัยในครั้งนี้ คือ มีปัจจัยสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจประการใดบ้าง ที่มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของครูสตรีระดับประถมศึกษาของกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้มีตัวแปรอิสระ 8 ประการ ได้แก่ อายุ ภูมีลำเนาเดิม ภูมิหลังทางการศึกษา ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา ระดับการศึกษาของสามี ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย และความสนใจและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่วนตัวแปรตาม ได้แก่ ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้แบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูสตรีระดับประถมศึกษาของกรุงเทพมหานคร จำนวน 302 คน ในการพิสูจน์สมมติฐานไข้การทดสอบค่าร้อยละค่าไค-สแควร์และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย กับความสนใจและการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีอิทธิพลในเชิงบวกกับระดับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ อีก 6 ประการ ไม่มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของครูสตรีระดับประถมศึกษาของกรุงเทพมหานคร
Other Abstract: The research problem for this thesis is : what are social and economic factors affecting the democratic attitude of Bangkok Metropolitan female primary school teachers? In this regard, 8 independent variables are stipulated viz age, domicile, educational background, educational level of parents, educational level of husband, economic status, perception toward democracy, political interest and participation, while political attitude in democratic system is the dependent variable. The most significant research tool. were questionnaires collected from 302 female teachers of primary school in Bangkok Metropolitan area. To test the hypotheses, percentage (%), Chi-Square and standard Deviation (S.D.) were utilized to find out the relationship between variables. Statistics importance is stipulated at the level of 0.05. According to the research results, perception toward democracy, and political interest and participation were found positive influence over political attitude in the democratic system, simultaneously, while the other 6 independent variables displayed no effects.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71561
ISBN: 9746344412
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Auraporn_bo_front_p.pdf937.65 kBAdobe PDFView/Open
Auraporn_bo_ch1_p.pdf902.67 kBAdobe PDFView/Open
Auraporn_bo_ch2_p.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Auraporn_bo_ch3_p.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Auraporn_bo_ch4_p.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
Auraporn_bo_ch5_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Auraporn_bo_back_p.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.