Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71796
Title: การผลิตพอลิบีตาไฮดรอกซีบิวทีเรด โดยแบคทีเรียสายพันธุ์ BA-019 ที่แยกได้
Other Titles: Production of Poly-beta-Hydroxybutyrate by an isolate bacterial strain BA-019
Authors: รัตนศิริ มุทิตากุล
Advisors: ส่งศรี กุลปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โพลิเบตาไฮดรอกซีบิวทิเรต
อาหารเลี้ยงเชื้อ Culture media (Biology)
Poly-beta-hydroxybutyrate
Culture media (Biology)
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากจุลินทรีย์จำนวน 30 ชนิด ที่แยกได้จากตัวอย่างต่างๆ พบว่า สายพันธุ์ BA-019 สามารถสร้างและสะสม พอลิบีตาไฮดรอกซีบิวทีเรต (PHB) ได้ปริมาณสูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีน้ำตาลซูโครสปริมาณ 10 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งคาร์บอน โดยได้ปริมาณเท่ากับ 13.21 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักเซลล์แห้งที่เวลา 24 ชั่วโมงของเวลาเลี้ยงเชื้อ จึงเลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์ BA-019 สำหรับการวิจัยต่อไป จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสมบัติทางชีวเคมี เชื้อสายพันธุ์ BA-019 จัดอยู่ในแบคทีเรียกลุ่ม Bacilus จากการตรวจลักษณะโดยวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี (ก๊าซโครมาโตกราฟี อินฟราเรดสเปคตรัม คาร์ฐอน 13 นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปคตรัม โปรตอนนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปคตรัม การวิเคราะห์ธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอน การหาจุดหลอมเหลว การหาอุณหภูมิกลาสทรานซิซันของสารผลิตภัณฑ์ที่สกัดได้จากเชื้อ BA-019 เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน PHB พิสูจน์ได้ว่าสารผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเชื้อBA-019 คือ PHB ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุล (โดยวิธี GPC) เท่ากับ 3.9 x 10(superscript 6) ปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการสร้างและสะสม PHB โดยเชื้อ BA-019 มีดังนี้ ภาวะทางกายภาพ คือ อุณหภูมิเท่ากับ 30 องศาเซลเซียส พีเอชเท่ากับ 6.0 องค์ประกอบของสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อประกอบด้วย สารอาหารหลัก ได้แก่ แหล่งคาร์บอน คือ กากน้ำตาลปริมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) ซึ่งทำให้เชื้อสร้าง PHB ได้เพิ่มขึ้นเป็น 31.84 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักเซลล์แห้งในเวลา 24 ชั่วโมงของการเลี้ยงเชื้อ แหล่งไนโตรเจนคือ แอมโมเนียมซัลเฟตเท่ากับ 1.0 กรัมต่อลิตร โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟตเท่ากับ 2.0 กรัมต่อลิตร ไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟตเท่ากับ 0.6 กรัมต่อลิตร แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรตเท่ากับ 0.2 กรัมต่อลิตร และสารสกัดจากยีสต์ปริมาณ 0.1 กรัมต่อลิตร การเติมสารทวีน 80 ซึ่งเป็นสาร dissociating agent ปริมาณ 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรต่อปริมาตร) ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อมีผลทำให้เชื้อ Ba-019 มีการสร้าง PHB เพิ่มมากขึ้นถึง 47.48 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักเซลล์แห้งที่เวลา 36 ชั่วโมงของการเลี้ยงเชื้อ
Other Abstract: Out of 30 microbial strain isolated from various kinds of samples, strain BA-019 was found to produce and accumulate poly- β-hydroxybutyrate (PHB) in higher amount than those of the other isolates when cultivated for 24 hrs in culture medium containing 10 g/l of sucrose as carbon source, i.e. 13.21 % by cell dry weight. Bacterial strain BA-019 was selected for further studies. Strain BA-019 was identified as Bacillus species from its morphological characteristics and biochemical properties. After characterization of the product extracted from strain BA-019 comparing with that of the authentic PHB by physical and chemical analyses (gas chromatography, IR spectrum, (superscript 13)C-NMR, (superscript 1)H-NMR , elemental analysis of H and C melting point and Tg), the polymer of strain BA-019 was characterized to be PHB with Mw (by GPC) of 3.9x10(superscript 6). The optimal conditions for the formation and accumulation of PHB by strain BA-019 in shake flask cultivation were as follows: temperature 30 degrees celsius, pH 6.0 amount if the major components in MSM medium were as follows : 4% (wt./vol.) of cane molasses as carbon source which enhanced the PHB content up to 31.84% by cell dry weight at 24 hrs of cultivation, 1.0 g/l of (NH(subscript 4) (superscript 2) SO(superscript 4) as nitrogen source, 2.0 g/l of KH(superscript 2)PO(superscript 4), 0.6 g/l of NaH(superscript 2)PO(superscript 4) , 0.2 g/l of MgSO(superscript 4).7H(superscript 2)O, and 0.1 g/l of yeast extract. Addition of 2.5% (vol./vol.) of Tween 80, one of dissociating agents, into the culture medium significantly increased PHB producing by strain BA-019 up to 47.48% by cell dry weight at 36 hrs of cultivation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71796
ISBN: 9746329472
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanasiri_mu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ11.62 MBAdobe PDFView/Open
Rattanasiri_mu_ch1_p.pdfบทที่ 120.65 MBAdobe PDFView/Open
Rattanasiri_mu_ch2_p.pdfบทที่ 220.4 MBAdobe PDFView/Open
Rattanasiri_mu_ch3_p.pdfบทที่ 359.98 MBAdobe PDFView/Open
Rattanasiri_mu_ch4_p.pdfบทที่ 418.05 MBAdobe PDFView/Open
Rattanasiri_mu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก22.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.