Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิ่มใจ วุฒิกุล-
dc.contributor.authorดุษณี ยันต์เจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-03-01T03:09:40Z-
dc.date.available2021-03-01T03:09:40Z-
dc.date.issued2514-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72456-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2514en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใครศึกษาลักษณะและคุณภาพของแบบรียนวิชาหน้าที่พลเมืองสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยสร้างแบบสอบถามครูอาจารย์และนักเรียนที่สอนอยู่ในระดับชั้นดังกล่าวเพื่อจะได้ทราบถึงความเห็นของครูอาจารย์และนักเรียนเกี่ยวกับแบบเรียนหน้าที่พลเมืองที่ใช้อยู่ทางด้านคุณภาพในการจัดทำรูปเล่มเนื้อหาตลอดจนความนิยมของผู้ใช้แบบเรียนนั้นๆผลของการวิจัยจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองให้มีคุณภาพที่สมบูรณ์เพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนได้ใช้หลักวิชาอันถูกต้องและจะได้ทำการสอนให้เป็นไปตามแผนการศึกษาของชาติในอันที่จะชี้ทางให้นักเรียนได้รู้จักปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามครูอาจารย์และนักเรียนใช้ประชากรที่เป็นครู 50 คนและเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 450 คนในโรงเรียน 2 ประเภทคือโรงเรียนรัฐบาล 10 โรงเรียนและโรงเรียนราษฎร์ 10 โรงเรียนเลือกโรงเรียนด้วยวิธีสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) ข้อมูลที่ได้นำมาคิดเป็นร้อยละแล้วนำเสนอในรูปของบทความและตารางนอกจากนี้ยังนำหนังสือแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองที่ใช้อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งหมดมาอ่านประกอบการวิจัย สรุปผลของการวิจัย ผลของการวิจัยปรากฏว่า 1. ลักษณะของแบบเรียนหน้าที่พลเมืองที่นิยมคือต้องมีภาพประกอบเพื่อเป็นการช่วยในการเรียนมีเนื้อหาอธิบายให้ชัดพอสมควรและเหมาะกับเหตุการณ์ในปัจจุบันกระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นกระดาษดี มีกิจกรรมเสนอแนะและมีแบบฝึกหัดท้ายบทรวมทั้งมีบรรณานุกรมเพื่อจะได้ค้นคว้าต่อไป 2. คุณภาพของแบบเรียนเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้โดยทั่วไปรูปเล่มกระทัดรัดดี เนื้อหาดี การเรียงลำดับเนื้อเรื่องดีแต่มีข้อที่ใคร่จะขอให้มีการปรับปรุงคือใช้กระดาษให้ดีกว่านี้เพิ่มภาพประกอบการเรียนก่อนพิมพ์ใหม่ขอให้มีการแก้คำผิดให้ถูกต้องตัวพิมพ์ให้ชัดและการเย็บเล่มยังไม่รัดกุม 3. ทั้งครูและนักเรียนนิยมใช้แบบเรียนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการและของนายเอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล โดยให้เหตุผลว่าเนื้อหาละเอียดและอ่านได้ใจความดี ข้อเสนอแนะ 1. ผู้บริหารควรมีงบประมาณการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดเพื่อครูจะได้ค้นคว้าหนังสืออ่านประกอบจะได้เข้าใจเรื่องราวในหนังสือแบบเรียนดียิ่งขึ้น 2. ครูหัวหน้าสายวิชาและครูผู้สอนควรมีความรู้ในเรื่องหลักเกณฑ์การเลือกหนังสือแบบเรียนใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมรู้แหล่งวัสดุในการค้นคว้าเพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักคิดและแก้ปัญหาที่จะเผชิญหน้าเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รู้จักแสดงความคิดเห็นนอกจากนี้ยังต้องรู้จักใช้หนังสือแบบเรียนรู้จักวิธีสอนแบบที่ใช้แบบเรียนและสอนให้นักเรียนรู้จักใช้แบบเรียนได้ 3. นักเรียนควรจะอ่านหนังสือและสามารถสรุปข้อความที่สำคัญได้รู้จักหาข้อเท็จจริงจากการอ่านสามารถอ่านแผนผังหรือเข้าใจภาพที่มีในแบบเรียนได้ 4. กรมวิสามัญศึกษาควรหาโอกาสให้การอบรมและนิเทศครูอาจารย์ผู้ใช้แบบเรียนควรให้มีการทดลองพร้อมทั้งติดตามผลของการใช้แบบเรียนสำหรับรูปเล่มนั้นควรแยกระดับชั้นละเล่มโดยแบ่งเนื้อหาตามระดับชั้นในภาษาที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนให้มีภาพประกอบบ้างในด้านการพิมพ์ควรให้มีการตรวจทานอย่างดีตัวอักษรควรให้ชัดเจนก่อนส่งออกจำหน่าย-
dc.description.abstractalternativePurposes The purposes of this thesis are to study the characteristics and qualities of Civics Textbooks used in lower secondary schools. Opinion and suggestions of teachers and students about the shape of books were determined; subject matter and the popularity of those books is reported. The results of this research will be useful in improving the Civics Textbooks to perfect them for teachers use and teaching the students to follow the National Educational Plan and guide the students to be good citizens. Procedures Questionnaires were sent to 500 samples in 10 Government Schools and 10 Private Schools. These schools were chosen by random sampling. When the questionnaires were returned, the researcher collected data in percentage which were then presented in tables with explanations. Besides this, the researcher read the Civics Textbooks in order to complete the research. Findings: 1. Civics Textbooks should have good pictures on good paper with suggested activities and further readings at the end of the chapter in order to help in studying contents appropriate to society. 2. Generally the quality of civics Textbooks is good in terms of subject matter and chapter organization, but there is room for improvement: the good quality pater should be used, some pictures should be added, printing mistakes and omissions should be corredted, the printing should be clear, and the binding should be permanent. 3. The teachers and students are in favour of Civics Textbooks written by the Department of Educational Technique and one written by Mr. Ua Busapakes Hongsakul for the reason that there is considerable subject matter and is easy to understand. Suggestions: 1. The administrators should provide the budget for books in the library for teachers and students to read. 2. The Head of the Division of Social Studies would know how to select Textbooks and know where to find the instructional aids most suitable to teach the students to think and to solve problems. Let the students show their opinion. Most of all the teacher should know how to use the textbooks. 3. Students should read and understand the principal subject matter, find facts from reading, read charts and understand the pictures in those books. 4. The Department of Secondary Education should provide for teacher conferences and in-service training in Using Textbooks. The Textbooks should be separated into different levels by arranging the subject matter appropriate to the age of the students, using suitable words and pictures. Before publication, the printing should be proof read thoroughly.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหน้าที่พลเมือง -- แบบเรียน-
dc.subjectหน้าที่พลเมือง -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย-
dc.subjectCivics -- Textbooks-
dc.subjectCivics -- Study and teaching (Secondary) -- Thailand-
dc.titleการศึกษาลักษณะและคุณภาพของแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeCharacteristics and quality of the civics textbooks used in lower secondary schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dusanee_ya_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Dusanee_ya_ch1_p.pdfบทที่ 11.6 MBAdobe PDFView/Open
Dusanee_ya_ch2_p.pdfบทที่ 2717.92 kBAdobe PDFView/Open
Dusanee_ya_ch3_p.pdfบทที่ 32.57 MBAdobe PDFView/Open
Dusanee_ya_ch4_p.pdfบทที่ 4925.86 kBAdobe PDFView/Open
Dusanee_ya_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.