Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73652
Title: การเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจระหว่างการรักษา ด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงกับชนิดไม่ดัดแปลง
Other Titles: Comparision of respiratory complications between modified and unmodified electroconvulsive therapy
Authors: รุ่งทิวา เกิดแสง
Advisors: เอม อินทกรณ์
ประกิต ศรีพลากิจ
พวงสร้อย วรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
puangsoy@md.chula.ac.th
Subjects: ระบบหายใจ -- ภาวะแทรกซ้อน
การรักษาด้วยไฟฟ้า
Respiratory organs -- Complications
Electrotherapeutics
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจในผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการ รักษาด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงกับชนิดไม่ดัดแปลง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบศึกษาไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 40 ราย และผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดไม่ดัดแปลงของโรงพยาบาลศรีธัญญา 40 ราย การคัดเลือก กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตอา การแทรกซ้อนทางคลินิกของระบบหายใจ และเครื่องมือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงทางผิว หนัง การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยการทดสอบที (unpaired t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนรวมเฉลี่ยของอาการแทรกซ้อนทางคลินิกของระบบหายใจของกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย ไฟฟ้าชนิดดัดแปลงกับชนิดไม่ดัดแปลง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่คะแนนเฉลี่ย ของสิ่งคัดหลั่งและการหยุดหายใจไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนเฉลี่ยของสีผิวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบโรคปอดอักเสบจากการสูดสำลักหลังการรักษา ทั้งสองวิธี 2. ค่าเฉลี่ยของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงขณะรักษาของกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยไฟ ฟ้าชนิดดัดแปลง มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดไม่ดัดแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to compare respiratory complications between modified and unmodified electroconvulsive therapy. The subjects consisted of 40 patients of modified ECT who attended at Chulalongkorn Hospital and 40 patients of unmodified ECT who attended at Srithanya Hospital. All subjects were received ECT by psychiatrist. Instruments were the observation scale. Developed by the researcher, and Pulse oximeter. Data were analyzed by using percentage, arithmatic mean, standard deviation, and unpaired t-test. The findings were as follows : 1. There was significant difference between modified and unmodified ECT in mean of respiratory complication scores at the .05 level. The results showed that there were no significant differences in secretion and apnea, but significant difference was found in cyanosis at the .05 level. Aspiration pneumonia was not found in this study. 2. The means of oxygen saturation during treatment in modified ECT group were significantly higher than unmodified ECT group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73652
ISBN: 9745796794
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungthiwa_ke_front_p.pdf957.61 kBAdobe PDFView/Open
Rungthiwa_ke_ch1_p.pdf962.66 kBAdobe PDFView/Open
Rungthiwa_ke_ch2_p.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Rungthiwa_ke_ch3_p.pdf929.96 kBAdobe PDFView/Open
Rungthiwa_ke_ch4_p.pdf799.93 kBAdobe PDFView/Open
Rungthiwa_ke_ch5_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Rungthiwa_ke_back_p.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.