Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73777
Title: | การศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอน ของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเขตการศึกษา 11 |
Other Titles: | Study of acceptance levels of instructional innovations of life experiences area teachers in elementary schools under the jurisdiction of the office of the national primary education commission, educational region eleven |
Authors: | อุทร นิยมชาติ |
Advisors: | รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | กิจกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมทางการศึกษา กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) Activity programs in education Educational innovations |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนประถมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบระดับการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการ สอนของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนประถมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบระดับการยอมรับ นวัตกรรมการเรียนการสอนของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนประถมศึกษา ที่มีเพศ วุฒิการ ศึกษา และประสบการณ์ในการสอนแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า ครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตมีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภท การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง การสอนเป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้ชุดการ สอน การสอนโดยใช้เพื่อนช่วยสอน การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนแบบโครงการและการสอนแบบสืบ สวนสอบสวนอยู่ในระดับขั้นประเมินค่า ครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตมีการยอมรับนวัตกรรมการเรียน การสอนประเภท การโต้วาทีธรรมะ การสอนแบบรอบรู้ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบทักษะกระบวนการ การสอนโดยใช้เครื่องช่วยสอน และการสอนแบบจุลภาค อยู่ในระดับขั้นสนใจและการสอนโดยใช้บทบาทสมมติอยู่ในระดับขั้นการทดลองใช้ ครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่เป็นเพศชายและหญิง มีการยอมรับ นวัตกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 เกี่ยวกับการสอนเป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบทักษะกระบวนการ การสอนโดยใช้ชุดการสอน และการสอนเป็น คณะ และแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 เกี่ยวกับการสอนโดยใช้เพื่อนช่วยสอน การสอนโดยใช้บทบาทสมมติ และการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ ครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่า ปริญญาตรีและตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันที่ระดับความมีนัย สำคัญ .01 เกี่ยวกับการสอนแบบสืบสวนสอบสวน และครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่มีประสบการณ์ ในการสอนมาก และประสบการณ์ในการสอนน้อย มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 เกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาค การสอนแบบศูนย์การเรียน และการสอนแบบทักษะกระบวนการ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the acceptance levels of instructional innovations of life experiences area teachers in elementary schools and to compare the acceptance level of instructional innovations of life experiences area teachers in elementary schools with different sex, level of education and teaching experiences. The findings of this research were as follwos :- The life experiences area teachers accepted the instructional innovations concerning group process, simulation, individualized instructional, instructional package, peer tutoring, learning center, project techniques and inquiry method at evaluation stage. The life experiences area teachers accepted the instructional innovations concerning religious debatd, mastery learning, team teaching, process skill, teaching machine and micro-teaching at the interest stage and accepted role play at the trial stage. The male and female life experiences area teachers had significant differences in their acceptance of instructional innovations at .05 level about individualized instructional, simulation, process skill, instructional package and team teaching. And there were significant differences at .01 level about peer tutoring, role play and group process. The life experiences area teachers who had bachelor degree or higher level of education and lower than the bachelor degree had significant differences in their acceptance of instructional innovations at .01 level about inquiry method. And the life experiences area teachers who had long teaching experiences and short teaching experiences had significant differences of their acceptance of instructional innovations at .05 level about micro-teaching, learning center and process skill. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73777 |
ISBN: | 9745789976 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Utorn_ni_front_p.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Utorn_ni_ch1_p.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Utorn_ni_ch2_p.pdf | 5.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Utorn_ni_ch3_p.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Utorn_ni_ch4_p.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Utorn_ni_ch5_p.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Utorn_ni_back_p.pdf | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.