Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72380
Title: การบำบัดน้ำเสียด้วยฟลูอิไดซ์เบดสามเฟส
Other Titles: Wastewater treatment by three phase fluidized bed
Authors: ไพศาล ปั้นสง่า
Advisors: สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบำบัดน้ำเสีย
ฟลูอิไดซ์เบด
Wastewater
Fluidized bed
Aerobic treatment
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาระบบน้ำเสียทางชีวภาพโดยกระบวนการฟลูอิไดซ์เบคแบบจุลินทรีย์ใช้ออกซิเจน ในการทดลองนี้ใช้อากาศที่มากเกินพอเติมลงในน้ำเสีย เครื่องสร้างด้วยเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) เป็นรูปกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 28 เซนติเมตร สูง 3 เมตร ตัวกลางที่ใช้ในการศึกษามีสองชนิด คือ อิฐ และอิฐผสม เส้นผ่านศุนย์กลางทั้งสองตัวกลางมีขนาดเฉลี่ย 0.42 มิลลิเมตรา บรรจุเม็ดตัวกลางภายในเครื่องและมีอนุภาคเรียงกันสูง 40 เซนติเมตร และ 38 เซนติเมตรตามลำดับ การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยทำการศึกษาเปลี่ยนชนิดตัวกลาง และเปลี่ยนอัตราไหลของน้ำเสียเป็น 0.25, 0.3 , 0.35, 0.4, 4.45 และ 0.6 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงแล้วพิจารณราการทำงานของระบบด้วยประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ในรูปของค่าบีโอดีซึ่งกระบวนการนี้เป็นการรวมตะกอนจุลินทรีย์ทั้งชนิดแขวนลอยและชินดยึดติดกับตัวกลางในการย่อยสลายสารอินทรีย์ จากผลการทดลองพบว่าระบบนี้สามารถนำไปใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียงขั้นสูงได้เนื่องจากมีตะกอนจุลินทรีย์ในเครื่องปฏิกรณ์เป็นเป็นจำนวนมาก พบว่าจุลินทรีย์ที่เกาะบนตัวกลางชินดที่เป็น อิฐ และอิฐผสม มีค่าเฉลี่ยตะกอนจุลินทรีย์ (MLSS) 10584.19 และ 10788.97 มิลลิกรัมต่อลิตร และที่ระยะเวลากักเก็บ (HRT) ของทั้งสองตัวกลาง 40.8 นาทีให้ประสิทธิภาพการลดลงของค่าบีโอดี 93.37 และ 91.77 เปอร์เซ็นต์ ที่ปริมาณบรรทุก15.26 และ 15.04 กิโลกรับมบีโอดี ต่อลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ตามลำดับ ในการศึกษาการเกาะของจุลินทรีย์บนเม็ดตัวกลาง โดยใช้เครื่องสแกนนิงอิล็กตรอนไมโตรสโครป พบว่าจุลินทรีย์ผสมกันระหว่างกลุ่มที่เป็นจุลินทรีย์ลักษณะเส้นใย และกิ่งก้านสั้น จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพของการบำบัดบีโอดีขึ้นกับ ระยะเวลากักเก็บ โดยประสิทธิภาพในการบำบัดบีโอดีจะเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลากักเก็บลดลงและลักษณะเดียวกันประสิทธิภาพการบำบัดบีโอดีเพิ่มขึ้น เมื่อความพรุนของตัวกลางสูงขึ้น
Other Abstract: The aerobic biological wastewater treatment by fluidization technique was performed with excess air supplied. The fluidized bed reactor was fabricated by stainless steel in cylindrical form with diameter 28 cm. and height 300 cm. Two types of media, brick and mixed-brick, having average diameter of 0.42 mm. were fluidized in the column by wastewater and air. Flow rate of wastewater was varied from 0.25 m3/h to 0.6 m3/h In this process, the suspended and immobilized microorganism would digest organic substance in wastewater along the length of column. The efficiency of performance was measured in the form of reduction of BOD5. From the experiment, it was found that it was possible to operate as a high rate process with a large biomass hold up. Biomass concentration in the bed was measures as total attached solid (MLSS), their average values were 10,584.19 and 10.788.97 mg/l for brick and mixed-brick respectively. At hydraulic retention time(HPT) 40.8 min., the efficiencies of BOD5 removal were 93.37% and 91.77% at loading of 15.04 kg BOD5/m3-d for brick and mixed-brick respectively. But the efficiencies of BOD5 removal was proportional inversely with the hydraulic retention time (HRT). Scanning electron microscope confirmed biomass measured consisted of mixture of filamentous and short rods bacterias.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72380
ISBN: 9746373641
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paisan_pa_front_p.pdf950.42 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_pa_ch1_p.pdf356.23 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_pa_ch2_p.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Paisan_pa_ch3_p.pdf810.5 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_pa_ch4_p.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Paisan_pa_ch5_p.pdf400.64 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_pa_back_p.pdf728.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.