Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7219
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | - |
dc.contributor.advisor | สุรพล ทวนทอง | - |
dc.contributor.author | ยุพดี โถน้อย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-06-09T03:26:55Z | - |
dc.date.available | 2008-06-09T03:26:55Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741771657 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7219 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ ได้ศึกษาถึงการบังคับใช้กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง กรณีการ จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับชาวประมง ซึ่งเป็นมาตรฐานการสำคัญที่รัฐบาลนำมาใช้ป้องกัน และ ปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเถื่อนฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน โดยถือว่าเป็นปัญหา อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีประเภทหนึ่งในอดีต รัฐบาลแก้ไขปัญหา ชาวประมงลักลอบนำน้ำมันเถื่อนเข้าทางทะเล โดยจัดให้มีโครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ ชาวประมงในเขตต่อเนื่อง (โครงการน้ำมันเขียว 1) โดยยกเว้นภาษีทุกประเภท สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ที่จำหน่ายและอนุญาตให้จำหน่ายแก่เรือประมงไทยในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยเท่านั้น จากสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ทะเลภาคใต้ตอนล่าง ช่วงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี โดยเฉพาะเกาะโลซิน ประเทศไทยประกาศเขตต่อเนื่อง โดยยึดถือตามแนวเส้นฐาน ตรงออกไปอีก 12 ไมล์ทะเล ทำให้พื้นที่การจำหน่ายน้ำมันเขียว 1 ดังกล่าวอยู่ห่างจากฝั่งถึง 70-80 ไมล์ทะเล ผู้ประกอบการเรือ Tanker จำหน่ายน้ำมันบริเวณนี้ได้น้อย เรือประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปเติม น้ำมันได้ ส่วนเรือประมงขนาดกลางก็ประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้น หากจะต้องเดินทางไปเติมน้ำมัน เมื่อพิจารณาถึงกฎระเบียบ คำสั่ง ประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง (โครงการน้ำมันเขียว 1) ที่นำเอากฎหมายศุลากากรเป็นกฎหมายแม่บท ในการกำหนดกฎระเบียบ คำสั่ง ประกาศเพื่อยกเว้นภาษีทุกประเภท และยกเว้นคุณสมบัติมาตรฐานบางตัว ของน้ำมันเชื้อเพลิง เพ่อลดต้นทุนการประกอบการ อีกทั้งสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ทะเลภาคใต้ตอนล่าง ก็ใกล้กับประเทศมาเลเซีย ชาวประมงไม่สามารถซื้อน้ำมันตามโครงการที่รัฐจัดให้ในพื้นที่ดังกล่าวได้ จึงหันไปลักลอบนำเข้าน้ำมันเถื่อนแทน และลักลอบนำน้ำมันเขียวออกจากพื้นที่เขตต่อเนื่องมาจำหน่าย ในบริเวณนี้ ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายโครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมง ในเขต ต่อเนื่อง (โครงการน้ำมันเขียว 1) ในพื้นที่ทะเลภาคใต้ตอนล่าง ไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยกำหนดให้มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายการจำหน่ายน้ำมัน สำหรับ ชาวประมงในบริเวณพื้นที่ทะเลภาคใต้ตอนล่าง (โครงการน้ำมันเขียว 2) ที่ไม่เกิดการลักลั่นในการบังคับ ใช้กฎหมายระหว่างโครงการน้ำมันเขียว 1 กับโครงการน้ำมันเขียว 2 และแสวงหามาตรการทางกฎหมายอื่นๆที่เหมาะสม ในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเถื่อนทางทะเล และลักลอบนำน้ำมันเขียวมาขายในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ก็เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ช่วยเหลือธุรกิจภาคประมง ทำให้เงินตราไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ อีกทั้งเป็นการป้องกันและปราบปรามการเอาเปรียบทางการค้าของผู้กระทำความผิด | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis has been studied on law enforcement of fuel oil crime in case of distribution of oil to fishermen in contiguous zone. Such regulation is a significant measure that government has been used to prevent and suppress the oil smuggle on the Gulf of Thai and in Andaman Sea. The oil smuggle has been considered as one of economic crime in tax avoidance. Previously, the government solved the oil smuggle issue by establish The Oil Distribution for Fishermen in Contiguous Zone Project (The Green Oil Project 1); it exempt fuel oil taxes and permit fuel distribution to Thai fisher boat merely in contiguous zone of The Kingdom of Thailand. From the geography of the southern sea around Surattani, Nakornsritammarach, Songkla and Patani especially the Losin Island, due to Thai proclaim the 12 nautica miles contiguous zone from base line, the green oil project area 1 is 70-80 nautica miles away from cost line. On that ground, Tanker distributors cannot sell much oil, small fisher boats cannot go out the zone to fill up the gas, and it is not worth for middle fisher boats to go out for just buying oil. When deliberate on regulations of relevant authorities of the green oil project 1 that use custom laws as a model to exempt all of oil laxes and exclude some of standard qualities of fuel oil to reduce cost of business; moreover, on account of southern territory of Thailand is close to Malaysia, fishermen cannot buy oil in the area which was set up by government, instead, they smuggle the oil from outside and from the green oil project out to sell in the cost sea. Therefore, the enforcing of the green oil project has not succeeded. Hence, this thesis purpose to solve the problem as fore mentioned by determine the measure of law enforcement involving with oil distribution for fishermen on the southern part of Thailand (The Green Oil project 2) and eliminate conflicts of law enforcement between the green oil project 1 and geen oil project 2, Besides, this thesis seeks other appropriate law measures for prevent and suppress the illegal distribution of green oil in the area as mentioned, including exclude oil in the green oil project 2 out o system in order to Reduce diminish economic crime in tax avoidance, support fishermen business, prevent currency leakage also prevent and suppress the commercial exploitation of wrongdoer. | en |
dc.format.extent | 3232618 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1085 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ -- ไทย | en |
dc.subject | น้ำมันเชื้อเพลิง | en |
dc.subject | ชาวประมง | en |
dc.title | การบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง : ศึกษากรณีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง | en |
dc.title.alternative | Law enforcement measures of protection and suppression in respect of oil criminal offences : study in case of disposing of the oil for fisherman in consecutive territory | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.1085 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yupadee.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.