Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเปี่ยมสุข พงษ์สวัสดิ์-
dc.contributor.advisorพีรดา มงคลกุล-
dc.contributor.authorอุไรวรรณ รัชธร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-23T02:31:27Z-
dc.date.available2021-06-23T02:31:27Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74019-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractBacillus All ผลิตเอนไซม์ไซโคลเดกซ์ทรินไกลโคซึลทรานสเฟอเรส ในปริมาณสูงในอาหารเลี้ยงเชื้อ Horikoshi ที่มีแป้งข้าวเจ้าเป็นแหล่งอาหารคาร์บอน สภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยง Bacillus All ในถังหมักขนาด 5 ลิตร ที่ทำให้ผลิตเอนไซม์ได้ปริมาณสูงสุดคือ เลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 37 ° ซ. อัตราการป้อนอากาศ 2 ลิตรต่อนาที และอัตราการกวน 300 รอบต่อนาที หลังจาก pH ของอาหารเลี้ยงเชื้อลดลงประมาณ 1.5-1.6 หน่วยpH Bacillus All จะเริ่มมีการเจริญและผลิตเอนไซม์และมีแอคติวิตีสูงสุดเมื่อเซลล์เข้าสู่ช่วงการเจริญคงที่ หลักจาก pH ของอาหารเลี้ยงเชื้อสูงขึ้นประมาณ 1.0 หน่วยpH รูปแบบการเจริญและการผลิตเอนไซม์นี้คล้ายคลึงกับ Bacillus circulans var. alkalophilus (ATCC 21783) ซึ่งเป็นสายพันธุ์มาตรฐาน จากการทดลองพบว่า สามารถตรึงเอนไซม์ไซโคลเดกซ์ทรินไกลโคซิลทรานสเฟอเรสบน DEAE เซลลูโลส ได้ที่ pH 8.5 ในปริมาณ 500 หน่วยแอคติวิตี/กรัมเรซิน เอนไซม์ที่ถูกตรึงมีสมบัติคล้ายเอนไซม์อิสระคือ มี pH และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเร่งปฏิกิริยาอยู่ที่ pH 7.5 และ 60-70 ° ซ. ตามลำดับความเสถียรต่อ pH อยู่ในช่วง 7.5-9.0 และอุณหภูมิถึง 55 ° ซ. สำหรับที่ pH และอุณหภูมิสูงกว่านี้ เอนไซม์ที่ถูกตรึงจะมีความเสถียรมากกว่าเอนไซม์อิสระ การผลิตไซโคลเดกซ์ทรินในถังปฏิกิริยาแบบกวนพบว่า ควรใช้แป้งมีความเข้มข้น 2.5% ถ้าผลิตไซโคลเดกซ์ทริกแบบไม่ต่อเนื่องจะสามารถเปลี่ยนแป้งเป็นไซโคลเดกซ์ทริกได้ 76% ในช่วงเวลา 9 ชั่วโมง และสามารถใช้ซ้ำได้ถึง 6 ครั้งภายใต้สภาวะเดียวกัน ส่วนการผลิตไซโคลเดกซ์ทรินแบบต่อเนื่องโดยให้อัตราการป้อนสับสเตรท 3 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงจะสามารถผลิตไซโคลเดกซ์ทรินได้ 72% เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่เสริมยาปฏิชีวนะ แต่จะสามารถผลิตได้นานขึ้นเป็นเวลา 10 วัน เมื่อเสริมด้วย streptomycin sulphate-
dc.description.abstractalternativeBacillus All was able to produce high amount of cyclodextrin glycosyltransferase (CGTase) in the Horikoshi’s medium in which rice flour was used as carbon source. Optimum conditions for culturing Bacillus All in a 5-L fermenter were found to be at 37°C, agitation speed of 300 rpm and an aeration rate of 2 1/min. The growth dynamic of Bacillus All resembled that of Bacillus circulans var. alkalophilus (ATCC 21783) that during the initial phase the pH decreased sharply by 1.5-1.6 units followed by cell growth and CGTase production. During active cell growth, the pH was recovered by about 1.0 unit and the maximum CGTase activity was detected at stationary phase. Cyclodextrin glycosyltransferase was immobilized on DEAE- cellulose at pH 8.5 Maximum enzyme bound was 500 units CGTase per g resin. The immobilized enzyme was similar to the free enzyme in terms of their pH and temperature characteristics. The optimum pH was 7.5 and optimum temgerature was 60-70 °C. The pH and thermal stability were 7.5-9.0 and up to 55 °C, respectively. The appropriate concentration of starch to be fed to the reactor was found to be 2.5%. In batch operation, the immobilized CGTase converted soluble starch to cyclodextrins with a 76% conversion at 40 °C, pH 8.5 after 9 hr. reaction. This enzyme could be repeatedly used for 6 times with the same amount of cyclodextrins produced. Under continuous operation, the immobilized CGTase converted 72% of soluble starch to cyclodextrins employing feed rate of 3 ml soluble starch per hour. The continuous system can be used for 3 days. By supplying streptomycin sulphate, the reactor can be prolonged to 10 days.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไซโคลเดกซตรินen_US
dc.subjectCyclodextrinsen_US
dc.titleการผลิตเอนไซม์ไซโคลนเดกซ์ทรินไกลโคซิลทรานเฟอเรสในถังหมัก และการตรึงเอนไซม์บน Deae เซลลูโลสen_US
dc.title.alternativeProduction of cyclodextrin glycosyltransferase in a fermenter and its immobilization on deae celluloseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uraiwan_ru_front_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_ru_ch1_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_ru_ch2_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_ru_ch3_p.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_ru_ch4_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_ru_back_p.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.