Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72414
Title: | การวิเคราะห์คุณวุฒิอาจารย์และประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Analysis of faculty members' qualification and graduates production efficiency in private higher education institutions in Bangkok Metropolis |
Authors: | สุทธิลักษณ์ ธรรมโหร |
Advisors: | นิศา ชูโต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Nisa.X@Chula.ac.th |
Subjects: | อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ไทย บัณฑิต -- ไทย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- ไทย College teachers -- Thailand Private universities and colleges -- Thailand College graduates -- Thailand |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร โดยวิเคราะห์คุณวุฒิของอาจารย์ประจำซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพและความสูญเปล่าในการผลิตประกอบด้วย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยาลัยเกริก และวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ที่ทำงานในช่วงปีการศึกษา 2516-2527 จำนวน 4,786 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทั้ง 5 แห่ง ที่เข้าศึกษารุ่นปีการศึกษา 2516-2520 จำนวน 14,138 คน การวิเคราะห์คุณวุฒิอาจารย์วิเคราะห์จากจำนวนปีที่อาจารย์ได้รับการศึกษา แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติ และเกณฑ์มาตรฐานของทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต ใช้วิธีติดตามนักเรียนแต่ละรุ่นที่เข้าศึกษาจนกระทั่งพ้นสภาพนักศึกษา การวิจัยปรากฎผลดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์คุณวุฒิอาจารย์ 1.1 อาจารย์ของสถาบันอุคมศึกษาเอกชนทุกแห่งที่ทำงานในช่วงปีการศึกษา 2516-2527 ส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรี คือมีมากกว่าร้อยละ 53 ของอาจารย์ทั้งหมด ส่วนอาจารย์วุฒิปริญญาโทมีประมาณร้อยละ 27 ถึง 45 ของอาจารย์ทั้งหมด และอาจารย์วุฒิปริญญาเอกมีประมาณร้อยละ 1 ถึง 4 ของอาจารย์ทั้งหมด 1.2 ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนระดับวุฒิอาจารย์ของวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจสูงกว่าค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนระดับวุฒิของอาจารย์ทั้งหมดซึ่งเป็นเกณฑ์ปกติ ในปีการศึกษา 2520-2524 และ 2526 ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนระดับวุฒิอาจารย์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพสูงกว่าเกณฑ์ปกติในปีการศึกษา 2522 แต่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติในปีการศึกษา 2524, 2526 และ 2527 ค่ามัชฌิมคณิตของคะแนนระดับวุฒิอาจารย์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต่ำกว่าเกณฑ์ปกติในปีการศึกษา 2517-2522 แต่สูงกว่าเกณฑ์ปกติในปีการศึกษา 2527 ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนระดับวุฒิอาจารย์ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์สูงกว่าเกณฑ์ปกติในปีการศึกษา 2524 และค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนระดับวุฒิอาจารย์ของวิทยาลัยเกริกสูงกว่าเกณฑ์ปกติในปีการศึกษา 2527 1.3 ในปีการศึกษา 2527 ทุกสถาบันมีสัดส่วนวุฒิอาจารย์ปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรี แตกต่างกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 กล่าวคือ ทุกสถาบันมีสัดส่วนของอาจารย์วุฒิปริญญาตรีสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีสัดส่วนของอาจารย์วุฒิปริญญาโทและปริญญาเอกต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 1.4 จำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาตรีและปริญญาโทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือปีละ 4 ถึง 13 คน และ 4 ถึง 9 คน ตามลำดับ ส่วนจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้า คือในช่วงเวลา 2 ถึง 5 มี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียง 1 คน 1.5 ในช่วงปีการศึกษา 2516-2527 ทุกสถาบันมีอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ คือ 1 ต่อ 30 เกือบทุกปีการศึกษามีเพียงบางปีการศึกษาเท่านั้นที่อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีการศึกษา 2521, 2522 และ 2527 อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ปีการศึกษา 2516, 2517, 2522 และ 2524 อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปีการศึกษา 2522 อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาของวิทยาลัยเกริก ปีการศึกษา 2516 และ 2527 และอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาของวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2516, 2520, 2522 และ 2527 1.6 ในปีการศึกษา 2527 อาจารย์ทุกสถาบันส่วนใหญ่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 4 ปี กล่าวคือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยาลัยเกริก และวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ มีอาจารย์ที่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 4 ปี ร้อยละ 70, 62, 36, 63 และ 73 ของอาจารย์ทั้งหมด ตามลำดับ และมีอาจารย์ที่มีอายุการทำงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 7, 8, 24. 9 และ 2 ของอาจารย์ทั้งหมด ตามลำดับ 1.7 ในปีการศึกษา 2524 มีอาจารย์ที่ไปอบรม ประชุม และสัมมนา ร้อยละ 4 ถึง 18 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตามลำดับ ในปีการศึกษา 2525 มีอาจารย์ที่ไปอบรม ประชุม และสัมมนาร้อยละ 13 ถึง 22 ของอาจารย์ ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตามลำดับ ในปีการศึกษา 2526 มีอาจารย์ไปอบรม ประชุม และสัมมนา ร้อยละ 16 ถึง 52 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ส่งอาจารย์ไปมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และวิทยาลัยเกริก ตามลำดับ ในปีการศึกษา 2527 มีอาจารย์ไปอบรม ประชุม และสัมมนา ร้อยละ 13 ถึง 57 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ส่งอาจารย์ไปมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยเกริก และวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ตามลำดับ 1.8 ในปีการปีการศึกษา 2523 มีอาจารย์ที่ไปศึกษาต่อร้อยละ 1 ถึง 5 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตามลำดับ ในปีการศึกษา 2524 มีอาจารย์ที่ไปศึกษาต่อร้อยละ 3 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อปริมาณใกล้เคียงกันในปีการศึกษา 2525 มีอาจารย์ที่ไปศึกษาต่อร้อยละ 4 ถึง 7 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ใปศึกษาต่อมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ส่วนมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ไม่ได้ส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อเลย ในปีการศึกษา 2526 มีอาจารย์ที่ไปศึกษาต่อร้อยละ 1 ถึง 3 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อมากที่สุด รองลงมาคือมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ตามลำดับ ในปีการศึกษา 2527 มีอาจารย์ที่ไปศึกษาต่อร้อยละ 1 ถึง 4 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ตามลำดับ 1.9 มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปดูงานยังต่างประเทศในช่วงปีการศึกษา 2525-2527 ร้อยละ 1 ของอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ส่งอาจารย์ไปดูงานในปีการศึกษา 2526-2527 ร้อยละ 7 ถึง 10 ของอาจารย์ทั้งหมด ส่วนมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยไม่ปรากฎว่ามีการส่งอาจารย์ไปดูงาน 2. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต 2. 1 ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยาลัยเกริก และวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ เท่ากับร้อยละ 74.9, 71.9, 75.2, 55.4 และ 86.6 ตามลำดับ 2.2 ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตของคณะบริหารธุรกิจมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 56 ถึง 87 วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจมีประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยเกริก ตามลำดับ 2.3 ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตของคณะบัญชีมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 71 ถึง 86 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตามลำดับ 2. 4 ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตของคณะเศรษฐศาสตร์มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 54 ถึง 76 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีประสิทธิภาพการผลิตบัณทิตมากที่สุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และวิทยาลัยเกริก ตามลำดับ โดยสรุปผลการวิจัยสามารถบอกแนวโน้มได้ว่าคุณวุฒิอาจารย์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับวุฒิอาจารย์และอายุการทำงานในสถาบัน |
Other Abstract: | The purpose of this study is to analyse the faculty members' qualification which is one of the important factors effecting graduates production efficiency of private higher education institutions in Bangkok Metropolis. The population are the 4,786 instructors of Krungthep University, Dhurakijpandit University, The University of the Thai Chamber of Commerce, Krirk College and Assumption Business Administration College. during tie academic years 1973 to 1974, and The 14,138 four-year program graduates of those five institutions during the academic years 1973 to 1977. The faculty members' qualifications are anaysed by their years of education and compared with the norm and official criteria of the University Bureau. While the graduates production efficiency is traced from student cohort. Findings :- 1. An analysis of faculty members' qualification 1.1 Majority of the instructors (over 50 percent) in private higher education institutions during the academic years 1973 to 1984 were the bachelor degree holders, about 27 to 45 percent were the master degree holders, and 1 to 4 percent are the doctorate degree holders. 1.2 During the academic years 1977 to 1981 and 1984, the means of qualification marks of Assumption Business Administration College were significantly more than those off all institutions (norm). Those of Krungthep University were significantly more than the norm in the 1979 academic year, but more than the norm in the academic years1981, 1983 and 1984. Those of The University of the Thai Chamber of Commerce were significantly less than the norm during the academic years 1974 to 1979, but more than the norm in the academic year 1984. Those of Dhurakijpandit University were significantly more than the norm in the academic year 1981. And those of Krirk College were significantly more than the norm in the academic year 1984. 1.3 In the academic year 1984, the proportions of the instructors who hold doctorate, master, and bachelor degrees were significantly different from that of the official criteria of the University Bureau at .01 level. The proportions of the bachelor degree holders of all institutions were higher than the official criteria, but the proportions of the master degree holders and the doctorate degree holders were less than the official criteria. 1.4 The number of the bachelor degree holders and the master degree holders have been increased rapidly, between 4 to 13 and 4 to 9 instructors per year. Cn the other hand, the number of the doctorate degree holders has hardly been increased, only 1 instructor between 2 to 5 years period. 1.5 During the academic years 1973 to 1984, the instructor-student ratios of all institutions ere lower than in official criteria (1:30) except the ratios of Krungthep University in the academic years 1978, 1979, and 1984, the ratios of Dhurakijpandit University in the academic years 1973, 1974, 1979 and 1981, the ratios of The University of the Thai Chamber of Commerce in the academic year 1979, the ratios of Krirk College in the academic years 1973 and 1984, and the ratios of Assumption Business Administration College in the academic years 1973, 1977, 1979, and 1984. 1.6 Majority of the instuctors have less than 4 years experience. The percentages of the instructors of Krungthep University, Dhurakijpandit University, The University of the Thai Chamber of Commerce, Krirk College, and Assumption Business Administration College who have less than 4 years experience were 70, 62, 36, 63, and 73 respectively. And the percentages of the instructors of those institutions who have more than 10 years experience were 7, 8, 24, 9, and 2 respectively. 1.7 In the academic year 1981, there mere 4 to 18 percentages of the instructors sent to participate in the short course training and seminar. The percentage of the instructors of Krungthep University was the highest, while that of Dhurakijpandit University was the lowest. For the 1982 academic year, there were 13 to 22 percentages of the instructors. Sent to participate in the short course training and seminar, the percentages of the instructors of Krungthep University was the highest and that of the University of the Thai Chamber of Commerce was the lowest. For the 1983 academic year, there were 16 to 52 percentages of the instructors sent to participate in the short course training and seminar. The percentage of the instructors of Dhurakijpandit University was the highest and that of Krirk College was the lowest. In the academic year 1984, there were 13 to 57 percentages of the instructors sent to participate in the short course training and seminar. The percentage of the instructors of Dhurakijpendit University was the highest and that of Assumption Business Administration College was the lowest. 1.8 In the academic year 1980, 1 to 5 percentages of the instructors sent to further their studies. The percentage instructors of Krungthep University was the highest while that of The University of the Thai Chamber of Commerce was the lowest. In the academic year 1981, all Krungthep University, Dhurakijpandit University, and The University of the Thai Chamber of Commerce all sent their instructors to further their studies at the rate of 3 percent. For the academic year 1982, there were 4 to 7 percentages of the instructors sent to further their studies. The percentage of the instructors of Krungthep University was the highest, none was sent from Dhurakijpandit University. There were 1 to 3 percentages of the instructors sent further their studies in the academic year 1983. The percentage of the instructors of Krungthep University was the highest and that of Dhurakijpandit University was the lowest. In the academic year 1984, there were 1 to 4 percentages of the instructors sent to further their studies. The percentage of the instructors of Krungthep University was the highest and that of Assumption Business Administration College was the lowest. 1.9 During the academic year of 1982 to 1984, only 1 percentage of the instructors of Krungthep University had been sent for study tour abroad, while 7 to 10 percentages of the instructors of Dhurakijpandit University had been sent during 1983 to 1984, but none from The University of the Thai Chamber of Commerce. 2. Graduates production efficiency 2.1 The graduates production efficiencies of Krungthep University, Dhurakijpandit University, the University of the Thai Chamber of Commerce, Krirk College, and Assumption Business Administration College were 74.9, 71.9, 75.2, 55.4, and 86.6 percent respectively. 2.2 The graduates production efficiency of The Faculty of Business Administration were between 56 to 87 percent. Among the 5 private higher education institutions, the graduates. production efficiency of the Assumption Business Administration College was the highest while that of Krirk College was the lowest. 2.3 Regarding to the field of accounting, the graduates production efficiency was between 71 to 86 percent. Among the 3 institutions, Krungthep University, Dhurakijpandit University, and The University of the Thai Chamber of Commerce, the graduates production efficiency of Dhurakijpandit University was the highest while that of The University of the Thai Chamber of Commerce was the lowest. 2.4 For the field of economics, the graduates production efficiency was between 54 to 76 percent. Among the 3 institutions, Dhurakijpandit University, The University of the Thai Chamber of Commerce, and Krirk College, the graduates production efficiency of Dhurakijpandit University was the highest while that of Krirk College was the lowest. The findings have indicate 5 some relationship of the faculty members' qualification to the graduates production efficiency among the 5 private higher education, institutions especially on years of educations and experience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72414 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.183 |
ISBN: | 9745673714 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.183 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suttilak_th_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suttilak_th_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suttilak_th_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suttilak_th_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 938.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suttilak_th_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suttilak_th_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suttilak_th_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.