Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72305
Title: การตัดสินใจด้านการจัดการเทคโนโลยีการตัดต่อแบบนอน-ลีเนียร์ ขององค์กรผู้ผลิตรายการโทรทัศน์
Other Titles: Decision making process of non-linear editing technology management in TV production organization
Authors: ทัศนีย์ เจนวิถีสุข
Advisors: สุธี พลพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
รายการโทรทัศน์ -- การตัดต่อ
Television -- Production and direction
Television programs -- Editing
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ และวิธีการจัดการเทคโนโลยีตัดต่อแบบนอน-ลีเนียร์ ขององค์กรผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่มีเครื่องมือเป็นของตนเอง โดยศึกษาจากบุคลากร 2 ระดับ คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติของสถานีโทรทัศน์ บริษัทผู้รับผลิตรายการโทรทัศน์ และบริษัทผู้ให้บริการด้านตัดต่อ การศึกษากระทำโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในรอบแรก เพื่อจัดกลุ่มประชากรและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติขององค์กรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในรอบที่สอง กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การจัดการเทคโนโลยีในองค์กร และระบบและกระบวนการตัดต่อ ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจรับเทคโนโลยีการตัดต่อแบบนอน-ลีเนียร์ของผู้บริหาร องค์กรผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เป็นไปตามกระแสแรงผลักดันของเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนจากระบบอนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอล ประกอบกับนวกรรมของเทคโนโลยีดังกล่าว ต้องการการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยในกระบวนการผลิตเดิมขององค์กร สำหรับการจัดการเทคโนโลยีการตัดต่อแบบนอน-ลีเนียร์ พบว่าองค์กรผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ขาดการเตรียมความพร้อมในการจัดการเทคโนโลยี แต่ก็มีความพยายามในการปรับกระบวนการตัดต่อให้สอดคล้องกับ ระบบปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับเทคโนโลยีใหม่ เพื่อการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปรับเปลี่ยนดังกล่าวขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ รูปแบบรายการ รูปแบบในการเผยแพร่ งบประมาณ และระยะเวลาในการผลิต
Other Abstract: The objectives of the research are to study factors affecting the decision making and management of non-linear editing technology in TV station , production house and video lab. The research is qualitative research , using two methods of gathering data. Firstly the general information of the organizations are serveyed by questionnaire. Secondly the executives and the operators of selected organization are interviewed. The approaches used for studying are technology management in organizations and editing system and process. The results reveal that the decision making of all TV production organizations are affected by the technological force that the analog system has been changed to digital system. In addition to technology force, this technological innovation requires little change in the production process of the organization to be used. For management of technology, the study finds that all organizations lack preparation of technology management. To use technology effectively, however, some organizations try to modify their editing process to be compatible with the new cultural tool. This modification depends on various factors including program format, form of product distribution, budget and time for production.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72305
ISBN: 9746370464
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tatsanee_Je_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ552.03 kBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_ch1_p.pdfบทที่ 1496.27 kBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_ch2_p.pdfบทที่ 21.81 MBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_ch3_p.pdfบทที่ 3497.71 kBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_ch4_p.pdfบทที่ 42.98 MBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_ch5_p.pdfบทที่ 54.56 MBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_ch6_p.pdfบทที่ 61.08 MBAdobe PDFView/Open
Tatsanee_Je_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก921.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.