Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73677
Title: สถานะทางกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจตามสัญญาเช่าเรือรายเที่ยว
Other Titles: Legal aspects on demurrage under voyage charter party
Authors: ดวงเดือน ทองสุข
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chayanti.G@chula.ac.th
Subjects: พาณิชยนาวี
การขนส่งทางน้ำ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Merchant marine
Demurrage
Shipping -- Law and legislation
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงสถานะและผลตามกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจภายใต้กฎหมายไทย ค่าดีเมอร์เรจเป็นเงินที่ผู้เช่าเรือตกลงชำระ เพื่อเป็นการชดเชยให้แก่เจ้าของเรือ อันเนื่องมาจาก ความล่าช้าใด ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อพ้นเวลาที่อนุญาตให้ทำการบรรทุกหรือชนถ่ายสินค้าโดยอาจจะกำหนดเป็น จำนวนเงินที่แน่นอนหรือเป็นอัตราหรือกำหนดวิธีคำนวณไว้ในสัญญาเช่าเรือและหรือในบิลออฟเลดิง ปัญหา ส่วนใหญ่อันเกิดขึ้นจากสัญญาเช่าเรือรายเที่ยวได้แก่ การเรียกร้องค่าดีเมอร์เรจ การนับระยะเวลาดีเมอร์เรจ และการคำนวณค่าดีเมอร์เรจ รวมทั้งปัญหาการชำระค่าดีเมอร์เรจล่าช้าสถานะทางกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจ ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และระบบกฎหมายลาตินมีสถานะและการเกิดดีเมอร์เรจที่แตก ต่างกัน เช่น อังกฤษถือว่าค่าดีเมอร์เรจเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าแต่อเมริกาถือว่าเป็นค่าเสียหายหรือเป็นค่าระวางที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า สถานะทางกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจตามกฎหมายไทยมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และผลตามกฎหมายถือว่าการเกิดดีเมอร์เรจขึ้นเป็นการผิดสัญญาในข้อปลีกย่อยมิใช่สาระสำคัญของสัญญาเจ้าของ เรือยังไม่มีสิทธิเลิกสัญญาได้ทันที แต่มีสิทธิเรียกค่าดีเมอร์เรจ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ และหากมีการ ชำระค่าดีเมอร์เรจล่าช้า เจ้าของเรือมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ และอายุความการเรียกร้องค่าดีเมอร์เรจอยู่ภายใต้ บทบัญญัติทั่วไปใน มาตรา 164 คือ 10 ปี
Other Abstract: The obiective of this thesis is to study the legal status and legal consequence of demurrage under Thai laws. Demurrage is money payable by the charterer to the shipowner once the laytime allowed for loading or discharging of cargo has expired in order to compensate the shipowner for such delay. Demurrage may be specified either in lumpsum, as a rate or as a method for calculation in the charterparty and or bill of lading. The disputes oftenly arise under a voyage charterparty are claim for demurrage, calculation of demurrage time and its exception, calculation of demurrage and dispute on delay in payment of demurrage. Demurrage and its legal status under common law is different from those under Latin law, for example, demurrage is considered as liquidated damages in England while it is considered as damages or supplementary freight in the United States of America. It was found by this thesis that the legal status of demurrage under Thai laws is comparable to penalty pursuant to the Civil and Commercial Code of Thailand, and its legal consequence is considered as a breach of immaterial condition for which the shipowner cannot terminate the contract, but is entitled to claim for demurrage arising therefrom. If the payment of demurrage is delayed, the shipowner can claim for interest thereon. The period of prescription of a claim for demurrage is 10 years as specified in Section 164 of the Civil and Commercial Code.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73677
ISBN: 9745786136
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Doungdaun_th_front_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Doungdaun_th_ch1_p.pdf817.48 kBAdobe PDFView/Open
Doungdaun_th_ch2_p.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Doungdaun_th_ch3_p.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open
Doungdaun_th_ch4_p.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open
Doungdaun_th_ch5_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Doungdaun_th_back_p.pdf805.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.