Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72188
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นวลน้อย ตรีรัตน์ | - |
dc.contributor.author | กฤษณ์พล เลิศวิชชุหัตถ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-09T09:26:45Z | - |
dc.date.available | 2021-02-09T09:26:45Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.issn | 9746399969 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72188 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการศึกษาผลกระทบของการใช้นโยบายการคลังต่อดุลการค้าในกรณีของประเทศไทย เพื่อ ทดสอบว่าเป็นไปตามแนวความคิดของ Mundell Flemming Approach หรือไม่ โดย Mundell Flemming Approach มีแนวความคิดว่า การขาดดุลของรัฐบาลก่อให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดังนั้นจึงเป็นการทดสอบความสัมพันธ์ในรูป Twin Deficits ในกรณีของประเทศไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังศึกษาถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจากการที่รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว เนื่องจากดุลการคลังในช่วงปี ห.ศ. 2531-39 มีแนวโน้มเกินดุลมาโดยตลอด เป็นผลมาจากการใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว โดยในส่วนของการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว (ขาดดุด) จะศึกษาถึงความแตกต่างของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ จากการที่รัฐบาลเลือกที่จะชดเชยการขาดดุลการคลัง โดยการกู้ยืมจากภายในและภายนอกประเทศ ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของดุลการคลังกับดุลการค้า ในกรณีของประเทศไทยอยู่ในข่ายของ Twin Deficits เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เช่น ฟิลิปปินส์ และตุรกี เป็นต้น แต่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นไม่ค่อยเด่นชัดนัก กล่าวคือ การขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ดุลการค้าที่แท้จริงขาดดุลเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในส่วนของการเปรียบเทียบการใช้นโยบายการคลังของรัฐบาล พบว่าการที่รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบ ขยายตัว ก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจมากกว่าผลเสีย โดยจะเป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ทำให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเพิ่มสูงขึ้น อุปสงค์การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็มีผลเสียคือ ทำให้อุปสงค์การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ดุลการค้ามีแนวโน้มที่เลวลง ยิ่งถ้ารัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวหรือขาดดุลมากยิ่งขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ในส่วนของการชดเชยการขาดดุลของรัฐบาลพบว่า ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับราคามากกว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินแล้ว การชดเชยการขาดดุลโดยการกู้ยืมจากภายนอกประเทศจะทำให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริง อุปสงค์การบริโภค และอุปสงค์การลงทุน เพิ่มขึ้นน้อยกว่ากรณีที่กู้ยืมจากภายในประเทศ ส่วนอุปสงค์การนำเข้าในกรณีที่กู้ยืมจากภายนอกประเทศยังคงมากกว่ากรณีที่กู้ยืมจากภายใน ประเทศ เนื่องจากผลของระดับราคาสินค้า โดยถ้าเป็นการกู้ยืมจากภายในประเทศจะส่งผลทำให้ระดับราคาสินค้าลดลง แต่ถ้าเป็นการกู้ยืมจากภายนอกประเทศจะทำให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นหรือเกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of tills thesis is to study the relationship between fiscal deficit and trade deficit within Mundell Flemming Approach. It is a test of twin deficits in the case of Thailand. This thesis also studies effects of fiscal expansion. Moreover, different ways of financing the budget deficit are also expected to affect the trade balance in different ways. The result shows that an increase in the budget worsens the trade balance slightly. The twin deficits occurred in Thailand are the same as those occurred in the UK, the USA and Developing countries such as the Philippines and Turkey. Fiscal expansion has positive effects more than negative effects. It leads to the expansion of real income, private consumption and private investment. However, demand for import increases too. Therefore, trade balance would be worse. Additionally, the fiscal imbalance will have different effects on trade balance depending on how the deficit is financed : external source or internal source. With assumption that change in price is greater than change in money supply. Trade balance in the case of external borrowing will be worse than in the case of internal borrowing, although the budget deficit financed by domestic source will make economic variables (income, consumption, investment and import) expand more than the case of external borrowing. This is because in the case of external borrowing, inflation is much higher than in the case of internal borrowing. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.133 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นโยบายการคลัง -- ไทย | en_US |
dc.subject | ดุลการค้า -- ไทย | en_US |
dc.subject | ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | Fiscal policy -- Thailand | en_US |
dc.subject | Balance of trade -- Thailand | en_US |
dc.subject | Thailand -- Economic conditions | en_US |
dc.title | ผลกระทบของการใช้นโยบายการคลังต่อดุลการค้า | en_US |
dc.title.alternative | Effects of fiscal policy on trade balance | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nualnoi.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1998.133 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kritsapol_le_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 937.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 890.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 987.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kritsapol_le_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 969.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.