Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72551
Title: การกำจัดเหล็กออกจากน้ำเสียโดยใช้วิธีออกซิเดชันร่วมกับการตกตะกอนในรูปไฮดรอกไซด์
Other Titles: Removal of iron from wastewater by oxidation and precipitation in the form of hydroxides
Authors: สุจินดา ลักขณาอดิศร
Advisors: สมใจ เพ็งปรีชา
เผด็จ สิทธิสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: somchai.pe@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- ออกซิเดชัน
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การตกตะกอน
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะ
ไฮดรอกไซด์
Sewage -- Purification -- Oxidation
Sewage -- Purification -- Precipitation
Sewage -- Purification -- Metals removal
Hydroxides
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กออกจากน้ำเสียโดยใช้วิธีออกซิเดชันร่วมกับการตกตะกอนในรูปไฮดรอกไซด์โดยใช้ตัวออกซิไดช์ 4 ชนิดคือ โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต โซเดียมไฮโปคลอไรต์ อากาศและโอโซนร่วม กับตัวช่วยตกตะกอน 3 ชนิดคือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนตและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ระดับพีเอชต่างๆ และศึกษาการจมตัวของตะกอนโดยใช้สารส้มหรือPACที่ระดับพีเอชและปริมาณต่าง ๆ ได้พบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กของตัวออกซิไดช์ร่วมกับตัวช่วยตกตะกอนแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กอยูในช่วง 99.9961 - 99.9988% ประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กลดลงเมื่อระดับพีเอชลดลงและการจมตัวของตะกอนจะมีมากที่สุดเมื่อใช้สารส้มหรือPACในปริมาณที่ 300 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับที่ระดับพีเอช 7 จากการศึกษาพบว่าการกำจัดเหล็กโดยใช้อากาศร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมไฮดรอกไซด์มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กเช่นเดียวกัน ปริมาณเหล็กทั้งหมดที่เหลืออยู่ในน้ำที่กรองแล้วมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานปริมาณเหล็กที่ยอมให้มีได้ในแหล่งน้ำ คือ 0.300 มีลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นวิธีการกำจัดเหล็กโดยใช้อากาศร่วมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์หรืออากาศร่วมกับ แคลเซียมไฮดรอกไซด์หรืออากาศร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมไฮดรอกไซด์น่าจะเหมาะสมที่นำไปประยุกต์ใช้ ในการกำจัดเหล็กออกจากน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก
Other Abstract: The efficiency of iron removal from wastewater by oxidation and precipitation in the form of hydroxides was investicated. Four oxidizing agents, i.e., potassium permanganate, sodium hypochlorite, air and ozone with 3 precipitating agents: sodium hydroxide, sodium carbonate and calcium hydroxide at various pHs were used. Further coagulation using alum or PAC in various quantities and pHs showed that the efficiency of iron removal in every oxidizing agents with precipitating agents had the efficiency in the range of 99.9961 - 99.9988%. The efficiency of iron removal was decreased when the pH level dropped. The coagulation would be higher when alum or PAC were used at 300 and 200 mg/1 respectively at. pH 7. ๒ this study, it showed that iron removal by air with calcium carbonate and sodium hydroxide was efficient. The residual iron concentration in the filtered water was less than the allowable standard of 0.300 mg/1. Therefore, the methods of iron removal by air with sodium hydroxide or air with calcium hydroxide or air with calcium carbonate and sodium hydroxide were suitable for use in the iron removal from wastewater in the iron industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72551
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.27
ISBN: 9746395769
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1998.27
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujinda_lu_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.5 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_lu_ch1_p.pdfบทที่ 1869.85 kBAdobe PDFView/Open
Sujinda_lu_ch2_p.pdfบทที่ 22.11 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_lu_ch3_p.pdfบทที่ 31.04 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_lu_ch4_p.pdfบทที่ 46.95 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_lu_ch5_p.pdfบทที่ 51.11 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_lu_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.