Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71879
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ ขัมภลิขิต-
dc.contributor.authorกาญจนา วัธนสุนทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-01-21T07:45:45Z-
dc.date.available2021-01-21T07:45:45Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746317849-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71879-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ตัดสินข้อสอบลำเอียงทางเพศด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับดัชนี 4 ตัว คือ พื้นที่ระหว่างโค้งการตอบข้อสอบชนิดคิดเครื่องหมาย (SA) และไม่คิดเครื่องหมาย (UA) จากวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบโมเดล 2 พารามิเตอร์ ดัชนีแอลฟา (CCMH ) จากวิธีแมนเทล-แฮนส์เชล และเบต้า (βsib ) จากวิธี SIBTEST โดยใช้ข้อมูลการตอบข้อสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2535 ในความยาวแบบสอบ 20 30 และ 40 ข้อ สำหรับวิชา คณิตศาสตร์ และ 50 60 70 และ 80 ข้อ สำหรับวิชาภาษาอังกฤษ ใช้กลุ่มผู้สอบ 6 ขนาด คือ 100 200 400 600 800 และ 1,000 คน การพัฒนาเกณฑ์กระทำโดยคำนวณค่าดัชนีทั้ง 4 ตัว จากข้อมูลการตอบข้อสอบของผู้สอบเพศเดียวกัน เพศละ 50 ค่า สำหรับแต่ละความยาวแบบสอบและขนาดผู้สอบ จากนั้นนำค่าดัชนีที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและกำหนดเกณฑ์จากค่าเฉลี่ย 2 ลักษณะ คือ เกณฑ์ที่กำหนดจากค่าเฉลี่ย ซึ่งรวมค่าดัชนีทุกข้อ โดยไม่พิจารณาความแตกต่างในด้านความยาวแบบสอบและขนาดของกลุ่มผู้สอบ และเกณฑ์ที่กำหนด จากค่าเฉลี่ยที่พิจารณาถึงความยาวของแบบสอบและขนาดผู้สอบด้วย จากนั้นนำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปตัดสินค่าดัชนีที่ได้จากการวิเคราะห์ระหว่างผู้สอบเพศหญิงและชาย พบว่าความสอดคล้องของการตัดสินภายในดัชนีเดียวกันมีความไม่คงที่ข้ามขนาดผู้สอบ อย่างไรก็ตามความสอดคล้องมีแนวโน้มสูงขี้น ที่ขนาดผู้สอบตั้งแต่ 600 คนขึ้นไป ข้อค้นพบที่สำคัญจากการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1. เกณฑ์ที่พัฒนาจากข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อใช้ในการตัดสินความลำเอียงของข้อสอบระหว่าง ผู้สอบหญิงและชายคือ (1) ISAI > .80 และ UA > .50 กรณีความยาวแบบสอบต่ำกว่า 50 ข้อ และ (2) ISAI > .40 และ UA > 1.20 กรณีความยาวแบบสอบ 50 ข้อ ขึ้นไป (3) .60 > α MH > 1.40 และ | β SIBI > .06 ทุกความยาวแบบสอบและทุกขนาด ผู้สอบทั้งนี้ควรใช้ขนาดผู้สอบอย่างน้อย 800 คน สำหรับดัชนี SA และ UA และ 600 คน สำหรับดัชนี αMH และ βSIB 2. การตรวจค้นข้อสอบสำเอียงทางเพศมีความไม่คงที่ข้ามขนาดผู้สอบและความยาวแบบสอบ 3. ความสอดคล้องในการตรวจค้นข้อสอบลำเอียงภายในวิธีเดียวกันข้ามขนาดผู้สอบค่อนข้าง ต่ำ แต่จะสูงขึ้นที่ขนาดผู้สอบตั้งแต่ 600 คน ขึ้นไป 4. ข้อสอบลำเอียงวิชาคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ลำเอียงเข้าข้างผู้สอบชายและวิชาภาษาอังกฤษลำเอียงเข้าข้างผู้สอบหญิงเมื่อใช้ดัชนี SA และ αMH แต่ดัชนี βSIB ให้ผลตรงข้าม-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop criteria for detecting sex biased items from empirical data for four statistical indices; signed area (SA) and unsigned area (UA) based on item response theory, 2-parameter model, αMH from Mantel-Haenszel procedure and βSIB from SIBTEST, using the item response data to English and mathematic entrance examination tests to higher education, administered by the Ministry of the University Affairs in 1992. The criteria identifying biased items for each index were developed by calculating arithmetic means of the index values from 100 pairs of examinees of the same sex in each condition of 7 test lengths; 20 30 and 40 items for mathematics and 50 60 70 and 80 items for English, and 6 sizes of examinees; 100 200 400 600 800 and 1,000. Two sets of criteria of each index were set based on the means, with and without regarding to the differences across the test lengths and the sizes of examinees. The major findings were as follows: 1. The criteria developed from the empirical data to detect sex biased items were : (1) I SA I > .80 and UA > .50 for a test with less than 50 items, (2) I SA I > .40 and UA > 1.20 for a test with 50 items and the longer and (3) .60 > αMH > 1.40 and I βSIB I > .06 for all test lengths and examinee sizes. 2. Inconsistency of percentages of biased items across test lengths and examinee sizes was found. 3. Under the same index, inconsistent correspondences of identified biased items across examinee sizes were also found. With 600 examinees and more, however, the higher correspondent rates were met. 4. When SA and αMH were utilized, more than half of biased items in mathematics were biased against female examinees while more than half in English were against male, but βSIB yielded the opposit result.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectข้อสอบ -- ความตรง-
dc.titleการพัฒนาเกณฑ์ตัดสินข้อสอบลำเอียงทางเพศ-
dc.title.alternativeDevelopment of criteria for detecting sex biased items-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjana_wa_front_p.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_wa_ch1_p.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_wa_ch2_p.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_wa_ch3_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_wa_ch4_p.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_wa_ch5_p.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_wa_back_p.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.