Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7181
Title: ผลกระทบของการรบกวนพื้นที่ป่าต่ออินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดินและการสะสมธาตุคาร์บอนบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน
Other Titles: Impacts of forest disturbance on soil organic matter, soil nutrients and carbon sequestration in Nam Wa sub-watershed, Nan province
Authors: พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
Advisors: นันทนา คชเสนี
สมบัติ อยู่เมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: nuntan.g@chula.ac.th
ysombat@chula.ac.th
Subjects: การฟื้นฟูป่า
การอนุรักษ์ป่าไม้
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในอดีตพื้นที่ป่าผลัดใบลุ่มน้ำย่อยน้ำว้าได้ถูกบุกรุกเพื่อประโยชน์ในทางการเกษตร ต่อมาชาวบ้านและองค์การบริหารส่วนตำบลไหล่น่านได้ร่วมมืออนุรักษ์พื้นที่ ทำให้พื้นที่ป่าแห่งนี้มีการทดแทนตามธรรมชาติเป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี แต่อย่างไรก็ตามผลจากการรบกวนพื้นที่ป่าย่อมส่งผลให้ลักษณะทางนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงไป จึงได้ศึกษาถึงผลกระทบของการรบกวนที่เกิดขึ้นต่อปริมาณอินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดิน (ไนโตรเจนรวม, ฟอสฟอรัสรวม, ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้) และการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน การศึกษาสังคมพืชโดยวิธีการสำรวจทางป่าไม้ซึ่งวัดขนาดต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก (DBH) ตั้งแต่ 5.0 ซม. ขึ้นไป และบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ของต้นไม้รายต้น ในพื้นที่ศึกษาขนาด 297.30 เฮกแตร์ ผลการสำรวจ พบต้นไม้จำนวน 272,023 ต้น จำแนกเป็น 39 วงศ์ 92 สกุล 125 ชนิด และไม่สามารถทำการจำแนกได้ 2 ชนิด ข้อมูลดังกล่าวได้นำไปสร้างฐานข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากนั้นทำการจำแนกพื้นที่ศึกษาตามระดับความรุนแรงของการรบกวน โดยใช้ข้อมูลการกระจายของช่วงชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกและรูปแบบการใช้พื้นที่ในอดีต โดยจำแนกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ รุนแรงมาก (สวนเกษตร) รุนแรง (ไร่ร้างที่มีการทดแทนประมาณ 15 ปี) ปานกลาง (มีการตัดต้นไม้ออกจำนวนมากและมีการทดแทนประมาณ 15 ปี) น้อย (มีการตัดต้นไม้ออกบางส่วน มีการทดแทนมากกว่า 15 ปี) และน้อยมาก (มีการตัดต้นไม้น้อยมาก) ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของระดับความรุนแรงของการรบกวนต่อโครงสร้างป่าและคุณสมบัติทางเคมีของดิน ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าในพื้นที่ที่มีการรบกวนรุนแรงมากมีค่าความหนาแน่น พื้นที่หน้าตัด มวลชีวภาพเหนือพื้นดินและการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินน้อยที่สุด และในพื้นที่ที่มีการรบกวนน้อยมีค่าดังกล่าวสูงที่สุดและจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าในแต่ระดับความรุนแรงของการรบกวนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ANOVA: P<0.05) ซึ่งสรุปได้ว่าพื้นที่ป่ายังไม่ฟื้นสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ แม้ระยะเวลาผ่านไป 15 ปี ภายใต้การทดแทนตามสภาพธรรมชาติ ขณะที่ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดินภายหลังการรบกวนที่ความลึก 2 ระดับ คือ 0-20 ซม. และ 20-40 ซม. พบว่า คุณสมบัติทางเคมีของดินส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างระดับความรุนแรงของการรบกวน และไม่มีความแตกต่างระหว่าง 2 ระดับความลึก ซึ่งอธิบายได้ว่า หลังจากการฟื้นตัวผ่านไป 15 ปี ปริมาณอินทรีวัตถุและธาตุอาหารในดินของพื้นที่ป่านี้มีการฟื้นสภาพ
Other Abstract: In the past, a deciduous forest in Nam Wa sub-watershed was encroached for agricultural purpose. About 15 years ago, the Lainan people and the local authority have cooperated to conserve this forest area through natural succession process. The disturbance makes some ecological changes. Therefore, the impact of disturbance was studied which carried on soil organic matter, soil nutrients (nitrogen, total phosphorus, available phosphorus, exchangeable potassium,exchangeable calcium, and exchangeable potassium) and carbon sequestration in above-ground biomass. The study of plant community by forest inventory method, which Diameter at Breast Height (DBH) [is more than or equal to] 5.0 cm of individual tree was measured and recorded location by Global Positioning System (GPS). From the study area of 297.30 ha, 272,023 trees were identified into 39 families, 92 genera and 125 species and 2 unknown species. The data were used to construct the data base by Geographic Information System (GIS). After that, the selected plots, according to the degree of disturbance, were assigned by the size class distribution and historical land-use pattern. The degree of disturbance was classified into 5 levels as follows; very high (orchard); high(abandoned crop field after 15 years of natural succession); medium (most trees were logged before 15 years of the succession), low (some trees were logged before 15 years of the succession); and very low (small number of trees were logged), in order to study the impacts on forest structure and soil chemical properties. The results indicate that the density, basal area, above-ground biomass is the lowest in the very high disturbance area and the highest in the low disturbance area. The statistical analysis show the significant difference between each of the disturbance level(ANOVA: P<0.05). It reveals that the disturbed forest areas have not recovered to be primary forest after 15 years of natural succession. The results of soil chemical properties at two soil depths: 0-20 cm and 20-40 cm show that most of the soil chemical properties have no significant differencebetween each of the disturbance level as well as between two soil depths. It means that, soilorganic matter and soil nutrients are recovered after 15 years of forest succession.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7181
ISBN: 9745313459
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongchai.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.