Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73528
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางสุขภาพการสนับสนุน จากหน่วยงานกับแบบแผนการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationship between health perception, institutional support, and health related lifestyles of professional nurses, governmental hospitals, Bangkok metropolis |
Authors: | ลดาวัลย์ ผาสุข |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Jintana.Y@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล -- สุขภาพและอนามัย พฤติกรรมสุขภาพ Nurses -- Health and hygiene Health behavior |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการดำรงงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพใน โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยที่ร่วมกันทำนายแบบแผนการดำรงชีวิตของพยาบาล วิชาชีพ ตัวพยากรณ์ได้แก่ การรับรู้อำนาจการควบคุมตนเองด้านสุขภาพ การรับรู้คุณค่าในตน การรับรู้ภาวะ สุขภาพ การสนับสนุนจากหน่วยงาน อายุ และสถานภาพสมรส ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ด้วยวิธีสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามประกอบด้วย แบบวัด ตัวพยากรณ์ และแบบวัดแบบแผนการดารงชีวิตด้านสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของแบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร มีค่าเท่ากับ 2.99 อยู่ในระดับดี ด้านส่งเสริมสุขภาพและด้านการป้องกันโรคมีค่าเฉลี่ย 3.00 และ 2.87 ตามลาดับ ซึ่งอยู่ในระดับดี 2. แบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับอายุ การสนับสนุนจากหน่วยงาน การรับรู้คุณค่าในตน (r = .343, .318, 304 ตามลำดับ) และ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการรับรู้ภาวะสุขภาพ และสถานภาพสมรส (r = .289 และ .205) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การรับรู้อำนาจการควบคุมตนเองด้านสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กันแบบแผนการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ 4. ตัวแปรที่มีความสำคัญในการร่วมพยากรณ์แบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาล วิชาชีพตามลำดับคือ อายุ การสนับสนุนจากหน่วยงาน การรับรู้คุณค่าในตน และการรับรอำนาจความ บังเอิญด้านสุขภาพ ซึ่งร่วมกันพยากรณ์แบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .01 ได้ร้อยละ 30.18 (R2 = .3018) |
Other Abstract: | The purposes of this thesis were to study the health related lifestyles of professional nurses in governmental hospitals, Bangkok Metropolis and to search for the variables that would be able to predict health related lifestyles of professional nurses. These variables were health locus of control, self-esteem, perceived own health status, institutional support, age, and marital status. The research subjects consisted of 200 professional nurses, selected by multistage sampling technique. Instruments used in data collection were the questionnaire and assessment interview, which were developed by the researcher. The major findings were as followed : 1. The mean of health related lifestyles of professional nurse in governmental hospitals, Bangkok metropolis was in the good level. (x = 2.99) 2. There were moderately significant relationships between age, institutional support, self - esteem and health related lifestyles of professional nurses, at the .01 level. In addition, perceived own health status and marital status were statistically significant related to health related lifestyles, at the .01 level. 3.There was no significant relationship between health locus of control and health related lifestyles. 4. Variables which were able to significantly predict health related lifestyles of professional nurses at the .01 level, were age, institutional support, self-esteem and external health locus of control, These predictors accounted for 30.18 percent (R2 = .3018) of the variance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73528 |
ISBN: | 9745810908 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ladawan_pa_front_p.pdf | 929.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladawan_pa_ch1_p.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladawan_pa_ch2_p.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladawan_pa_ch3_p.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladawan_pa_ch4_p.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladawan_pa_ch5_p.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladawan_pa_back_p.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.