Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีระ จิรโสภณ-
dc.contributor.authorพรพรรณ ไม้สุพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-07-02T04:34:41Z-
dc.date.available2021-07-02T04:34:41Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745777536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74308-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขต่อสื่อมวลชนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาด้านนี้ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 6 ชื่อฉบับ ได้แก่ มติชน สยามรัฐ บ้านเมือง แนวหน้า ไทยรัฐ และเดลินิวส์ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2531 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2532 ผลการวิจัยมีดังนี้ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ระบุว่า ปริมาณข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนทุกประเภรวมกันร้อยละ 81.2 ของปริมาณข่าวสารทั้งหมดที่ส่งไปเผยแพร่ หน่วยงานที่ศึกษาส่วนใหญ่มี “ฝ่าย” ที่รับผิดชอบงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยตรง แต่ยังมีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่จบนิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์หรือได้รับการอบรมทางด้านการประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอ หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 6 ชื่อฉบับที่ศึกษายังมีปริมาณการนำเสนอข่าวสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สาธารณสุขทั้งปริมาณที่วัดเป็นความถี่ (จำนวนชิ้น) และปริมาณที่วัดเป็นเนื้อที่ (ตารางนิ้ว) น้อยมาก คือไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อหาที่หนังสือพิมพ์รายวันเสนอแต่ละวัน นอกจากนี้หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 6 ชื่อฉบับ ต่างก็ให้ความสำคัญกับการเสนอเนื้อหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 3 ประเภทแรก คือ 1. อาหาร 2. ยาเสพติดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ 3. ยา มากกว่าประเภทอื่น การทดสอบทางสถิติพบว่า สนับสนุนสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้เพียงบางส่วน คือ หนังสือพิมพ์รายวันประเภท เชิงคุณภาพมีปริมาณความถี่ในการนำเสนอข่าวสารด้านนี้มากกว่าหนังสือพิมพ์รายวันประเภทเชิงประชานิยม ส่วนที่ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวันประเภทกึ่งคุณภาพและประชานิยมนำเสนอข่าวสารด้านนี้ในปริมาณความถี่ที่น้อยกว่าหนังสือพิมพ์รายวันประเภทเชิงประชานิยม อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาเนื้อที่ หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีเนื้อที่การนำเสนอข่าวสารด้านนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ-
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed at the study of dissemination of information on health consumer protection from various concerned agencies through mass media and also to analyze the content. of this kind of information which published in 6 Thai daily newspapers, namely, Mati Chon, Sian Rat, Ban Muang, Naew Na, Thai Rat and Daily News during the period of 1st October 1988 to 30th September 1989. The findings are as follows. The staff of various agencies concerning health consumer protection indicated that about 80% of all the amount of news released was publicized through various types of mass media altogether. Most of the agencies in this study had staff which directly responsible for public relations. Nevertheless, the number of agency personnels who graduated or trained in mass communication or public relations were still low. The quantity of news on health consumer protection in sample newspapers both measured by item count and square inched calculation were very small, that was less than 1 % of the whole space for various newspaper content published in each day. Moreover, those 6 daily newspapers gave more space to 3 types of health consumer protection content namely: food; drug addict, cigarettes and alcohol: and drug, much more than other types. It was found in the statistical test that the hypothesis of the study was partly accepted. The hypothesis that quality newspapers present health consumer protection news more frequently than popular newspapers was accepted. However, the hypothesis that quasi-quality newspapers present health consumer protection news more frequently than popular newspapers was rejected.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหนังสือพิมพ์ -- คอลัมน์en_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- การประชาสัมพันธ์en_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับบริการสังคม -- ไทยen_US
dc.subjectNewspapers -- Sectionsen_US
dc.subjectConsumer protection -- Public relationsen_US
dc.subjectMass media and social service -- Thailanden_US
dc.titleการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeDissemination of information on health consumer protection in Thai daily newapapersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPira.C@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpun_ma_front_p.pdf994.61 kBAdobe PDFView/Open
Pornpun_ma_ch1_p.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_ma_ch2_p.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_ma_ch3_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_ma_ch4_p.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_ma_ch5_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_ma_back_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.