Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72819
Title: การเตรียมนาโนคอมพอสิตจากไทเทเนียมไดออกไซด์และพอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่ได้จากผลผลิตไกลโคไลซ์ของขวดเพ็ตใช้แล้ว
Other Titles: Preparation of nanocomposites from titanium dioxide and poly(ethylene terephtalate) obtained from glycolyzed products of waste pet bottles
Authors: ธนวรรณ ฤทธิชัย
Advisors: วิมลวรรณ พิมพ์พันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Vimolvan.P@Chula.ac.th
Subjects: Titanium dioxide
Waste pet bottles
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ขวดเพ็ตที่ใช้แล้วสามารถย่อยสลายด้วยปฏิกิริยาไกลโคลิซิสที่อุณหภูมิ 196 องศาเซล- เซียส ได้ผลผลิตไกลโคไลซ์สามส่วน ได้แก่ ส่วนที่ละลายในน้ำเย็นซึ่งประกอบด้วยมอนอเมอร์ของบิส-2-ไฮดรอกซีเอทิลเทเรฟแทเลต (BHET) ที่มีไดเมอร์ผสมอยู่เล็กน้อย ส่วนที่ละลายน้ำร้อน คือ มอนอเมอร์ที่มีไดเมอร์ของ BHET ผสมอยู่มากขึ้น และส่วนที่ไม่ละลายน้ำเป็นสารประกอบของไตรเมอร์และโอลิโกเมอร์เป็นส่วนใหญ่ เมื่อนำผลผลิตไกลโคไลซ์แต่ละส่วนมาทำปฏิกิริยาอินซิทูพอลิเมอไรเซชันร่วมกับไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ปริมาณต่างๆกัน ณ ที่อุณหภูมิ 280-285 องศาเซลเซียส จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกด้วยเอกซเรย์ดิฟแฟรกโตมิเตอร์พบว่านาโนคอมพอสิตทุกสูตรแสดงการปรากฏของผลึกไทเทเนียมไดออกไซด์แบบอะนาเทสและผลึกของพอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต แต่ผลการวิเคราะห์สัณฐานวิทยาพบว่าอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์เกิดการเกาะกลุ่มกัน ซึ่งไปขัดขวางการจัดเรียงตัวของสายโซ่โมเลกุล ส่งผลให้ปริมาณผลึกของนาโนคอมพอสิตมีค่าลดลงและทำให้อุณหภูมิหลอมเหลวของนาโนคอมพอสิตมีค่าต่ำกว่าของพอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิการสลายตัวของนาโนคอมพอสิตมีค่าสูงขึ้น อันเนื่องมาจากสมบัติการทนความร้อนที่ดีของไทเทเนียมไดออกไซด์ จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณของไทเทเนียม ไดออกไซด์ ส่งผลให้ชิ้นงานมีความแข็งมากขึ้น แต่มีความเปราะเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมนาโนคอมพอสิตคือ การใช้ผลผลิตไกลโคไลซ์ส่วนที่ไม่ละลายน้ำและไทเทเนียมไดออกไซด์ 5.0 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: Post-consumer PET-bottles were depolymerized by glycolysis at 196°C resulting in glycolyzed products which were divided into 3 fractions. The fraction soluble in cold water consisted of bis-(2-hydroxyethyl)terephthalate (BHET) monomer and a few amount of its dimer. The fraction soluble in hot water has BHET monomer with higher amount of its dimer. The fraction not soluble in water composed of trimer and oligomer of BHET. Each fraction of the glycolyzed products was then in situ polymerized with various amounts of titanium dioxide at 280-285°C. X-ray diffractograms indicated the presences of anatase titanium dioxide and poly(ethylene terephthalate) crystals. However, morphological analysis revealed the agglomeration of titanium dioxide particles which can affect the affected the chain orientation of the polymer. As a result, percent crystallinity of the nanocomposites decreased and caused their melting temperatures to be lower than that of poly(ethylene terephthalate). However, nanocomposites showed higher degradation temperature because of good thermal barrier of titanium dioxide. Mechanical testing showed that when titanium dioxide content increased, hardness increased but the samples were more brittle. The optimum condition used for preparation of nanocomposites was to use non water-soluble fraction of glycolyzed product and 5.0 percent of titanium dioxide.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72819
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5072289323_Sc_2009.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.