Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72163
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ | - |
dc.contributor.advisor | นิรันดร์ แสงสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | อัญญาณี ทิวทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-06T08:44:20Z | - |
dc.date.available | 2021-02-06T08:44:20Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743465227 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72163 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาตัวแปรคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 11 2. เพื่อสร้างสมการถดถอยพหุคูณ ในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน1ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 11 ด้วยตัวแปรด้านการกำกับตนเองในการเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเองทางภาษาอังกฤษ ทัศนคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความวิตกกังวลและเชาวน์อารมณ์ 3. เพื่อหาตัวทำนายที่ดีที่สุดสำหรับทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 11 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2542 โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11 จำนวน 400 คน ผู้วิจัยนำแบบวัดการกำกับตนเองในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทางภาษาอังกฤษ แบบวัดทัศนคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แบบวัดความวิตกกังวล แบบวัดเชาวน์อารมณ์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างประชากรแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และสร้างสมการถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปร เป็นขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรด้านการกำกับตนเองในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การรับรู้ความสามารถของ ตนเองทางภาษาอังกฤษและทัศนคติต่อวิชาภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ความวิตกกังวลและเชาวน์อารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ 2. ตัวแปรที่สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา11 ตัวทำนายที่ดีที่สุดคือทัศนคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ (ATT) รองลงมาคือการรับรู้ ความสามารถของตนเองทางภาษาอังกฤษ (SEF) และเชาวน์อารมณ์ (EMOQ) ตามลำดับ 3. ได้สมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานดังต่อไปนี้ y ' = .04993ATT + .01381SEF - .03284EMOQ + 12.98004 สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน z ' = .18826ATT + .12510SEF - 11582EMOQ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were : 1. To study selected psychological variables relating to learning achievement in English. 2. To construct the prediction of multiple regression equation learning achievement in English with self-regulated learning self-efficacy in English, attitude towards English, achievement motive, anxiety and emotional intelligence. 3. To extract the best predictors of learning achievement in English. The samples comprised of 400 Mathayom Suksa three students in the academic year of 1999 drawn from public schools in the educational region eleven. The research instruments used for data collection were the questionnaires measuring the self-regulated learning in English, the self-efficacy in English, the attitude towards English, the achievement motive, the anxiety, the emotional intelligence and a learning achievement test in English. The obtained data were analyzed by means of Pearson product moment correlation coefficient, multiple correlation and stepwise multiple regression analysis. The results of the study indicated that : 1 Self-regulated learning was positively and significantly correlated with learning achievement in English, (p < 0.01), self-efficacy and attitude was positively and significantly correlated with learning achievement in English, (p < .001), achievement motive was positively with learning achievement in English. Anxiety and emotional intelligence were negatively with learning achievement in English. 2. Variables predicting learning achievement in English of Mathayom Suksa three students in the educational region eleven. The best predictors were attitude towards English, self-efficacy in English and emotional intelligence. 3. The regression equations of raw score and standard score were as follow : y ' = .04993ATT + .01381SEF - .03284EMOQ + 12.98004 z' = .18826ATT + .12510SEF - 11582EMOQ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.subject | การกำกับตนเองในการเรียน | en_US |
dc.subject | ความสามารถในตนเอง | en_US |
dc.subject | แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ | en_US |
dc.subject | ความวิตกกังวล | en_US |
dc.subject | ความฉลาดทางอารมณ์ | en_US |
dc.title | ตัวแปรคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 11 | en_US |
dc.title.alternative | Selected psychological variables relating to learning achievement in English of mathayom suksa three students in the educational region eleven | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anyanee_te_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 878.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anyanee_te_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 875.37 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anyanee_te_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anyanee_te_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anyanee_te_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 736.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anyanee_te_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anyanee_te_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.