Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัสสร ลิมานนท์-
dc.contributor.authorมาลี สบายยิ่ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-07-07T03:14:20Z-
dc.date.available2021-07-07T03:14:20Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745772151-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74359-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม ที่คาดว่าจะมีผลต่อจำนวนบุตรที่ปรารถนาของสตรีมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจสภาวะการคุมกำเนิดในประเทศไทย รอบที่ 3 พ.ศ. 2527 (CPS 3) มีจำนวนตัวอย่าง 468 รายและข้อมูลจากโครงการประเมินผลการให้บริการด้านการวางแผนครอบครัวในสี่จังหวัดภาคใต้ พ.ศ. 2531 มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 396 ราย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สตรีมุสลิมอายุ 15-49 ปีที่สมรสแล้ว และกำลังอยู่กินกับสามี อาศัยอยู่ในเขตชนบท ผลการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทั้ง 2 โครงการพบว่าปัจจัยทางด้านประชากร ได้แก่จำนวนบุตรที่มีชีวิตในปัจจุบัน ระยะเวลาสมรส อายุของสตรี อายุแรกสมรส มีผลต่อจำนวนบุตรที่ปรารถนาของสตรีมุสลิม กล่าวคือ สตรีมุสลิมที่มีบุตรที่มีชีวิตในปัจจุบันจำนวนมากกว่าระบุจำนวนบุตรที่ปรารถนามากกว่าสตรีมุสลิมที่มีบุตรที่มีชีวิตในปัจจุบันจำนวนน้อยกว่า สตรีมุสลิมที่มีระยะเวลาสมรสยาวนานกว่าระบุจำนวนบุตรที่ปรารถนามากกว่าสตรีมุสลิมที่มีระยะเวลาสมรสสั้นกว่า สตรีมุสลิมที่มีอายุมากระบุจำนวนบุตรที่ปรารถนามากกว่าสตรีมุสลิมที่อายุน้อยกว่าและสตรีมุสลิมที่สมรสเมื่ออายุมากระบุจำนวนบุตรที่ปรารถนาน้อยกว่าสตรีมุสลิมที่สมรสตั้งแต่อายุน้อย ส่วนปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้นพบว่าไม่มีผลต่อจำนวนบุตรที่ปรารถนาของสตรีมุสลิมกล่าวคือ สตรีมุสลิมที่มีอาชีพ การศึกษา ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวางแผนครอบครัว การตีความทางศาสนาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวต่างกันระบุจำนวนบุตรที่ปรารถนาไม่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ปรากฎผลว่าข้อมูลโครงการ CPS3 ตัวแปรที่มีผลต่อจำนวนบุตรที่ปรารถนาของสตรีมุสลิมสูงที่สุดได้แก่ จำนวนบุตรที่มีชีวิต รองลงมาได้แก่ระยะเวลาสมรส อายุแรกสมรส ความรู้เกี่ยวกับจำนวนวิธีการวางแผนครอบครัวและจำนวนบุตรที่เสียชีวิต ส่วนข้อมูลโครงการประเมินผลฯ พบว่าจำนวนบุตรที่มีชีวิตมีผลต่อจำนวนบุตรที่ปรารถนาสูงสุดส่วนตัวแปรอื่นๆ นอกเหนือจากนี้มีความสัมพันธ์กับจำนวนบุตรที่ปรารถนาน้อยมากและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประเด็นปัญหาสำหรับการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางนี้คือ ควรจะได้มีการศึกษาวิจัยให้ลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของสตรีมุสลิมให้มากขึ้นกว่านี้และสามารถได้ผลไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate socio-economic and demographic factors affecting desired family size among Thai muslim women in the four southern provinces. The data in this investigation are obtained from two different sources, “The Third Round of the Thailand’s Contraceptive Prevalence Survey (CPS3)” and “The Evaluation of the Family Planning Programme in Four Southern Provinces in Thailand”. The former covers 468 sampled women and the latter covers 396 women. In both surveys, the sampled women are 15-49 years old, currently married and live in the rural areas. The analyses from the two surveys reveal similar results. Generally, it is found that demographic factors including number of living children, duration of marriage, age of women and age at first marriage affect desired family size of muslim women. Those having higher number of living children and longer duration of marriage tend to have higher desired number of children. In addition, older women and younger age at first marriage tend to indicate higher number of desired number of children than younger women and higher age at first marriage. However, it is found that socio-economic factors do not have any impact on desired family size among muslim women. Specifically, differences in occupations, levels of education, knowledge of contraceptive methods and religious belief towards family planning do not result in differences in desired family size. Results from multiple regression analysis based on data from CPS3 reveal that number of living children has the greatest impact on desired family size among muslim women. Other variables including duration of marriage, age at first marriage, knowledge of contraceptive methods and number of dead children are less significant. The analysis based on data from the Evaluation Survey, on the other hand, reveals that only the number of living children has a significant impact on desired number of children. Other variables do not have any significant impact. Further research in this area should put more emphasis on the indepth study of fertility behavior among muslim women. Such study will help us to gain more understanding about the issue at hands and that its outcomes will be useful for policy implications.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตรีมุสลิมen_US
dc.subjectสตรี -- ไทย (ภาคใต้)en_US
dc.subjectบุตรen_US
dc.subjectMuslim womenen_US
dc.subjectWomen -- Thailand, Southernen_US
dc.subjectChildrenen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนบุตรที่ปรารถนาของสตรีมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้en_US
dc.title.alternativeFactors affecting desired family size among Thai muslim women in the four Southern provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBhassorn.L@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Malee_sa_front_p.pdf950.88 kBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_ch1_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_ch2_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_ch3_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_ch4_p.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_ch5_p.pdf988.38 kBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_ch6_p.pdf823.51 kBAdobe PDFView/Open
Malee_sa_back_p.pdf924.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.