Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74427
Title: การใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในการคุ้มครองมัลติมีเดีย
Other Titles: The application of copyright law in protecting multimedia
Authors: ประภาพรรณ ศิริวัลลภ
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ระบบมัลติมีเดีย
ลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางปัญญา
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
Multimedia systems
Copyright
Intellectual property
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะศึกษาถึง ความหมายและประเภทของ มัลติมีเดีย เนื้อหาหรืองานประเภทต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสร้างมัลติมีเดีย การประยุกต์ใช้งานและประโยชน์ที่ได้จากมัลติมีเดีย รวมทั้งวิธีการนำกฎหมายลิขสิทธิ์มาปรับใช้กับงานมัลติมีเดียมีผลกระทบต่อวิธีการสร้างมัลติมีเดีย และลักษณะของลิขสิทธิ์ในงานมัลติมีเดีย ประเภทของบุคคลที่ควรจะได้รับความ คุ้มครอง สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานมัลติมีเดีย หลักการในการอนุญาตให้ใช้สิทธิการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และข้อยกเว้นของการกระทำละเมิด ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับใช้กฎหมายดังกล่าวทั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร จากการศึกษาพบว่า มัลติมีเดีย หมายถึง งานที่ถูกนำเสนอด้วยวิธีการผสมผสานสื่อต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป เช่น ตัวอักษรหรือข้อความ, เสียง, วิดิโอ, ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และรูปภาพ เป็นต้น ซึ่งสื่อดังกล่าวใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนข้อมูลทั่วไปที่อยู่ในรูปแอนะล็อกให้ไปอยู่ในรูปของดิจิทัล โดยมีลักษณะเด่น คือ มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ใช้งานได้ ในปัญหาว่ามัลติมีเดียเป็นงานลิขสิทธิ์หรือไม่นั้น มีความเห็นเป็น 2 ทาง คือ 1. มัลติมีเดีย คือ วิวัฒนาการของสื่อซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำเสนองานประเภทหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถนำกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมาปรับใช้เพื่อรองรับวิธีการนำเสนองานนี้ได้ เนื่องจากงานแต่ละประเภทที่ประกอบอยู่ในมัลติมีเดียมีกฎหมายให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว 2. มัลติมีเดีย คือ งานลิขสิทธิ์ชิ้นใหม่ที่แยกต่างหากจากงานที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่ว่างานนั้นจะมีลิขสิทธิ์หรือไม่ก็ตาม โดยงานดังกล่าวอาจจะเกิดจากการสร้างสรรค์งานร่วมกัน การรวบรวมหรือประกอบเข้ากันของงานหลาย ๆ ประเภท ตามความเห็นนี้เป็นความเห็นที่เกิดขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามความเห็นแรก ปัญหาที่พึ่งพิจารณา คือ เรื่องความชัดเจนของการปรับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยไม่ได้กล่าวถึง หลักเกณฑ์ของงานที่จะสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ ดังนั้น เพี่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปรับใช้กฎหมาย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยเฉพาะในเรื่องของงานที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 โดยเพิ่มคำว่า “โดยจะสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้หรือไม่ก็ตาม” ส่วนความเห็นที่สองเห็นว่า กฎหมายลิขสิทธิ์สามารถนำมาปรับใช้กับงานมัลติมีเดียได้แต่ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ก่อให้เกิดปัญหาที่ต้องทำการแก่ไชกฎหมายลิขสิทธิ์ในหลายเรื่อง ได้แก่ แก้ไขเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ศัพท์โดยเพิ่มนิยามคำว่า มัลติมีเดีย เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ถือสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์ร่วม แก่ไขในเรื่องความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติในมาตรา 6 โดยเพิ่มคำว่า “มัลติมีเดีย” ส่วน มาตรา 15(3) ให้เพิ่มคำว่า “มัลติมีเดีย” และมาตรา 16 ควรกำหนดแบบของการอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้อนุญาตและผู้อนุญาต นอกจากนี้ควรแก่ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้สร้างร่วมด้วยกันเอง และระหว่างผู้สร้างสรรค์ร่วมกับบุคคลภายนอก รวมทั้งควรมีการแก่ไขให้มีองค์กรหรือหน่วยงานกลางที่ตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและดูแลในเรื่องมัลติมีเดียโดยเฉพาะ ทั้งนี้ กฎหมายควรกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ขององค์กรไว้อย่างชัดเจนด้วย
Other Abstract: The objective of this research is to study the meaning and types of multimedia, the substance or type of the works comprising the multimedia work, the application and use of multimedia, the applicability of copyright laws to multimedia work and its effect to the creation of multimedia, the form of copyright in multimedia work, the type of person who should be protected, the rights accorded to the copyright owner in multimedia work, the principle for licensing, the copyright infringement and exception thereof, as well as various problems arising from such application of laws both in the United States and Thailand and proposed resolution for those problems using documentary research method. The research reveals that multimedia means a work which is presented by mixing at least 2 types of media such as letters or words, voice, video, graphic, motion picture and picture, etc. Such media uses computer technology to change the form of general data from analog to digital with a main characteristic of being able to interact with the use As for the question whether multimedia is a work under copyright protection, there are 2 schools of thoughts, i.e. 1. Multimedia is a development of media an is considered as a means to present a work by using new technology to which the existing copyright laws are applicable. The justification of this thought is that each type of work comprising multimedia is already protected by the laws. 2. Multimedia is a new copyrighted work distinguishable from the existing works regardless of whether such existing works are under copyright protection. The work may emerge from a joint creation or from gathering of assembling different type of work. "This thought prevails in the United States and in Thailand. In recognizing the first thought, 2 question to be considered is the accuracy in applying the existing copyright laws as Thai legal principle does not acknowledge the work with an interactive feature. Therefore, in order to avoid the problems of legal application, Thai copyright law should be amended specifically with respect to the protected work under Article 6 by adding an expression “regardless of its ability to interact with the user”. This thought exists only in Thailand. The latter thought possesses an idea that copyright laws, despite their applicability to the multimedia work, are not sufficiently clear and necessitate amendments to several provisions, i.e. an amendment to the definition provision by adding a definition of multimedia, copyright owner, right holder, joint creator, a clarification of the provision in Article 6 by adding the term “multimedia”, an addition of the term “multimedia” to Article 15(3). Also, Article 16 should provide for a licensing formality whereby a licensing is required to be in writing signed by the licenser and the licensee, in addition, an amendment should be made to the copyright law by setting forth the rights and obligations among the joint creators and between the joint creators and the third party and by introducing a central organization or agency, which shall be responsible for controlling and overseeing specially the matter relation to multimedia, whose authorities and duties should also be clearly specified by the law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74427
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.355
ISBN: 9746391712
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.355
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapapan_si_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ984.43 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_si_ch1_p.pdfบทที่ 1931.73 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.55 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_si_ch3_p.pdfบทที่ 34.45 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_si_ch4_p.pdfบทที่ 42.81 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_si_ch5_p.pdfบทที่ 51.26 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_si_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก796.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.